จาก โพสต์ทูเดย์
อุทกภัยครั้งใหญ่ถล่มพร้อมหน้าไทยเวียดนามฟิลิปปินส์ทำเศรษฐกิจหด26%
กรุงเทพฯ โฮจิมินห์ มะนิลา เจอความเสี่ยงภูมิอากาศเปลี่ยนทำเศรษฐกิจหด 26%
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยผลการศึกษาภูมิอากาศที่มีผลกระทบกับภาวะเศรษฐกิจ ว่า จากการร่วมกันศึกษาเป็นระยะเวลา 2 ปี พบว่า 3 มหานครที่กำลังเติบโต คือ กรุงเทพฯ ในไทย โฮจิมินห์ ในเวียดนาม และมะนิลา ในฟิลิปปินส์ กำลังเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ก่อให้เกิดอุทกภัยที่อาจเกิดความเสียหายกระทบต่ออัตราการขยายตัวของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 26%
ทั้งนี้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัญหาน้ำท่วมจะทำให้เกิดความเสียหายด้านโครงสร้างพื้น ฐาน และความเสียหายด้านเศรษฐกิจจะพุ่งสูงถึงหลักหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ
ดังนั้น 3 มหานครจะเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางขึ้น และกระทบต่อประชากรวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ที่น่าห่วงคือประชากรยากจนในตัวเมืองจึงเสนอว่ารัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิง รุกในการจัดการความเสี่ยงของสภาพอากาศเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเมือง นอกเหนือจากแผนรับมือน้ำท่วมตามปกติ
รายงานระบุว่า สำหรับกรุงเทพฯ นั้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในตัวเมืองเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินกับฝน ตกชุกตามพื้นที่ระบายน้ำหลักทั่วเมือง ดังนั้นกรุงเทพฯ ต้องปรับปรุงมาตรการควบคุมการดึงน้ำบาดาลมาใช้ ปรับปรุงระบบพยากรณ์น้ำท่วม ยกแนวเขื่อนสูงขึ้น และลงทุนเพิ่มขีดความสามารถของโรงงานสูบน้ำ
รายงานระบุด้วยว่า ภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลหนุนสูงและคลื่นพายุซัดฝั่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ คิด แต่ก็จำเป็นต้องลงทุนป้องกันพื้นที่แนวชายฝั่งและจัดการการใช้ที่ดินด้วย กรอบคิดระยะยาว
ขณะที่ผลกระทบต่อกรุงมะนิลาอาจสร้างความเสียหายถึงเกือบ 1 ใน 4 ของจีดีพี ส่วนโฮจิมินห์คาดว่าประชากรที่ได้รับผลกระทบจะเพิ่มจาก 26% เป็น 60% ในปี 2593
นายกฯคาดน้ำท่วมเสียหายหมื่นล้าน ห่วงเงินช่วยเหลือรั่วไหล
อภิสิทธิ์ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมคาดเสียหาย 1 หมื่นล้านบาทหรือมากกว่า ยอมรับเป็นห่วงเงินช่วยเหลือรั่วไหล เร่งหาแนวทางเร่งจ่ายเงินให้ผู้ประสบภัย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินการของรัฐบาลต่อไปคงจะมีการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ โดยคาดว่าจะเสียหาย 1 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่า ส่วนกระทบจีดีพีเท่าไรนั้นจะประเมินอีกครั้งหนึ่ง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ที่น้ำเริ่มลดแล้วได้ให้มีการ สำรวจอยู่ว่าจะช่วยเหลืออย่างไร
ขณะที่การช่วยเหลือที่หลายฝ่ายท้วงติงว่าล่าช้านั้น คนทำงานทุกคนยอมรับว่าไม่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็ขอให้ติดต่อสื่อสารมา เพราะมีระบบอยู่ในพี้นที่สามารถจะแก้ไขจุดบกพร่องหรือช่องว่างได้ ส่วนจะดูแลอย่างไรให้งบประมาณไปทั่วประชาชนถึงทุกพื้นที่โดยไม่มีการทุจริต นั้น เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ต้องติดตาม
"ผมก็มีความเป็นห่วงในเรื่องเงินช่วยเหลือรั่วไหล เพราะพูดตรงๆที่ผ่านมาก็มีการสอบสวนว่ามีการรั่วไหล ฉะนั้นครั้งนี้จะต้องไม่ให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเรากังวลตรงนี้จะทำให้ความช่วยเหลือไปไม่ถึงมือประชาชนได้ ดังนั้นต้องพยายามทำให้ได้ ผมก็ย้ำเจ้าหน้าที่อยู่ โดยจะใช้การสอบถามกับเจ้าหน้าที่ เช่น ถ้าจะใช้วิธีการชดเชยเร็วซึ่งจะเป็นแนวทางที่คณะรัฐนตรี(ครม.)สนับสนุนนาย อภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ภาพรวมในการช่วยเหลือคงยังพูดไม่ได้ เพราะพื้นที่เมืองก็แบบหนึ่ง ส่วนพื้นที่ชนบทก็อีกแบบหนึ่ง บางจังหวัดก็น้ำท่วมขัง บางจังหวัดน้ำก็ไปเร็วมาเร็ว ดังนั้นต้องระมัดระวังอย่าไปพูดอะไรรวมๆเพราะจะเกิดความเข้าใจผิด
ส่วนในการประชุม ครม.วันที่ 26 ต.ค.นี้ ก็จะมีการอนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มเติม แต่คงไม่ใช่เป็นลักษณะวงเงินงบประมาณที่จะดูปัญหาเฉพาะ แต่จะดูการเรื่องเกณฑ์การชดเชย ซึ่งจะมีการผ่อนคลายทั้งหมด โดยประเมินตัวเลขความเสียหายทั้งหมด และกำหนดวงเงินคร่าวๆไม่ได้ เพราะการสำรวจความเสียหายบางพื้นที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเลย
นายกฯตั้งศูนย์ช่วยน้ำท่วม
นายกฯจัดรายการเชื่อมั่นฯลงนามตั้งศูนย์แก้น้ำท่วมแล้ว มอบสาทิตย์ประธานเยียวยาผู้ประสบภัย อภิรักษ์นั่งผอ.ศูนย์ประสานงาน เผยสถานการณ์น้ำในอีสานเริ่มคลี่คลายแต่ภาคกลางยังน่าห่วงน้ำเหนือไหลบ่า ทะเลหนุนสูง ช่วง23วันนี้
รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ วันนี้ ได้เริ่มเปิดฉาก สถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชนกรณีประสบภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ภาพการลงไปให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานราชการ และกรณีนายกรัฐมนตรีลงไปเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยตามพื้นที่ต่างๆ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสานหลายจังหวัดตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เริ่มคลี่คลายสถานการณ์น้ำได้เริ่มลดระดับลงแล้ว แต่พื้นที่ภาคกลางยังน่าห่วงใยมากที่สุด เพราะยังมีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือ และในช่วง23วันข้างหน้านี้จะมีน้ำทะเลหนุนสูง หลายหน่วยงานกำลังเสริมแนวป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำเติม ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ จะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำที่จ.ปทุมธานี และจ.พระนครศรีอยุธยา
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเดินทางไปเยี่ยมเยียนผู้ประสบอุทกภัยว่า โดยส่วนตัวรู้สึกประทับใจอย่างยิ่งที่ประชาชนซึ่งประสบอุทกภัยมาคอยให้กำลัง ใจ และให้การต้อนรับตนเอง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างดี ทั้งๆ ที่ตนเองควรเป็นฝ่ายลงไปให้กำลังใจผู้ที่กำลังได้รับความเดือดร้อน
ส่วนสถานการณ์น้ำโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกในขณะนี้น้ำได้เริ่มลดระดับลงแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมีอีกหลายจังหวัดที่ต้องรับน้ำจากพื้นที่ซึ่งเคยประสบอุทกภัยก่อนหน้านี้
นายก รัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ได้ลงนามตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วม และช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยนายกฯได้มอบหมายให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกฯ เป็นผอ.ศูนย์ประสานแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และในวันที่ 26 ต.ค.นี้ กระทรวงมหาดไทย จะเสนอมาตราการต่างๆในการให้ความช่วยเหลือประชาชนต่อที่ประชุมครม.ด้วย
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งศูนย์ประสานงานและคณะกรรมการเนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากตั้ง เครือข่าย และติดตามสถานการณ์ศูนยฯจะเชื่อมกับประชาชน และเป็นศูนย์กลางในเรื่องน้ำท่วม ตลอดจนการประสานหลังน้ำลดเพื่อช่วยเหลือ.
