จากประชาชาติธุรกิจ
โรคกระดูกหักในเด็กเป็นภาวะที่พบได้ บ่อย เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังซุกซนและมีกิจกรรมมากทำให้มีโอกาสเกิดการ บาดเจ็บได้ง่าย ซึ่งภาวะกระดูกหักในเด็กมีความแตกต่างจากกระดูกหักในผู้ใหญ่ค่อนข้างมากด้วย เหตุผลหลายประการด้วยกัน
นพ.ปวริศร สุขวนิช ศัลยแพทย์กระดูกและข้อในเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี ขยายความว่า กระดูก เด็กหักค่อนข้างง่ายและมีลักษณะการหักบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ไม่พบใน ผู้ใหญ่ เช่น การบิดงอผิดรูปของกระดูก การย่นของกระดูก หรือการหักลักษณะคล้ายกิ่งไม้สดที่มีการหักที่ด้านหนึ่งและอีกด้านที่งอผิด รูปแต่ไม่แตกออก
รวม ทั้งกระดูกเด็กยังคงมีการเจริญเติบโตทำให้การรักษากระดูกหักในเด็กมีความ ต่างจากผู้ใหญ่ การวินิจฉัยทำได้ยากกว่า และในการรักษาก็ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้กระทบกระทบศูนย์การเจริญเติบโต ของกระดูก ที่อาจทำให้กระดูกหยุดการเติบโตจนผิดรูปบิดเบี้ยว หรือทำให้แขนขาสั้นยาวไม่เท่ากันได้
อย่าง ไรก็ตาม กระดูกหักในเด็กจะฟื้นตัวกลับมาติดกันเร็วกว่าผู้ใหญ่ และสามารถกลับมาตรงได้เองเมื่อกระดูกเติบโตขึ้น การรักษากระดูกหักในเด็กส่วนใหญ่จึงเหมาะกับการใส่เฝือกโดยไม่จำเป็นต้องผ่า ตัดเพื่อจัดกระดูกให้ตรง
ทั้งนี้ เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บแล้วสงสัยว่ามีกระดูกหัก เช่น มีอาการบวมมาก ไม่ยอมขยับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการผิดรูปโก่งงอของอวัยวะ ควรใช้วัสดุแข็งเช่น แผ่นไม้ กระดาษหนังสือพิมพ์พับซ้อนหลายๆชั้น หรือกระดาษแข็งๆ ดามอวัยวะส่วนไว้โดยอาจใช้ผ้าหรือผ้ายืดพันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาด เจ็บเพิ่ม แล้วใช้ความเย็นประคบเพื่อลดการบวม แต่อย่าใช้ยาใด ๆ ถูนวดบริเวณที่บาดเจ็บและอย่าพยายามดัดหรือดึงกระดูกที่ผิดรูปด้วยตัวเอง
และอีกสเต็ปสำคัญคือรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งควรให้เด็กงดน้ำและอาหารไว้ก่อน เพราะอาจต้องดมยาสลบเพื่อการรักษา
เห็นลูก ขาโก่ง-บวม-ไม่ขยับ อย่าวางใจ
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต