สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้ไหมว่า...ไทยจะมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 40 เมตร

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

รู้ไหมว่า...ไทยจะมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 40 เมตร

       จีนเพิ่งเดินเครื่องกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป้าหมายเพื่อศึกษาพัลซาร์ที่อยู่ไกลโพ้น ขณะเดียวกันก็มีความหวังที่จะค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงปัญญานอกโลก ส่วนไทยเองก็กำลังจะสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุเช่นเดียวกัน แม้ไม่ใช่กล้องขนาดใหญ่ แต่ก็จะเป็นกล้องตัวแรกและจุดเชื่อมเครือข่ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       
       ในหลายโอกาส รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) ได้เปิดเผยถึงโครงการของสถาบันฯ ที่จะดำเนินการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร และขนาด 13 เมตรในปี 2560-2564 ซึ่งระยะแรกจะเริ่มพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์และยีออเดซี (Geodesy) ซึ่งเป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกด้วยความละเอียดสูง โดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุศึกษาวัตถุที่อยู่ไกลมากที่เรียกว่า "เควซาร์" (quasar) แล้วมาใช้คำนวณการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
       
       เมื่อเร็วๆ นี้ สดร.ก็เพิ่งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ วิทยุจากทั่วโลกมาร่วมประชุมกันภายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ Thai Very Long Baseline Interferometer Network Collaborative Workshop (TVN 2016) เมื่อต้น เดือน ก.ย.59 ณ โรงแรมอ่าวนางวิลล่ารีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุ และวางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับไทย รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับเครือข่ายเอเชียตะวันออก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และยุโรป
       
       สำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 40 เมตรนั้นจะสร้างขึ้นในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งของไทย โดย รศ.บุญรักษาระบุว่า ภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังขาดกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่จะเป็นจุดเชื่อม เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุทางไกลวีแอลบีไอ (VLBI: Very Long Baseline Interferometer) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ทั้งยุโรป แคนาดา สหรัฐฯ ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก ออสเตรเลีย
       
       “ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค จึงเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ระดับ 25 เมตรขึ้นไป เพื่อเชื่อมต่อและร่วมสังเกตการณ์กับเครือข่าย VLBI ของโลก ซึ่ง สดร. ได้มีความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน อังกฤษ” รศ.บุญรักษาระบุ


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : รู้ไหมว่า...ไทยจะมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 40 เมตร

view