จากประชาชาติธุรกิจ
นาย ทซึโทมุ มิยาโกชิ ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ ประจำ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเทศไทย เปิดเผยว่า การทำนาของชาวญี่ปุ่นเป็นการทำนาในรูปแบบการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล อาทิ 1.การรวมกลุ่มซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร หากเข้าร่วมโครงการรัฐให้กู้ได้ในดอกเบี้ยต่ำ แม้ญี่ปุ่นต้องประสบกับสภาพอากาศแปรปรวน แต่ผลผลิตของแปลงใหญ่ค่อนข้างคงที่ รายได้แน่นอน หรือบวกลบไม่เกิน 2% เท่านั้น ขณะที่วิธีการทำนาจะเน้นใช้นวัตกรรมหยอดเมล็ดพันธุ์ให้สม่ำเสมอ ที่ทั้งประหยัดสามารถลดต้นทุนได้ถึงเท่าตัว หากเทียบกับนาหว่านซึ่งปัจจุบันเกาหลีใต้กำลังเป็นที่นิยม เพาะการปลูกข้าวด้วยโซลูชั่นเหล่านี้มาจากการนำเอาผงเหล็กเคลือบเมล็ดพันธุ์ ทำให้ข้าวมีน้ำหนักไม่ไหลไปกับน้ำ ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น
และต้นทุนลดลงถึง 30-40% ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เเสนเยน/ปี มากกว่าพนักงานออฟฟิศระดับกลางในกรุงโตเกียวแต่ระยะหลัง 2-3 ปีนี้ ตลาดข้าวญี่ปุ่นต้องประสบกับการผลิตที่ล้นตลาด เกินความต้องการบริโภคในประเทศด้วยความที่ญี่ปุ่นไม่ได้ผลิตข้าวเพื่อการส่ง ออกประจวบกับพฤติกรรมการบริโภคในประเทศปัจจุบันหนุ่มสาววัย 20-30 ปีไม่นิยมรับประทานข้าว ค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวคนญี่ปุ่นจากที่ 140 กก./คน/ปี ปัจจุบันเหลือเพียง 55 กก./คน/ปี หรือในวัยรุ่น 28 กก./คน/ปีเท่านั้น ถือว่าน้อยมาก ส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศจำกัดปริมาณการปลูก โดยให้เกษตรกรหันไป 1.ผลิตอาหารสัตว์ 2.ปลูกถั่วเหลือง เพื่อลดกำลังการผลิตข้าวภายในประเทศ ซึ่งกำลังการผลิตข้าวสารอยู่ที่ 7 ล้านตัน/ปี จากอัตราเต็มที่ 10 ล้านตัน
กว่าร้อยละ 90 บริโภคในประเทศปริมาณ 6.3 ล้านตันข้าวสาร และรัฐบาลต้องขอความร่วมมือชาวนาปรับเปลี่ยนวิถีการเพาะปลูก ลดพื้นที่การทำนา อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังต้องพัฒนาตลาดข้าวที่ล้นเกินความต้องการไปสู่การแปรรูป ซึ่งปัจจุบันพบว่าตามห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่มีผลิตภัณฑ์ข้าว เกรดเอ เเละผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวที่หลากหลาย เพื่อลดโอเวอร์ซัพพลายเเละเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มอีกทาง
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต