สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

    เส้นทางสู่ความสำเร็จของกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง คือการเสริมสร้างองค์กรให้เก่ง+ดี 
       ความใส่ใจผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างต่อเนื่องนำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจ
       เปิดโมเดลการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรพืชไร่อ้อยแห่งแรก ผ่านแนวคิด CSV ในพื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
        

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
        

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
ความใส่ใจต่อชุมชน สังคมและสภาพแวดล้อมในแหล่งที่ตั้งโรงงาน
        ไม่ใช่เพราะว่ากลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ วางแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ “เก่ง” แต่ทางธุรกิจ หากอีกด้านสำคัญที่ใส่ใจในการพัฒนาให้เติบโตควบคู่กันด้วย คือการตั้งเป้าหมายเป็นองค์กรที่ “ดี” ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจ
       ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของกลุ่มบริษัทฯ ที่ว่า “จะผลิตน้ำตาลคุณภาพตลอดไป สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค และพร้อมจะอยู่เคียงข้างครอบครัวไทยและครอบครัวโลกอย่างแท้จริง” 

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
ดร.ณัฐพล อัษฎาธร
        ใส่ใจผู้มีส่วนได้เสียต่อเนื่อง 
       
       ดร.ณัฐพล อัษฎาธร กรรมการบริหารกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าวว่า บริษัทฯเติบโตก้าวหน้าอย่างมั่นคง มีมาตรฐานการดำเนินงานในระดับมาตรฐานสากลจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากความใส่ใจต่อชุมชน สังคมและสภาพแวดล้อมในแหล่งที่ตั้งโรงงาน ในฐานะโรงงานน้ำตาล เราต้องซื้อวัตถุดิบ คืออ้อยจากเกษตรกร หรือพนักงานของเราเองที่พำนักอาศัยอยู่ในชุมชน เรามองไปถึงความสุขของทุกภาคส่วน
       เมื่อมองย้อนกลับสมัยก่อตั้งโรงงานซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่ง แม้กระทั่งอาหารการกินยังหาลำบาก พอผ่านไประยะหนึ่งเติบโตกลายเป็นเมือง เราก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับชุมชนเกิดความยั่งยืน เพราะความยั่งยืนของชาวไร่ ของสังคมมีส่วนสำคัญโดยตรงกับความยั่งยืนของบริษัท เมื่อเกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกแล้วได้ผลผลิตดี สร้างกำไร ได้รับความสุข ก็หมายความว่าโรงงานน้ำตาลก็ได้วัตถุดิบป้อนการผลิตได้ดีและยั่งยืนเช่นกัน
       สมัยก่อนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาจจะรับซื้ออย่างเดียว ถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็นำมาขายให้โรงงานก็จบ หากเรามองไกลถึงความสุขของเขา เราจึงพยายามเข้าไปส่งเสริมระบบการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งหมายถึง ระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีการจัดการร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ หรือผู้ซื้อกับอีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ผลิต ซึ่งก็คือเกษตรกรที่มีปัจจัยการผลิตบางประเภทอยู่ในครอบครอง เช่น ที่ดิน ทุน แรงงาน ฯลฯ โดยทั้ง 2 ฝ่ายเจรจาตกลงทำสัญญาระหว่างกันไว้ล่วงหน้าถึงปริมาณ คุณภาพผลผลิต ราคาและช่วงเวลาที่จะรับซื้อ ส่วนผู้ประกอบการหรือบริษัทจะให้การสนับสนุนเรื่องของทุน พันธุ์พืช นักวิชาการที่ปรึกษาและเทคโนโลยีในการผลิต
       ดังกล่าวนี้ เป็นวิธีการทำให้เกษตรกรได้รับความสุข คือเราอยากจะให้ชาวไร่อ้อยปลูกอ้อยได้ดี ในการปลูกอ้อย จริงๆ แล้วคล้ายกับการปลูกหญ้า พอโตก็ตัด แล้วมันจะงอกขึ้นมาใหม่ สามารถตัดได้หลายครั้งถ้าดูแลดีๆ แต่การลงทุนจะค่อนข้างสูง เนื่องจากพืชมีกรอบอายุค่อนข้างนาน เรื่องการเงินจึงเป็นเรื่องที่ชาวบ้านมักจะติดปัญหา บางคนอยากทำอ้อยแต่ไม่มีเงิน รอครบปี มีรายได้ค่อยมาทำซึ่งมันนานเกินไป
       
