จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
นราธิวาส - ฮือฮา! “ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า” พบแห่งที่ 2 ในประเทศไทย ที่อุทยานบูโด-สุไหงปาดี จ.นราธิวาส บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งยังพบผีเสื้อชนิดอื่นอีกเกือบ 100 ชนิด วันนี้ (16 ก.พ.) ที่บริเวณอุทยานบูโด-สุไหงปาดี ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส นายสิทธิชัย หมัดสี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี พร้อมด้วย น.ท.ปฎิญญา แตงพลัก ผบ.ฉก.นย.นราธิวาส 32 นายธีระศักดิ์ แวยูโซะ นายกเทศมนตรีตำบลบาเจาะ จ.นราธิวาส ได้ร่วมทำพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชมผีเสื้อ ที่อุทยานแห่งชาติบูโด โดยเปิดปฐมฤกษ์ด้วยการนำเยาวชน และนักเรียนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม และศึกษาดูผีเสื้อตามเส้นทางธรรมชาติกว่า 300 คน ซึ่งผีเสื้อได้อาศัยอยู่ตามผืนป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกปาโจ แหล่งท่องที่มีชื่อเสียง และสวยงามแห่งหนึ่งของ จ.นราธิวาส นายสนธยา กาญจนะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในการวิจัยค้นหาผีเสื้อในประเทศไทย เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า พื้นที่อุทยานแห่งบูโด-สุไหงปาดี มีเนื้อที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคุลมพื้นที่ จ.ยะลา ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ลักษณะป่าดิบร้อน มีความชื้นสูง และมีฝนตกตลอดทั้งปี มีผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ชนิด ผีเสื้อจะอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นป่า และตามแหล่งน้ำจืด บริเวณน้ำตาปาโจ ซึ่งน้ำตกดังกล่าว มีทั้งหมด 7 ชั้น
|
ในส่วนของการดู หรือส่องดูผีเสื้อ สามารถเดินดูได้ในบริเวณชั้น 1 รอบบริเวณป่าและน้ำตกตามเส้นปกติ และเส้นทางเดินป่า ซึ่งจะพบเห็นผีเสื้อหลายชนิดที่บินวน และเกาะกิ่งไม้ เป็นภาพผีเสื้อที่มีสีสันความสวยงามตามธรรมชาติเหนือคำบรรยาย ในการค้นหาวิจัยผีเสื้อในพื้นที่อุทยานบูโด-สุไหงปาดี ตลอดระยะแค่ 2 ปี สามารถเก็บข้อมูลผีเสื้อหลากหลายชนิดที่อาศัยในพื้นป่าแห่งนี้เกือบ 100 ชนิด และยังพบพันธุ์ผีเสื้อหายาก เช่น ผีเสื้อสกุล (haraga) ผีเสื้อท้ายขาวปุยหิมะ (darpa pteria) ผีเสื้อเจ้าหญิงสีฟ้า (prothoe franck) ผีเสื้อแหวนมลายู (ragadia makuta) และอีกชนิดที่สำคัญคือ ผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า (drina maneia) เป็นชนิดผีเสื้อที่หายาก และในตำราหนังสือวิจัยผีเสื้อพบว่า มีที่เดียวในประเทศไทย คือ ที่อุทยานแห่งชาติบางสีดา จ.สระแก้ว และที่อุทยานน้ำตาปาโจ จ.นราธิวาส ค้นพบผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้าจำนวนมาก เป็นแหล่งที่ 2 ในประเทศไทย
|
ซึ่งผีเสื้อดังกล่าวมีความสำคัญต่อหนักวิจัยมาก เพราะผีเสื้อหนอนกลอยสีฟ้า เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติ และความอุดมสมบูรณ์ในระบบนิเวศ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สนใจจะดูผีเสื้อหลายหลายชนิด หรือนักท่องเที่ยว ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไกล สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกปาโจ ได้ตลอดทั้งวัน ในส่วนเวลาที่เหมาะสมในการดู หรือส่องดูผีเสื้อ ควรเป็นเวลาแดดออกประมาณ 09.00-15.00 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้คอยอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับน้ำตกป่าโจ อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี บ้านบาโจ ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส มีน้ำตกปาโจ เป็นแหล่งกำเนิดใบไม้สีทอง หรือย่านดาโอะ ที่เดียวในประเทศไทย และในโลก เป็นแหล่งอาศัยของนกเงือก 6 ชนิด รวมถึงแหล่งพันธุ์ผีเสื้อกว่า 100 ชนิด อีกทั้งเป็นผืนป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
|
|
|
อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส