สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ในหลวงทรงห่วงน้ำท่วม

จาก โพสต์ทูเดย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 10ล้านผ่านมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดิสธร น้อมรับพระราชกระแสนำไปจัดซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ 

วันนี้(19ต.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 10 ล้านบาท ผ่านทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยทุกพื้นที่ ในขณะนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 10 ล้านบาท ผ่านทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการยังชีพ และนำไปมอบให้ถึงมือผู้ประสบอุทกภัยในทุกพื้นที่อย่างเร่งด่วน

นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ น้อมรับพระราชกระแสไปจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อนำไปมอบให้ผู้ประสบอุทกภัยทุกพื้นที่แล้ว

และบ่ายวันเดียวกันนี้ นายดิสธร วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกำหนดจะเดินทางมาตรวจเยี่ยม รพ.มหาราช  ตามพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย รพ.มหาราชนครราชสีมา ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม มีผู้ป่วยและหมอติดค้างอยู่ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก  ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดเช้าวันนี้ ระดับน้ำจากลำน้ำลำตะคองที่เอ่อเข้าท่วมในหลายพื้นที่ภายในเขตลเทศบาลนคร นครราชสีมา ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1 เมตร ไปจนถึง 2 เมตร โดยเฉพาะย่านชุมชนมิตรภาพ ซอย 4 , มิตรภาพ ซอย 6 , ชุมชนโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ และ โรงพยาบาลมหาราช ยังคงถูกน้ำท่วมขังสูงกว่า 1 เมตร 

สำหรับการแก้ไขปัญหาในการลำเลียงผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักมานานเกือบ 3 วันแล้วนั้น เบื้องต้น  รพ.เตรียมแผนอพยพผู้ป่วยหนัก 40 คน จากทั้งหมด 100 คน ไปรักษาที่ รพ.ศูนย์จังหวัดขอนแก่น โดยประสานกองบิน 1 จ.นครราชสีมา นำเครื่องบินซี 130 ลำเลียงผู้ป่วย และเช้าวันนี้ ทหารกองทัพภาค 2 จะนำเฮลิคอปเตอร์มาบินทดลองหาจุดจอดเพื่อลำเลียงผู้ป่วยออกจาก รพ.ไปส่งขึ้นเครื่องบิน เพื่อนำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่นแล้ว เนื่องจากมีรายงานว่าออกซิเจนสำรองที่มีอยู่ใกล้หมด และรถออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปภายใน รพ.ได้  ขณะเดียวกัน ห้องไฟฟ้าสำรองของ รพ.ก็เริ่มมีน้ำซึมเข้าไปท่วมขัง แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะได้พยายามป้องกันโดยการทำแนวกระสอบทรายกั้นไว้แล้วก็ตาม ทั้งนี้อธิบดีกรมชลประทาน ประเมินสถานการณ์ว่า หากไม่มีพายุลูกใหม่เข้ามาอีก น้ำจะท่วมขัง รพ.ประมาณ 10 - 15 วัน แต่หากได้รับผลกระทบจากพายุลูกใหม่ ซึ่งจะเข้ามาประมาณวันที่ 23 - 24 ต.ค. รพ.จะเผชิญปัญหาน้ำท่วมยาวนาน ถึง 1 เดือน
 
สรุปสถานการณ์อุทกภัยใน พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ล่าสุด มีพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 21 อำเภอ 131 ตำบล 1,127 หมู่บ้าน โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดยังคงอยู่ในพื้นที่ อ.เมือง โดยมีพื้นที่ประสบภัยรวม 13 ตำบล 91 หมู่บ้าน , อำเภอปักธงชัย มีพื้นที่ประสบภัย 16 ตำบล 156 หมู่บ้าน และ อำเภอโนนสูง 16 ตำบล 195 หมู่บ้าน ขณะที่รายงานยืนยันล่าสุด มีผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัยครั้งนี้ จำนวน 2 ราย ในพื้นที่ อ.ชุมพวง และสูญหายอีก 1 ราย ที่อำเภอด่านขุนทด สถานการณ์ด้านคมนาคม ต้องมีการปิดการจราจรโดยสิ้นเชิง 3 จุด
 