       “เราเข้าไปส่งเสริมด้านการเงินให้กับชาวไร่ แต่บางทีการให้เงินอย่างเดียวอาจจะไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดี เราจึงใส่ความรู้เข้าไปด้วย สอนในเรื่องการปลูกอ้อย แนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ การใช้เครื่องจักรกลที่ทันสมัย ใช้ข้อมูลจากการทำวิจัย การวิเคราะห์ดิน ดังกล่าวนี้เรามีทีมงานพันธุ์อ้อย รวมถึงกิจกรรมของชุมชน งานแต่งงาน งานบวช เราก็เข้าไปร่วม เพราะเราเห็นเขาเป็นพันธมิตรที่มีส่วนได้เสีย หากเกษตรกรชาวไร่อ้อยประสบปัญหาใดๆ คนแรกที่เขานึกถึงจึงมักเป็นโรงงาน” 

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
จัด ‘โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย’ ร่วมกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
        ผนึก “โคคา-โคลา” หนุนสตรีชาวไร่อ้อย
       เพิ่มศักยภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต
       ปีที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา รับภารกิจสานต่อพันธกิจหลักของบริษัทแม่ ลงทุนจำนวน 4 ล้านบาท จัด ‘โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย’ ร่วมกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยโครงการนำร่องจะเพิ่มศักยภาพเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย 600 คน ในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยจะได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการการเงิน ทำบัญชีและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใน 1 ปี (สิงหาคม พ.ศ. 2559 - กรกฎาคม พ.ศ.2560) โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายผลการดำเนินโครงการฯ นำร่องไปสู่เกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยและกลุ่มพันธมิตรผู้ผลิตวัตถุดิบน้ำตาลรายอื่นในระยะต่อไป เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมกัน และการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ
       ทั้งนี้ หลักสูตรการยกระดับเน้น 2 ส่วน คือ การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน พบว่า กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลครอบครัวและมีอำนาจตัดสินใจทางการเงิน แต่ยังขาดความรู้และทักษะในสองเรื่องนี้ ขณะที่การส่งเสริมเกษตรยั่งยืน มุ่งเน้นการเตรียมและบำรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรีย์และปรับปรุงคุณภาพดิน การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน ไปจนกระทั่งการส่งเสริมการลดการเผาอ้อยในฤดูเก็บเกี่ยว ตลอดจนมีการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกอ้อยและการทำอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมาอย่างต่อเนื่อง
       นอกจากนี้ยังเตรียมแผนระยะที่ 2 เพื่อจะขยายผลจากการดำเนินโครงการนำร่องฯนี้ ไปยังเครือข่ายเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยของกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรืองที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ
       ดร.ณัฐพลบอกว่า ตอนเริ่มโครงการนี้ ทางโค้กและเรามองเห็นสอดคล้องกันว่าจะทำอย่างไรให้ผู้หญิงมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงตั้งทีมงานเข้าไปสำรวจปัญหาของเกษตรกรคืออะไร ปัญหาสำคัญที่พบ คือได้เงินมาแล้วมีการจัดการทางการเงินไม่ค่อยดีนัก เช่น ใช้เงินไปกับสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และมีแนวคิดที่ควรจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกษตรกรมีการจัดการทางการเงินที่ดี ก็คือควรเก็บเงินก่อนแล้วค่อยเอาไปใช้ ไม่ใช่ใช้เงินเหลือแล้วค่อยไปเก็บ
       ความร่วมมือของพันธมิตรทางธุรกิจทั้งสองฝ่ายกับเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ถือว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินและการลงทุนในอาชีพ ช่วยให้พันธมิตรคือ บริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง สามารถผลิตน้ำตาลและจัดหาวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ ขณะที่โคคา-โคลาก็ได้แผนในการจัดหาวัตถุดิบน้ำตาลอย่างยั่งยืน ภาพรวมจึงเกิดการยกระดับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย 

