สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สเปน หนุนอียู ใบแดง ประมง ธุรกิจไทยรุมโต้

สเปน"หนุนอียู ใบแดง"ประมง" ธุรกิจไทยรุมโต้

จากประชาชาติธุรกิจ

เอกชน ประสานเสียงรัฐโต้สเปน หนุนอียูให้ใบแดงประมงไทยหวังฮุบเค้กตลาดอาหารทะเลในสหภาพยุโรปแทน ฟันธงไม่มีผลต่อการพิจารณาของ กมธ.อียูชุดใหญ่

นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีหนังสือพิมพ์ ดิ การ์เดียน รายงานว่า หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการด้านการประมงของสภายุโรปเรียกร้องให้ "ใบแดง" ห้ามนำสินค้าประมงทั้งหมดจากประเทศไทยเข้าตลาดสหภาพยุโรป (อียู) โดยระบุว่า ไทยล้มเหลวในการใช้มาตรการอย่างพอเพียงสำหรับจัดการกับปัญหาแรงงานทาส และการใช้แรงงานประมงผิดกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้อียูให้ใบเหลืองมาแล้ว เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาว่า เป็นเพียงการออกความคิดเห็นฝ่ายเดียวเท่านั้น ยังไม่มีการประเมินอย่างเป็นทางการจาก EU ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม หรือปลายปีนี้ หลังคณะผู้แทนจากสถานทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย จาก 6 ประเทศ 1 องค์กร ได้แก่ ประเทศออสเตรีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, โปแลนด์, สเปน, สวิตเซอร์แลนด์ และคณะกรรมาธิการ EU ตรวจติดตามการทำประมงตามกฎระเบียบ IUU Fishing เข้ามาตรวจสอบ

"ผมไม่อยากให้ประชาชนรวมทั้งเจ้าของกิจการ ประมงกังวล เพราะขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งแก้ปัญหา ในส่วนของกระทรวงแรงงานเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก นอกจากจะประสานหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ยังตรวจสถานประกอบกิจการประมงทะเลอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้โดนใบแดงในเดือนตุลาคมนี้"

ล่าสุดจากรายงานเหตุการณ์และ สถานการณ์การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ณ วันที่ 17 ก.ค. 2558 มีการตรวจสถานประกอบกิจการกลุ่มเสี่ยงประมงทะเล และเกี่ยวเนื่อง โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในจังหวัดติดชายฝั่งทะเล จำนวน 176 แห่ง ลูกจ้าง 18,961 คน ผลตรวจการประเมินพบว่า นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 15 แห่ง ในเรื่องการจัดสวัสดิการ วันหยุดตามประเพณี เป็นต้น

ส่วนการตรวจแรงงานแบบบูรณาการ สถานประกอบกิจการเจ้าของเรือประมงทะเล จำนวน 1,279 แห่ง เรือ 1,507 ลำลูกเรือ 16,859 คน ผลการตรวจเรือประมงพบว่า มีการผ่อนผันหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ทั้งหมด 197 ลำ ดำเนินการให้คำแนะนำ 94 ลำ เชิญพบ 19 ลำ ออกคำสั่ง 75 ลำ และดำเนินคดี 9 ลำ ทั้งนี้นายจ้างได้ปฏิบัติถูกต้อง 128 ลำ ยังไม่ถูกต้องจำนวน 69 ลำ

ด้านแหล่งข่าวจากวงการอาหารแช่เยือกแข็ง ไทยให้ความเห็นว่า การที่สเปนประกาศให้ใบแดงไทยโดยระบุว่า มีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม หรือไร้กฎระเบียบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Finishing) ไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ที่ได้ออกประกาศแจ้งเตือนไทย ด้วยการให้ "ใบเหลือง" พร้อมให้เวลาไทยแก้ปัญหา

6 เดือน (ถึง ต.ค. 2558) เพราะสมาชิกอียูมีถึง 27 ประเทศ สเปนเป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา สเปนมักจะให้ข่าวโจมตีไทย เนื่องจากประเทศสเปนมีการประกอบธุรกิจด้านการประมงมาก หากอาหารทะเลของไทยไม่สามารถส่งไปขายในอียูได้ สินค้าอาหารทะเลของสเปนขายได้มากขึ้น

สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้น่าจะ เป็นกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ จะประกาศรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking In Persons Report : TIP Report) ประจำปี 2558 ตามกฎหมาย Trafficking Victims Protection Act of 2000 หรือ TVPA ในวันที่ 27 ก.ค. 2558 เวลา 10.00 น. ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (เวลาในประเทศไทย 21.00 น.) ซึ่งเป็นไปได้สูงที่ไทยจะถูกคงสถานะบัญชี Tier 3 ไว้ตามเดิม เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ที่สืบเนื่องมาจากเรือประมงที่ยัง ดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมายยังปรากฏให้เห็น แม้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะพยายามแก้ปัญหาอย่างเข้มงวด และปฏิบัติเชิงรุกจริงจัง คาดว่าการดำเนินการในปัจจุบันของรัฐบาลจะส่งผลดีต่อการทบทวนสถานะในปี 2559 ซึ่งไทยอาจมีโอกาสปรับลดสถานะจาก Tier 3 กลับมาที่ Tier 2 Watch List

"เรื่อง สเปนเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจล้วน ๆ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า หลายประเทศที่อียูให้ใบเหลืองไม่ได้หลุดกันง่าย ๆ คาดว่าหลังครบ 6 เดือนในเดือน ต.ค. 2558 ไทยมีสิทธิ์ได้ใบเหลืองต่ออีก 6 เดือน กว่าจะหลุด IUU คาดว่าใช้เวลา 1-2 ปี ขณะที่เรื่องการค้ามนุษย์นอกจากจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้ว มีเรื่องทางการเมืองระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้องด้วย ตอนนี้บอกไม่ได้เลยว่าจะออกมาอย่างไร แต่คิดว่าคงไม่รอดยืน Tier 3 ต่อ" แหล่งข่าวกล่าว

ขณะที่นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ความเห็นของตัวแทนสเปนไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรปชุด ใหญ่ และสเปนเองที่ประกาศให้ใบแดงเช่นนี้ เพราะทำธุรกิจประมงเช่นเดียวกับไทย ส่วนกรณีประกาศทบทวนสถานะไทยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ วันที่ 27 ก.ค.นี้ ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผลจะออกมาอย่างไร แต่ที่ผ่านมาทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามร่วมแก้ปัญหาเต็มที่แล้ว

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ ดิ การ์เดียน อ้างคำสัมภาษณ์ นายกาเบรียล มาโต (Gabriel Mato) สมาชิกชาวสเปนของพรรคประชาชนยุโรป และคณะกรรมาธิการด้านการประมงของรัฐสภายุโรปว่า สนับสนุนให้อียูยื่น "ใบแดง" แก่ประเทศไทย โดยห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงทั้งหมด หากไทยยังล้มเหลวในการยับยั้งการทำประมงผิดกฎหมายและการใช้แรงงานทาส ทั้งนี้ที่ผ่านมา อียูได้ให้

"ใบเหลือง" ไทยเมื่อเดือน เม.ย. 2558 สืบเนื่องจากที่ไทยยังไม่มีขอบข่ายการทำงานทางกฎหมายที่พอเพียงในการจัดการ และรับมือกับการทำประมงผิดกฎหมาย รวมถึงระบบตรวจตรา ควบคุม และตรวจสอบที่ย่ำแย่ และในเดือน ต.ค.นี้จะมีการทบทวนใบเหลืองดังกล่าว ซึ่งอาจคงไว้ตามเดิม หรือยกระดับความรุนแรงขึ้นเป็น "ใบแดง" โดยจะมีผลบังคับทันที คือห้ามผลิตภัณฑ์ประมงจากไทยทั้งหมดเข้าอียู

ดิ การ์เดียนรายงานว่า ก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิต กลุ่มสิทธิมนุษยชนและในสื่อมวลชน ได้เปิดโปงถึงวิธีปฏิบัติที่น่ากลัวในอุตสาหกรรมอาหารทะเลส่งออกของไทย รวมถึงการใช้แรงงานทาส และแสวงหาประโยชน์จากชาวโรฮีนจา

หลายพันคน ผลพวงจากชาวโรฮีนจาที่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างรุนแรงในเมียนมาพากันหลบหนีจำนวน มาก ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งหน้าเข้าประเทศไทย เพราะมีประชาคมมุสลิมขนาดใหญ่เช่นเดียวกับมาเลเซีย

"ผมให้การสนับ สนุนอย่างเต็มที่ต่อมาตรการของอียูที่เลือกใช้ในบริบทนี้ และจะสนับสนุนการให้ใบแดงหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ไม่ได้มีแค่คำถามเกี่ยวกับแรงงานทาสในภาคการประมงของไทย ซึ่งเฉพาะตัวปัญหานี้ก็เพียงพอที่จะให้ใบเหลืองแล้ว" เขาระบุ พร้อมชี้ให้เห็นถึงกรณีมีเรือประมงไทยหลายลำถูกยึดโดยประเทศเพื่อนบ้าน ตามคำกล่าวหาว่ามีการลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย" นายมาโตกล่าว

เมื่อ เดือนที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปได้ส่งคำถามและขอคำตอบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยคณะกรรมาธิการด้านการประมงขอให้การทำประมงผิดกฎหมายและค้าแรงงานทาส (IUU) เป็นเรื่องที่สำคัญลำดับต้น ๆ ในการสานสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าระหว่างอียูกับไทย

ดิ การ์เดียนอ้างด้วยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม เผยเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า อียูได้ส่งหนังสือชี้แจงว่า มาตรการที่ไทยดำเนินการยังไม่ถูกต้อง ทั้งด้านการบริหารจัดการและทางกฎหมาย พร้อมยอมรับด้วยว่า ยังมีเรือประมงอีก 3,000 ลำทั่วประเทศที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน

นอกจากนี้ประเด็นในเรื่องปัญหา สิทธิมนุษยชนก็ถูกอียูจับตามองเช่นเดียวกัน โดยมาจา โคซิจานซิช โฆษกของเฟเดริกา โมเกรินี (Federica Mogherini) ประธานนโยบายต่างประเทศของอียู กล่าวว่า ภาคการประมงของไทยมีประเด็นปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับไทย อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ไทยเริ่มดำเนินการโดยใช้บางมาตรการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการแก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงาน เช่น การจับกุม 2 ผู้ต้องสงสัยนายหน้าบังคับแรงงานในเรือประมงเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่เรียกร้องให้ใช้มาตรการและความพยายามเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์


ซัดนักการเมืองสเปนกีดกันการค้าไทย

จาก โพสต์ทูเดย์

ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ซัดนักการเมืองสเปน แจกใบแดงสินค้าประมงไทยมุ่งกีดกันการค้าไทย

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรณีนายกาเบรียล โกโต คณะกรรมาธิการด้านการประมงรัฐสภายุโรป แสดงจุดยืนว่าจะสนับสนุนการแจกใบแดงให้สินค้าประมงไทย หากไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และขาดการควบคุม(ไอยูยู)ได้นั้น ขณะนี้ไทยยังอยู่ในระยะเวลา 6 เดือน ที่อียูให้เวลาแก้ไขปัญหาประมงไอยูยู โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายอียูอย่างใกล้ชิด ที่ได้ให้คำแนะนำไทย 2 เรื่อง คือ การแก้ไขกฎหมาย และการทำประมงที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาไทยมีความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการ แก้ไขปัญหาไอยูยูอย่างเข้มข้น ตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเรือ การออกใบอนุญาตการจับสัตว์น้ำ การทำทะเบียนแรงงานบนเรือ ส่งผลให้เรือประมงผิดกฎหมายจำนวนไม่น้อยต้องจอดเทียบท่า ไม่สามารถออกทำประมงได้ แสดงให้เห็นว่าไทยมีการดำเนินการเรื่องนี้จริงจัง รวมทั้งยังมีความคืบหน้าในการติดตามเรือประมงของประเทศอย่างเข้มงวด ทั้งการกำหนดให้เรือขนาดใหญ่ที่ออกทำประมงนอกน่านน้ำต้องติดตั้งเครื่องคิดคามเรือ(วีเอ็มเอส) ละกำหนดให้รายงานตัวเมื่อเรือจะเข้าหรือออกเทียบท่า(พอร์ตอิน – พอร์ตเอาต์)

นายชวลิต กล่าวว่า ได้รับรายงานจากคณะทำงานแก้ไขปัญหาไอยูยู ที่มีนางวราพร พรหมพจน์ รองอธิบดีกรมประมงเป็นหัวหน้าคณะอยู่ทุกวัน ข้อมูลต่างๆ มีแนวโน้มว่าประเทศไทยมีโอกาสได้รับใบเหลืองเป็นครั้งที่ 2 ไม่ใช่ใบแดงตามที่ถูกนำไปปลุกปั่นกระแสในสื่อต่างประเทศบางฉบับที่หยิบเรื่องนี้มาโจมตีไทยอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งในส่วนของนักการเมืองจากประเทศในยุโรปบางแห่งที่ออกมาโจมตีสินค้าประมงไทยในช่วงนี้ ไม่ได้มีจุดยืนให้ไทยแก้ไขปัญหา แต่เป็นเพราะหวงแหนผลประโยชน์ทางการค้าของตัวเองเสียมากกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจในยุโรปเองก็ไม่ดี หากไทยปลดล็อกใบเหลืองได้อีก สินค้าไทยก็จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว จากปัจจุบันที่มีโดนใบเหลืองแต่สินค้าประมงไทยก็ยังได้วางขายในห้างสรรพสินค้าในยุโรป และผู้บริโภคยังให้ความเชื่อมั่น

“คนที่พูดโจมตีไทยอาจจะได้รับข้อมูลฝ่ายเดียว อาจจะยังเสพข้อมูลเก่าๆ จากกลุ่มเอ็นจีโอในยุโรป ที่พูดเรื่องเดิมๆโจมตีประเทศไทย ทั้งที่เราแสดงให้เห็นแล้วว่าแก้ไขประมงผิดกฎหมายอย่างเอาจริงเอาจัง และยังมีจุดยืนที่จะกีดกันทางการค้าสินค้าไทยด้วย ส่วนเรื่องการแก้ไขภาพลักษณ์โดยให้ข้อมูลการประมงไทย ที่ถูกต้องนั้นขณะนี้ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.) ที่เป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ มีคณะทำงานประชาสัมพันธ์พร้อมให้ข้อมูลที่ชัดเจนอยู่แล้ว”


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : สเปน หนุนอียู ใบแดง ประมง ธุรกิจไทยรุมโต้

view