ประกอบ ด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 204 เส้นทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา , เส้นทางการจราจรบริเวณแยกจอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา  และเส้นทางถนนทางหลวงหมายเลข 290 ทางเลี่ยงเมืองสูงเนิน - ปักธงชัย เนื่องจากมีปริมาณน้ำท่วมสูง รถยนต์ทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ ด้านระบบสาธารณูปโภคและระบบไฟฟ้า ในพื้นที่เทศบาลตำบลปักธงชัยระบบประปาได้รับความเสียหายทั้งระบบไม่สามารถ ผลิตน้ำประปาให้บริการประชาชนได้ และมีการตัดกระแสไฟฟ้า 7 จุดทั้งในเขตเทศบาลตำบลเมืองปัก และตำบลใกล้เคียง ขณะที่เขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต้องทำการตัดกระแสไฟฟ้า 10 จุด และนำระบบไฟฟ้าสำรองจากเครื่องปั่นไฟสำรองมาใช้งานแทน
 
นอกจากนี้ สถานการณ์อุทกภัยยังจะขยายวงกว้างสู่พื้นที่ด้านล่างในหลายอำเภอ โดยล่าสุดทางจังหวัดนครราชสีมา ได้ออกประกาศเตือนให้ชาวบ้านที่อยู่ติดกับลำน้ำ ในพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ และอำเภอจักราชอพยพขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง และเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมง

 

เขื่อนลำปาวทะลักเอ่อท่วมชัยภูมิแล้ว
 
เมื่อ เวลา 10.52 น. ที่ผ่านมา หลังจากนายปฤหัส วงศ์ชัยภูมิ ชลประทานจ.ชัยภูมิ ประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เขต อ.เมืองชัยภูมิ อพยพสิ่งของขึ้นที่สูง เนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งคืนบนสันเขื่อนลำปะทาว อ.แก้งคร้อ ตอนบน และเขื่อนลำปะทาว ตอนล่าง เขต อ.เมืองชัยภูมิ ซึ่งมีความจุ กว่า 66 ล้าน ลบ.ม. จนเขื่อนไม่สามารถรองรับได้ จึงทำให้น้ำล้นสันเขื่อน มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ซึ่งมีปริมาณ 91 ซม. ล่าสุดระดับน้ำล้นสันเขื่อนพุ่งสูงขึ้นที่ 1.50 เมตรแล้ว
 
จากการ ติดตามสถานการณ์และติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่มีทั้งหมด 19 จุด เพื่อระบายน้ำออกนอกเมืองขณะนี้ไม่สามารถสูบน้ำได้แล้ว เพราะระดับน้ำล้นตลิ่งและตีกลับไหลเข้าเมืองทั้งหมดแล้ว เบื้องต้นน้ำได้ไหลเข้าท่วมชุมชนกุดแคน และชุมชนหนองบ่อ ปริมาณน้ำสูง 2 เมตร เสียหาย 300 หลังคาเรือน คาดว่าอีกประมาณ 1 ชม. น้ำจะไหลเข้าท่วมภายในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ
 
ขณะนี้ทางเทศบาลเมือง ชัยภูมิได้นำรถบรรทุก 10 ล้อ มารอรับผู้ป่วยที่จะเดินทางมารับการรักษา ที่บริเวณหน้าจวนผู้ว่าราชการ จ.ชัยภูมิ ถนนบรรณาการ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ เนื่องจากถนนหน้า รพ.ชัยภูมิถูกน้ำท่วมสูงถึง 1 เมตร ทำให้ยานพาหนะขนาดเล็กไม่สามารถขนผู้ป่วยเข้าไปรับการรักษาใน รพ.ได้
 
ขณะ ที่ด้านสถานการณ์น้ำบนเขื่อนจุฬาภรณ์ อ.คอนสาร ที่มีความจุกว่า 188 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมีระดับน้ำล้นสันเขื่อนสูงกว่า 1 .50 เมตร ด้วยเช่นกัน ขณะนี้ทางเขื่อนเร่งระบายน้ำออก ส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมเขต อ.คอนสาร, เกษตรสมบูรณ์, ภูเขียว และอ.บ้านแท่น และคาดว่าจะไหลเข้าท่วมอำเภอใกล้เคียงใน จ.ขอนแก่นภายใน 2-3 วันนี้
 
ขณะ นี้น้ำที่เอ่อท่วมได้ขยายออกเป็นวงกว้าง ทำให้ถนนสายหลักทางเข้าอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ผ่าน อ.หนองบัวแดง เข้า อ.บ้านเดื่อ น้ำท่วมถนนและพัดรุนแรง มี 1เมตร ไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ผ่านเข้า-ออกได้ ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร
 
นาย ปฤหัส  กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ในปีนี้ถือว่าหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี เนื่องจากเทียบปริมาณน้ำที่เข้าท่วม อ.เมืองชัยภูมิ ในปีนี้สูงกว่า 2 เท่า ของปีที่เคยเกินน้ำท่วมใหญ่ในตัวเมือง มีปริมาณน้ำเข้ารวมกว่า 400 ล้าน ลบ.ม.และเกิดการท่วมขังนานกว่า 2 เดือน แต่ปี 2553 เทียบปริมาณน้ำที่ไหลเข้าท่วมมีมากกว่า 800 ล้าน ลบ.ม. เฉลี่ยปริมาณน้ำจากส่วนเขื่อนลำปะทาวที่จะไหลเข้าท่วม อ.เมือง ต่อวันไม่น้อยกว่า 15 ล้าน ลบ.ม.
 
โดยภาพรวมทั้ง จ.ชัยภูมิ มีแหล่งเก็บกักน้ำเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมด รวม 13 แห่ง รวมความจุทั้งหมด 340 ล้าน ลบ.ม.ขณะนี้ไม่สามารถรับน้ำได้แล้ว ซึ่งยังมีปริมาณน้ำล้นเขื่อนทั้งหมดที่จะต้องถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ จนล้นตลิ่งทั้งหมด อีกไม่น้อยกว่า 1,200 ล้าน ลบ.ม. จึงทำให้ปีนี้ในเขตพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ทั้งหมด 16 อำเภอ ต้องเตรียมรับมือน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 30 ปี อย่างเลี่ยงไม่ได้ใน 2-3 วันนี้ต่อไปจากนี้

 

อ่างเก็บน้ำ 3 แห่งศรีสะเกษล้นจ่อทะลักท่วมเมือง
 
 สถานการณ์ น้ำในจังหวัดศรีสะเกษ ขณะนี้ยังมีประมาณน้ำที่ไหลล้นขอบอ่างเก็บน้ำหลักของศรีสะเกษ ทั้ง 6 แห่ง ที่จะส่งผลกระทบต่อสภาวะน้ำท่วมศรีสะเกษ ซึ่งอ่างเก็บน้ำดังกล่าวเป็นแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งของจังหวัด ใต้เทือกเขาพนมดงรัก ฝั่งประเทศไทย อันได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยจันทร์ , อ่างเก็บน้ำห้วยตาจู. อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา, อ่างเก็บน้ำห้วยทา, อ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ และอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู ในเขตอำเภอภูสิงห์, ขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ ขณะนี้มีปริมาณน้ำล้นขอบอ่างทั้งหมด เช่น ที่อ่างเก็บน้ำห้วยตาจู น้ำล้นขอบอ่างอยู่ 50 เซนิติเมตร, อ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ น้ำล้นขอบอ่าง 48 เซนติเมตร อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา น้ำล้นขอบอ่าง 57 เซนติเมตร อ่างเก็บน้ำห้วยทา น้ำล้นขอบอ่าง 48 เซนติเมตร อ่างเก็บน้ำห้วยจันทร์ น้ำล่นขอบอ่าง 37 เซติเมตร และอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู น้ำล้นขอบอ่างอยู่ 38 เซนติเมตร ส่งผลให้น้ำไหลท่วมไร่นา บ้านเรือนเป็นบริเวณกว้าง 
                  
อย่างไรก็ดีในปริมาณ น้ำที่ล้นขอบอ่างเก็บ ส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมไร่นา เสียหายแล้วนัยแสนไร่ ไร่มันสำปะหลัง เสียหายกว่า 5 หมื่นไร่ ถนนถูกน้ำท่วม และขาดใช้การไม่ได้หลายสาย และยังหากมีฝนตกบนเทือกเขาพนมดังรัก อีกต่อไป ก็จะยังส่งผลให้น้ำป่าไหลลงมาท่วมเพิ่ม และอาจจะวิกฤติไหลเข้าท่วมตัวเมืองศรีสะเกษ ในอีก 3 - 4 นี้ อย่างแน่นอน    

