จากประชาชาติธุรกิจ
สัมภาษณ์
การเกิดอุทกภัยที่ภาคใต้ผ่านไปสด ๆ ร้อน ๆ แต่แน่นอนว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากมายนั้นก่อความเสียหายใหญ่หลวง โดยเฉพาะกับเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเพิ่งจะเผชิญกับปัญหาราคายางตกต่ำ แต่เมื่อราคายางเริ่มผงกหัวขึ้น ชาวสวนยางภาคใต้กลับเจอวิกฤตน้ำท่วม ในความเป็นจริงแล้ว "ปัญหายางพารา" ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูก เรื่องราคา หรือการช่วยเหลือส่งเสริมจากรัฐบาลก็ดี จากการยางแห่งประเทศไทยก็ดี ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะกับชาวสวนยางภาคใต้เท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวสวนยางหลายล้านคนทั่วประเทศ และส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย
"ดร.ธีธัช สุขสะอาด" ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ยางพาราของไทย และปัญหาราคายางที่เป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ
- สถานการณ์ยางที่ราคาพุ่งขึ้นช่วงนี้
หากเราย้อนกลับมาดู มันเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาเมื่อปลายปีྲྀ เป็นช่วงยางสามโลร้อย แต่หลังจากครั้งนั้นเราก็มีมาตรการออกมาช่วยเหลือ 15 มาตรการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการช่วยเหลือ 1,500 บาท/ไร่ โครงการสนับสนุนการใช้ยางในประเทศ โครงการปล่อยสินเชื่อเพื่อเกษตรกรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้มันก็เลยมีผลเป็น "ปัจจัยภายใน" ที่ช่วยทำให้ปริมาณยางถูกดูดซับออกจากระบบ ทั้งหมดทั้งปวงเราพูดกันในระบบว่าราคาและปริมาณนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้
แต่เมื่อปริมาณกับความต้องการใช้มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยคือถ้ามันมากเกินไปเพียงนิดเดียวราคาก็ร่วงทันทีหรือปริมาณหายไปนิดเดียวราคาก็จะเพิ่มขึ้นและทันทีที่มาตรการเหล่านั้นถูกนำออกไปใช้ทำให้ราคามันปรับตัวสูงขึ้นเช่น บริษัท ชิโนเคม จากจีนเข้ามาซื้อในเดือน เม.ย. 59 มีการส่งมอบเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาปรับตัวขึ้น ซึ่งเป็นวิถีปกติของคนที่ค้าขายยาง แต่พอราคาสูงขึ้นเขาก็ต้องทำให้ราคาต่ำลง เพื่อที่จะเข้าซื้อก่อนที่ราคาจะดีดกลับไปสู่จุดเดิม
ดังนั้น เราก็มองเห็นเทรนด์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไปอย่างที่ผมบอก ณ วันนั้นแทบจะเป็นจุดที่ต่ำที่สุดแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรธุรกิจของเขา เพราะฉะนั้น วงจรธุรกิจมันก็ต้องย้อนกลับขึ้นไป เราเรียกว่าการย้ำราคา การไล่ราคา ก็เป็นวิถีการสร้างให้วงจรธุรกิจกลับเข้าสู่ที่เดิม
เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะดูราคายางห้ามดูวันต่อวันเพราะถ้าท่านดูวันต่อวันจะเครียด เหมือนท่านดูตลาดหุ้น ท่านไปนั่งเฝ้าวันต่อวัน ทำตัวเป็นนักเก็งกำไรก็เหนื่อยนะ มันก็เกิดข้อวิจารณ์เกิดขึ้นทันที แต่ถ้าเราดูเทรนด์แล้วจะเห็นว่าตั้งแต่วันที่ผมพูดเมื่อ3 เดือนที่แล้วว่าจะมีการอัพเทรนด์ตลอดเวลา เมื่อมองย้อนจากกราฟราคาระยะ10 ปี จะเห็นว่าทำไมผมมั่นใจว่าวันนี้ควรอัพเทรนด์ได้แล้ว คือพอมองภาพย่อลงมาในช่วง 3 ปี ราคามันมีการยกตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ถามว่ายกตัวนั้นจะไปในทิศทางไหน ก็ต้องดูที่ว่าแรงต้านเราอยู่ประมาณไหน ในเชิงเทคนิคนะ ก็ดู Price Rate ย่ำอยู่ตรงนี้ คือ ประมาณราคาที่เราเห็น 70-80 บาท/กก. เพราะฉะนั้น เราจะเห็นราคานี้อยู่อีกพักนึง แต่บางวันก็ทะยานขึ้นไป อย่างวันนี้ 90 กว่าบาท/กก.
- ราคาจะมีโอกาสถึง 100 บาท/กก.ไหม
100 บาท/กก.หรือไม่ก็ต้องทะลุตรงนี้ให้ได้ในเชิงเทคนิคนะ แต่ถ้าในเชิงสถิติเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว 2-3 เหตุการณ์ คือ 1.เป็นความตั้งใจลดปริมาณยางโลกของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 3 ประเทศ คือ ไทย 40% อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งเรามีข้อตกลงกันว่า ปีที่ผ่านมาและปีนี้เราจะลดปริมาณการส่งออกยางลง 7 แสนตัน คือ ปริมาณจะถูกดูดซับออกจากตลาดและเราก็ทำสำเร็จ ดังนั้น ก็ส่งผลไปที่เรื่องของราคาปรับตัวขึ้น นี่คือปัจจัยภายนอกที่ทำร่วมกัน
ว่าง่าย ๆ คือลดปริมาณการส่งออก ยางที่จะเอาไปค้าขายในตลาดโลกน้อยลง คือในโลกปัจจุบันมีความต้องการใช้ยางอยู่ประมาณ 12 ล้านตัน เกิดจากไทยเราประมาณ 4 ล้านตัน ที่เหลือคือ มาเลเซีย-อินโดนีเซีย-อินเดีย แต่พอ 3 ประเทศรวมกันได้มียางเกือบ 70% ของผลผลิตโลก แล้วเราก็บอกว่าเอาออก 7 แสนตัน เพราะมีการคำนวณออกมาแล้วว่า มีปริมาณการผลิตเกินกว่าความต้องการใช้ประมาณ 4-5% เพราะฉะนั้น ถ้าเราลดลงไปได้ก็เท่ากับว่าราคาจะเกิดความสมดุล 2.เกิดปริมาณยางที่ลดลงโดยไม่ตั้งใจ มีประมาณ 4 แสนตันที่หายไปในไทยจากอุทกภัยน้ำท่วมกลายเป็นว่าปีนี้ยางหายไปจากโลก 1 ล้านกว่าตันประมาณ 10% ของปริมาณยางโลก เท่ากับผลผลิตมีน้อยกว่าความต้องการ 5% ราคาจึงดีดขึ้นอย่างรวดเร็ว
สามารถพูดได้ว่าราคาโดยเฉลี่ยปีླྀ จะสูงกว่าปีཷ แน่นอน แต่จะสูงถึงไหนคงต้องติดตามกันต่อไป จะมีโอกาสเห็นเลขสามหลักหรือไม่มันก็มีโอกาส แต่จะให้การันตีเป็นไปไม่ได้
แน่นอนราคาที่พุ่งอาจจะเป็นผลดีระยะสั้นแต่จะเป็นสะวิงยังไม่ใช่ราคาที่อิ่มตัวและสามารถยืนอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุดวันนี้เราต้องออกหลาย ๆ มาตรการที่จะทำให้อยู่ในจุดสมดุล
- มาตรการที่ให้เกิดความสมดุล
ในปี 2560 กยท.ยังมีนโยบายควบคุมปริมาณการผลิตต่อไป คือ มาตรการที่ 1เรามีโครงการส่งเสริมปลูกแทนโดยการตัดยางเก่า 4 แสนไร่ต่อปี เป็นเวลาต่อเนื่อง 7 ปี การที่โค่นยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการพยายามนำยางที่ด้อยคุณภาพออกจากตลาด เมื่อโค่น 4 แสนไร่แล้วทำยังไงต่อนั้น กยท.ก็มีการสนับสนุนให้ปลูกพืชอื่นแทน มาตรการที่ 2 คือ โครงการให้การสนับสนุนเงินทุนสภาพคล่อง คือสินเชื่อเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ดังนั้น เมื่อ กยท.มีเงินกองทุนสำหรับชาวสวนยางที่แบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตอนนี้เราก็เร่งออกระเบียบในการปฏิบัติใช้ให้สามารถเร่งลดขั้นตอนระเบียบต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ หรืออย่างสวัสดิการต่าง ๆ
มาตรการที่ 3 คือ การพัฒนาตลาดใหม่และส่งเสริมการแปรรูปเพื่อใช้ในประเทศ และการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เพราะวันนี้เรายังผลิตออกมาในรูปสินค้าโภคภัณฑ์ หรือแม้แต่แปรรูปขั้นต้นแล้วส่งออกก็ยังเป็นคอมมิวนิตี้อยู่ดี ราคาก็ยังสะวิงตามตลาดโลกอยู่ดี แต่ถ้าเราแปรจากสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มแล้ว เช่น หมอนยาง ปกติยาง 1 กก.หารเฉลี่ยน้ำยาง สามารถผลิตหมอนออกมาได้ 4 ใบ ใน 1 ใบ ขายได้ใบละ 500 บาท
ตอนนี้เราก็มีระเบียบที่จะนำเงินกองทุน 35% ของเงินเซสประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท ที่จะปล่อยกู้ให้สมาชิกไปตั้งโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง จากปีนี้ประเมินแล้วจะเก็บเงินเซสได้ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท
- การช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมสวนยางภาคใต้
ต้องดูหลังจากน้ำลด เพราะต้นยางมี 2 กลุ่ม ยางขนาดเล็ก หากน้ำท่วมก็ไปหมด กลุ่มที่สองคือ ยางขนาดกลาง จะอยู่ได้ 20 วัน หากไม่ท่วมขัง ส่วนยางขนาดใหญ่ที่เปิดกรีดแล้วอยู่ได้ประมาณ 30-40 วัน แน่นอนว่าวันนี้เราอาจจะประเมินพื้นที่ความเสียหายได้ว่าประมาณ7-8 แสนไร่ แต่เสียหายจริงต้องดูหลังน้ำลด ซึ่งตอนนี้เราก็เตรียมทีมไว้เมื่อน้ำลดก็ต้องเกาะติดสถานการณ์ และเร่งแรงงานที่ดูแลความเสียหาย แต่อันดับแรกแนะนำให้ไปที่กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อไปรับ 3,000 บาท 2.มาที่ กยท.เพื่อดูสภาพที่ควรได้รับการส่งเสริมให้แจ้งไว้ว่ามีความเสียหายอย่างไร เราจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจเข้าไปรับรอง
อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส