สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มาเลย์-อินโดตำหนิไทยตัวการทำราคายางดิ่ง ด่านักการเมือง-ชาวสวนร่วมปล่อยข่าวลบ

จากประชาชาติธุรกิจ

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางและมาตรการแก้ปัญหายางพารา ในเวทีสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) ครั้งที่ 28 ร่วมกับประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2560 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในที่ประชุม ได้ประชุมพิจารณามติ 2 เรื่อง คือ 1.มาตรการจำกัดปริมาณการส่งออกยางพาราของ 3 ประเทศ และต้องร่วมหารือถึงมาตรการแก้ไขปัญหายางพาราผันผวน 2.เร่งรัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีของ 3 ประเทศผู้ผลิตยาง จากเดิมกำหนดในช่วงเดือนธันวาคมเป็นกลางเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ ในที่ประชุมให้ 3 ประเทศสมาชิก พิจารณาร่วมกันกำหนดรายละเอียด เกี่ยวกับปริมาณยางพารา โควต้าของแต่ละประเทศที่จะดำเนินการลดการส่งออกเพื่อลดความผันผวน และราคาที่ปรับลดลงในแต่ละประเทศ ให้เสร็จภายใน 15 กันยายน 2560 อย่างไรก็ตาม การร่วมประชุมครั้งนี้ประเทศสมาชิก ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ต่างตำหนิประเทศไทย ว่าเป็นตัวกลางทำให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวลดลง

“สถานการณ์ราคายางในประเทศไทย ขณะนี้ถือเป็นเรื่องของการต่อสู้ในเรื่องของข้อมูล 2 ประเทศคือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ต่างตำหนิว่าประเทศไทยเป็นตัวการทำลายราคายางพาราในตลาดโลก เป็นการนำเรื่องของยางพารามาเป็นเรื่องการเมือง มาปล่อยข่าวร้ายทำลายบรรยากาศของราคา ส่งผลให้นักเก็งกำไรราคายางนำเอาข่าวที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องม็อบเกษตรกรชาวสวนยาง บรรดานักการเมืองออกมาพูดเรื่องยาง มาทุบและกดราคาซื้อยางในตลาด” นายธีธัชกล่าว และว่า เรื่องของราคายางขณะนี้แบ่งเป็น 2 ตลาด คือตลาดซื้อขายจริงที่ชาวสวนขายได้ และตลาดล่วงหน้า เมื่อมีข่าวลบ นักเก็งกำไรก็นำเอาไปทุบราคาในตลาดล่วงหน้า ส่งผลกระทบให้ผู้ซื้อยางใช้อ้างอิงในการนำมากำหนดราคาซื้อจากเกษตรกร ซึ่งเป็นการทำลายตลาดของชาวสวนกันเอง ขณะนี้ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียไม่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องของข่าวร้าย ที่จะทุบตลาด แม้ราคาขายจะต่ำกว่าราคาในประเทศไทย ดังนั้น คนที่ปล่อยข่าวหรือสร้างบรรยากาศไม่ดีในไทย ทั้งแกนนำที่บอกจะจัดตั้งม็อบ และนักการเมือง

นายธีธัชกล่าวว่า ขณะนี้ 5 เสือผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของประเทศได้โอนเงินมารวมไว้ ที่ กยท.แล้วรวม 1,200 ล้านบาท ประกอบด้วย บริษัท ไทยฮั้วรับเบอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน), บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด, บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด และบริษัท ไทยรับเบอร์ ลาแท็คซ์กรุ๊ป จำกัด ซึ่งสัปดาห์นี้น่าจะเริ่มดำเนินการเข้าซื้อได้ ทั้งในตลาดล่วงหน้าและตลาดซื้อขายจริง หลังจัดตั้งนิติบุคคลกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางได้เสร็จอย่างเป็นทางการ

“ตลอดปี 2560 กยท.มอบราคายางพาราจะเคลื่อนไหวในกรอบ 60-70 บาท/กก. ดังนั้น กองทุนรักษาเสถียรราคายางที่จัดตั้งจากการร่วมมือของ กยท. และ 5 เสือส่งออกยางพารารายใหญ่ของไทยวงเงิน 1,200 ล้านบาท พร้อมที่จะเข้าซื้อยางพาราแล้ว ดังนั้น เมื่อกองทุนฯสามารถเข้าซื้อได้ เชื่อว่าราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้จะกลับเข้าสู่กรอบที่ควรจะเป็นคือประมาณ 60-70 บาท/กก. จากช่วงนี้ราคายางอยู่ที่ประมาณ 53 บาท/กิโลกรัม” นายธีธัชกล่าว


#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox,#victorinox มือสอง,#cutting resistance glove,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : มาเลย์-อินโดตำหนิไทยตัวการทำราคายางดิ่ง ด่านักการเมือง-ชาวสวนร่วมปล่อยข่าวลบ

view