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
        

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
        

น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน
“โครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรพืชไร่อ้อย ในพื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์” ล่าสุดดำเนินโครงการมาเป็นระยะกว่า 10 เดือน มีความก้าวหน้าของโครงการแล้วกว่า 60%
        โมเดลบริหารจัดการน้ำ ที่ซับสมบูรณ์
       กลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง เปิดโมเดลการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ในพื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสสนก. ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาภายใต้ “โครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรพืชไร่อ้อย ในพื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์” ล่าสุดดำเนินโครงการมาเป็นระยะกว่า 10 เดือน มีความก้าวหน้าของโครงการแล้วกว่า 60%
       เป้าหมายความยั่งยืน คือ การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เริ่มต้นด้วยการพัฒนาคน มีการจัดผู้นำชุมชนแห่งนี้ไปศึกษาดูงานในพื้นที่ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนในพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ผู้นำชุมชนมองเห็นภาพการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน และสร้างความมั่นใจว่า “ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้”
       เมื่อผู้นำกลับมาจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชน ตำบลซับสมบูรณ์ ซึ่งได้รับรองจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ จากนั้นทางบริษัทฯ และคณะกรรมการได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่แหล่งน้ำต้นทุนเดิมของตำบล รวมถึงทำผังน้ำตำบลขึ้นมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลให้สสนก.ช่วยวิเคราะห์ความเหมาะสมในการบริหารจัดการน้ำ และได้มีการลงพื้นที่เพื่อทำการสำรวจ วัดระดับและวางแผนทำโครงสร้างเพื่อรองรับน้ำต่างๆ ได้แก่
       1) ขุดสระขนาด 5 ไร่ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง
       2) ขุดลอกคลอง ขยายพื้นที่รับน้ำในพื้นที่คลองเดิมซึ่งมีสภาพตื้นเขินและแคบ ให้มีความกว้างเป็น 10 เมตร
       3) ปรับปรุงโครงสร้างท่อระบายน้ำ ทำบานกั้นบริเวณท่อลอดเดิม เก็บน้ำเป็นช่วงๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน
       4) พัฒนาแปลงสาธิตเกษตรพืชไร่อ้อยแบบระบบเติมน้ำใต้ดิน เพิ่มความชุ่มชื้นในดิน รักษาตออ้อยให้งอกซ้ำ
       ดร.ณัฐพล กล่าวว่า “คณะกรรมการจัดการน้ำเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ได้ช่วยกันคิดวางแผนกับสสนก.ว่าเขาทำอะไร มีปัญหาอะไร ควรจะแก้ตรงไหน ทางสสนก.ก็ไปสำรวจเส้นทางน้ำก็แนะนำว่าให้ขุดสระ บริเวณใดเป็นที่ดินของชาวบ้านก็ยังเป็นของเขา แต่สระน้ำเป็นของชุมชน มีการตั้งกฎระเบียบการใช้น้ำ เช่น ช่วงนี้อย่าเพิ่งใช้ ให้ใช้หน้าแล้ง ใช้เป็นระบบหยุดไม่ใช่เอาไปราด แต่กรณีเกิดไฟไหม้ หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ ตอนนี้ยังไม่เสร็จ แต่ขุดสระเสร็จแล้ว มีกติกาแล้ว ตอนนี้เริ่มดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อให้เก็บน้ำได้ดีขึ้น เพราะชาวบ้านก็เหมือนปลูกอ้อยล้ำเข้าไปในเส้นทางน้ำเดิม ก็จะไปขยายเส้นทางน้ำเพื่อให้รองรับได้มากขึ้น มีการทำฝายเพื่อกักเก็บเป็นระยะ นอกจากนั้นยังมีการทำแปลงทดลองเป็นที่แรกของไทยที่เป็นพืชอ้อย เป็นแปลงเก็บน้ำใต้ดิน เหมือนทดลองว่าถ้าทำแบบนี้จะสามารถทำให้ได้ยีลด์ของอ้อยเพิ่มขึ้นหรือไม่ เป็นการทดลอง เป็นการขุดบ่อลงไป เหมือนบ่อบาดาล เอาน้ำเทลงไปแล้วมันก็จะซึมอยู่ข้างใต้ เก็บน้ำอยู่ใต้ดิน เป็นท่อซีเมนต์ประมาณ 4 ท่อต่อกัน แล้วเจาะรูเพื่อให้น้ำซึมออกมาได้”
       โมเดลนี้เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อเการเกษตรพืชไร่อ้อยแห่งแรกของไทย ตามแนวทางส่งเสริมการเกษตรยั่งยืนเพื่อสร้างคุณค่าร่วมในสังคม หรือ Creating Shared Value : CSV 

ไร่รักษ์ไม้,#สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ต่อยอดซีเอสอาร์ หนุนชุมชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยยั่งยืน

view