สำหรับช่วงที่สองของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยมีผู้ว่าราชการในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมหนัก4พื้นที่ ประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครราชสีมา และชัยภูมิ รายงานสถานการณ์น้ำ การแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูหลังน้ำลดผ่านทางระบบทีวีคอนเฟอร์เรนท์ด้วย
ผู้ว่าฯวอนปชช.นอกเขื่อนกั้นน้ำอย่ารื้อถอนกระสอบทราย
ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพน้ำท่วมและแจกของยังชีพ ที่ชุมชน สันติชนสงเคราะห์ เขตบางกอกน้อย โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ได้ขอให้ประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อย่าตื่นตระหนกกับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่า เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถที่จะรองรับปริมาณน้ำได้ และที่สำคัญขอให้ประชาชน ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำอย่าได้รื้อถอนกระสอบทราย เพราะอาจจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบหลังจากที่ตนได้ทราบข่าวว่ามี ประชาชนบางพื้นที่จะรื้อถอนกระสอบทรายออกไป
ทั้งนี้ขอความร่วมมือประชาชนอย่านำกระสอบทรายออกจากแนวกั้นน้ำ ซึ่งหากต้องการขอให้ไปรับที่สำนักงานเขต โดยได้เตรียมการไว้ทั้งสิ้น 4 ล้านกระสอบ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชุมชนพร้อมมอบถุงยังชีพ และเวชภัณฑ์ให้แก่ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ เขตบางกอกน้อย ชุมชนวัดราชผาติการาม และชุมชนวัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง และน้ำเหนือที่ปล่อยจากเขื่อนพระราม 6 และเขื่อนเจ้าพระยาในปริมาณ 4,468 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในวันนี้อยู่ที่ 1.98 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และท่วมบ้านเรือนซึ่งตั้งอยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดย กทม.ยังไม่สามารถสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากยังมีประชาชนริมน้ำบางครัวเรือนไม่ยินยอมยกพื้นที่ให้ กทม.ดำเนินการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม จึงส่งผลให้ทั้งชุมชนนอกแนวป้องกันน้ำท่วมมีระดับน้ำท่วมสูงและทะลักเข้า บ้านเรือนได้รับความเสียหาย
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในวันที่ 2627 ต.ค.นี้ จะเป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด ขณะเดียวกันหากกรมชลประทานปล่อยน้ำท้ายเขื่อนในปริมาณ 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ระดับ 2.30 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่ง กทม.ยังสามารถรับมือได้เนื่องจากแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยามีความ สูง 2.50 เมตร แต่เพื่อความไม่ประมาท กทม.ได้เตรียมความพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ประจำทุกจุดเพื่อช่วยเหลือประชาชนและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ พร้อมกันนี้ได้ประสานความร่วมมือไปยังกรมเจ้าท่าแจ้งเตือนเรือหางยาวในแม่ น้ำเจ้าพระยาใช้ความระมัดระวังในการขับเรือ อีกทั้งชะลอความเร็วบริเวณบ้านเรือนที่ตั้งอยู่นอกแนวเขื่อนป้องกันด้วย เนื่องจากคลื่นน้ำขนาดใหญ่จะทะลักเข้าภายในบ้านเรือนประชาชนและได้รับความ เสียหาย