จากประชาชาติธุรกิจ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังพิจารณาการนำเข้าข้าวจำนวน 1 ล้านตัน เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดแคลนจากผลกระทบของปรากฎการณ์ลานีญาที่คาดว่าจะเกิด ขึ้นระหว่างเดือนนี้จนถึงเดือนตุลาคมปีนี้
โดยจากการประชุมของคณะกรรมการความมั่นคงด้านอาหาร (FSC) เดือนที่ผ่านมา วางแผนการนำเข้า 750,000 ตัน อาจจะดำเนินการผ่านโครงการจัดซื้อของรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ในขณะที่อีก 250,000 ตัน อาจจะเปิดให้สำหรับการนำเข้าโดยบริษัทเอกชนภายใต้โครงการปริมาณจัดซื้อขั้นต่ำ (MAV)
ทั้งนี้โครงการ MAV เป็นการนำเข้าปริมาณรวม 805,200 ตัน แบ่งเป็น 755, 200 ตัน ซึ่งเป็นโควต้าสำหรับจัดสรรเฉพาะประเทศ (CSQ) และอีก 50,000 ตัน สำหรับประเทศอื่นๆ โควต้าที่เฉพาะเจาะจงของประเทศแบ่งเป็น จีน 50,000 ตัน อินเดีย 50,000 ตัน ปากีสถาน 50,000 ตัน ออสเตรเลีย 15,000 ตัน เอลซัลวาดอร์ 4,000 ตัน ประเทศไทย 293,100 ตัน และเวียดนาม 293,100 ตัน โดยข้าวทั้งหมดที่นำเข้าภายใต้โครงการการนำเข้าข้าว MAV จะต้องเสียภาษีร้อยละ 35
นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังมีข้อตกลงจัดซื้อข้าวกับเวียดนามไทยและกัมพูชาสำหรับโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลต่อรัฐบาล
"แม้ว่าข้าวในสต๊อกเพียงพอสำหรับช่วงที่เหลือของปี แต่ฟิลิปปินส์จำเป็นต้องนำเข้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้น โดยความจำเป็นเร่งด่วนที่จะสั่งซื้อข้าวล็อตแรกจะอยู่ที่ประมาณ 250,000 ตันในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ตามมาด้วยอีกประมาณ 250,000 ตันในข่วงปลายปี และชุดต่อไปจะเป็น 500,000 ตันเพื่อความปลอดภัยของอุปทานข้าวในเดือนมีนาคมปีหน้า และการจัดส่งจะเริ่มต้นภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจนถึงต้นปีหน้า "
แหล่งข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมะนิลากล่าวว่า จากการคาดการณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ไทยสามารถส่งออกข้าวมาฟิลิปปินส์ได้เพิ่มขึ้น จากก่อนหน้านี้ในช่วงครึ่งปีแรก ( ม.ค.-มิ.ย.) 2559 ไทยส่งออกข้าวมาฟิลิปปินส์เพียง 52.54 ล้านเหรียญ ลงลดกว่า 67.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต