สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แพ็กคู่! อภิสิทธิ์-กรณ์ แนะ สูตรแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าภาคใต้ ชง อ.เทพาใช้แอลเอ็นจี กระบี่ใช้น้ำมันปาล์ม

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคปชป. พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคฯ แถลงข่าวสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่จะหาข้อยุติกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จุดยืนของพรรคฯ อยากจะเห็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ และเสนอให้รัฐบาลตัดสินใจเลือกใช้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและโลกในอนาคต โดยพรรคฯขอเสนอแนวทางให้รัฐบาลเร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา แต่เปลี่ยนการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงมาเป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ควบคู่ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดกระบี่ โดยใช้ปาล์มน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก พร้อมกับลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนซึ่งจะเป็นทิศทางของการใช้พลังงานในอนาคต

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้แก่ภาคใต้และลดการพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังสามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า รวมทั้งหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากับประชาชนในพื้นที่และกลุ่มอนุรักษ์ ยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินการในแนวทางดังกล่าวยังจะเป็นวิธีการรองรับการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในอนาคต สนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่และสอดคล้องกับการประกาศเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ใช้งบประมาณที่ประหยัดได้จากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแอลเอ็นจี ที่มีต้นทุนต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน มาลงทุนในระบบสมาร์ท ไกด์ เพื่อรองรับการซื้อพลังงานหมุนเวียนจากภาคเอกชนและประชาชนในอนาคต

ด้าน นายกรณ์ กล่าวว่า ตนได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลและเหตุผลสนับสนุนแนวทางดังกล่าวดังนี้ 1. สาเหตุที่เสนอแอลเอ็นจีเพราะเป็นเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตที่หลากหลาย 2. ราคาแอลเอ็นจีและราคาถ่านหินในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแอลเอ็นจีใกล้เคียงหรือต่ำกว่าต้นทุนการผลิตจากถ่านหิน 3. เงินลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแอลเอ็นจีต่ำกว่าเงินลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 50% ทำให้รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณได้อีกจำนวนมาก 4. การก่อสร้างโรงไฟฟ้าแอลเอ็นจีใช้ระยะเวลาในการขออนุญาตและก่อสร้างเพียง 48 เดือน เทียบกับระยะเวลาในการขออนุญาตและก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เวลา 80 เดือน โรงไฟฟ้าแอลเอ็นจีจึงตอบโจทย์ต่อภาวะการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ พร้อมรับมือได้อย่างรวดเร็วกว่าแผนเดิมมาก 5. การก่อสร้างแอลเอ็นจีในภาคใต้จะเสริมความมั่นคงให้ประเทศ จากปัจจุบันที่มีการนำเข้าแอลเอ็นจีที่จ.ระยองเพียงจุดเดียว 6.โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องผ่านการอนุมัติอีเฮชไอเอ ในขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าแอลเอ็นจี ต้องผ่านการอนุมัติอีไอเอเท่านั้น ทำให้ระยะเวลาอนุมัติของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินนานกว่า และ 7.การยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นการแสดงจุดยืนของรัฐบาลที่ชัดเจนของไทยในการช่วยลดภาวะเรือนกระจก

ที่มา มติชนออนไลน์


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : แพ็กคู่! อภิสิทธิ์-กรณ์ แนะ สูตรแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าภาคใต้ ชง อ.เทพาใช้แอลเอ็นจี กระบี่ใช้น้ำมันปาล์ม

view