 
อ่างทองอ่วมจมแล้วกว่า 400 หลังคาเรือน
 
เจ้า หน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องเร่งขนย้ายเรือท้องแบนและเรือเล็ก นำไปให้ชาวบ้านใช้ขนสิ่งของบและเครื่องอุปโภคบริโภคเข้าไปในหมู่บ้าน หลังน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมทุกพื้นที่ในเขตตำบลโผงเผง อ.ป่าโมก ระลอก 3 ตั้งแต่เมื่อสองวันที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนหลายร้อยหลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน บางจุดน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตรนอกจากนี้ที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ต.จำปาหล่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง น้ำได้ไหลเข้าท่วมเมื่อคืนที่ผ่านมาทำให้ประชาชนต้องเร่งขนย้ายสิ่งของขึ้น ที่สูงอย่างเร่งด่วน
 
ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาที่ชัยนาทยังคงระบายน้ำ ลงสู่ท้ายเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดระบายที่ 2295 ลบ.เมตร/วินาที ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง สูง 7.30 เมตร จุดวิกฤติอยู่ที่ 7.50 เมตร เหลือเพียง 20 ซม.จะถึงแนวเขื่อน ขณะที่อำเภอป่าโมก ระดับน้ำสูง 6.50 เมตร สูงกว่าจุดวิกฤติ โดยเฉพาะที่ตำบลโผงเผงสูง 7 เมตร จุดวิกฤติอยู่ที่ 6 เมตร ทำให้น้ำไหล่บ่าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้างแล้ว

ชาวบ้านหมี่เดือดร้อนหนักกว่า 700 ครอบครัว
 
น้ำ ท่วมลพบุรีขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆหลังจากน้ำในคลองชลประทานเจ้าพระยา-ป่า สัก ซึ่งเป็นคลองส่งน้ำขนาดใหญ่ไหลล้นคันคลองเข้าท่วมชุมชนนเรศวรหลายร้อยครัว เรือน ขนของหนีน้ำกันโกลาหล บางครัวเรือนไม่สามารถเอาอะไรออกมาไม่ได้เลย พื้นที่ที่ถูกน้ำไหลเข้าท่วมแบบปัจจุบันทันด่วนและชาวบ้านบอกว่าไม่ได้รับ การแจ้งเตือนมาก่อน ทั้งๆที่จุดน้ำไหลออกจากคลองนี้ เป็นช่วงที่เป็นสำนักงานฝ่ายปรับปรุงและรักษาทางชลประทานหน้าจะมีการแจ้ง เตือนให้ชาวบ้านด้วย 

ทั้งนี้ในจุดที่น้ำไหลเข้าท่วมอยู่ติดกับคลองชลประทานดังกล่าวด้วย เป็นหมู่ที่ 3 ต.ป่าตาล อ.เมือง ลพบุรี เป็นลอยติดต่อกับเทศบาลเมืองลพบุรี มีบ้านเรือนประชาชนทั้งบ้านจัดสรร และชุมชนหลายร้อยหลังคาเรือน ในส่วนถนนที่ผ่านชุมชนหรือถนนนเรศวรช่วงวงเวียนสระแก้ว-ค่าย วชิราลงกร (ค่ายป่าหวาย) นั้นขณะนี้มีน้ำไหลผ่านสูง 50 ซม. รถยนต์เล็กและรถจักรยานยนต์ไม่สามารถผ่านได้แล้ว  และในส่วนของจุดที่น้ำไหลล้นออกจากคลองนั้นยังไม่มีเจ้าหน้าที่จะหาทางแก้ไข มีแต่บางจุดได้มีรถยนต์ยกสูงของทหารในพื้นที่ได้สำรวจตามบ้านจัดสรร เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดต่อไป

นายวิจิตร ดวงสีแก้ว นายก อบต.สายห้วยแก้ว และนายสำราญ นาน้ำเชี่ยว กำนัน ต.สายห้วยแก้ว พร้อมกับชาวบ้านจำนวน 200 กว่าคน รวมกำลังพลช่วยกันปิดประตูน้ำ เนื่องจากเดิมจะมีแผ่นเหล็กและสังกะสีปิดกั้นอยู่ แต่ได้ถูกขโมยหายไป เมื่อเกิดน้ำท่วมจึงไม่มีแผ่นเหล็กสังกะสีคอยกั้นน้ำในลำคลองไว้ได้ จึงไหลเข้าท่วมบ้านเรือน สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องใน ต.สายห้วยแก้ว อ.บ้านหมี่ และลุ่มน้ำบางขาม ต.มหาสอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มากกว่า 5,000   หลังคาเรือน  ในครั้งนี้ชลประทานร่วมกับชาวบ้านสายห้วยแก้ว หมู่ 4 , 5 เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน ถ้าหากไม่มีการปิดกั้นประตูทางน้ำเข้า จะสร้างความเสียหายมหาศาลแก่ชาวนาที่มีผืนนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมี 3 – 5 พันไร่ (ราคาเฉลี่ยไร่ละ8,000 - 10,000 บาท) ประมาณ 300,000,000 – 500,000,000 บาท   
 
นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน จึงช่วยกันกั้นน้ำ โดยการวางกระสอบทรายเป็นจำนวนมากตรงทางน้ำไหล จากการสอบถาม ชาวบ้านคิดว่า ปริมาณความสูงของระดับน้ำอาจจะเพิ่มขึ้นอีก และอาจเตรียมการไม่ทันจึงรีบดำเนินการเพื่อคอยรับมือกับอุทกภัยที่จะเกิด ขึ้นกับ อ.บ้านหมี่ และ อ.ท่าวุ้ง
 
ส่วนที่ต.หนองเมือง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ชาวบ้านกว่า 700 หลังคาเรือน ไม่สามารถเก็บข้าวของได้ทันเนื่องจากน้ำได้เข้าไปตั้งแต่คืนวันที่ 17 ได้ไหลทะลักเข้าสู่ไร่นากว่า 2,000 ไร่ ระดับน้ำได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากชลประทานที่กำลังทำพนังกั้นน้ำไม่ สามารถสร้างได้ทันทำให้น้ำเข้าสู่หนองเมือง สูงกว่าระดับไร่นาถึง 3 เมตร ทำให้รถที่เคยสัญจรบางบ้านไม่สามารถเอาออกได้ทัน ซึ่งในที่ผ่านมาที่นี่แม้ว่าจะได้รับผลกระทบแต่ก็ไม่รวดเร็วขนาดนี้  ขณะนี้ทางสภากาชาดไทยได้ส่งเรือท้องแบนขนาดใหญ่เข้าไปช่วยเหลือ   ราษฏรในหมู่บ้าน 4 หมู่ คือ หมู่ที่ 1, 2 , 4 และหมู่ 6 แล้ว

สธ.เร่งขนย้ายผู้ป่วยหนัก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ได้แจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เพื่อของบประมาณจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และแก้ปัญหาโรงพยาบาลที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยให้กระทรวงสาธารณสุขไปเจราจาตัววงเงินกับสำนักงบประมาณเอง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายจากโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งได้

นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องเร่งด่วนในขณะนี้ คือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง โดยเร็ว ซึ่งจำนวนประมาณ 1,300 คน เบื้องต้นจะเร่งเคลื่อนย้ายในส่วนผู้ป่วยหนักก่อน 18 ราย จากที่เมื่อวานได้เคลื่อนย้ายแล้ว 4 คน โดยส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งนี้ในจำนวนผู้ป่วยหนักนี้เป็นผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดท่อ ซึ่งต้องเติมอ็อกซิเจนเหลวที่ขณะนี้เหลือปริมาณใช้ได้เพียง 3-4 วันเท่านั้น ในขณะที่ผู้ป่วยหนักมีประมาณร่วม 100 คน ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายสามารถลำเลียงผู้ป่วยได้ทางเรือเท่านั้น รถไม่สามารถเข้าไปได้จึงยุ่งยาก

นายจุรินทร์ กล่าวว่า นอกจากนี้ปัญหาใหญ่คือเรื่องอาหารภายในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันเรื่องของเสื้อผ้าผู้ป่วยก็เป็นปัญหาเช่นกัน เนื่องจากต้องใช้และเปลี่ยนทุกวัน เบื้องต้นแก้ไขโดยจ้างบริษัทเอกชนรับไปดำเนินการ อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้มีสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด 39 หน่วยบริการแล้ว

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการผู้ประสบภัยในทุกจังหวัดอย่างต่อ เนื่อง และเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านไปยัง จ.นครราชสีมา 3 หมื่นชุด จ.ลพบุรี 1 หมื่นชุด และจ.ราชบุรี 5,000 ชุด นอกจากนี้ได้สั่งสำรองยาสามัญประจำบ้านเพื่อนำไปแจกจ่ายชาวบ้านเพิ่มอีก 1 ล้านชุด 

สำหรับสถานการณ์จ.นครราชสีมา ประเมินระดับน้ำท่วมขังนาน 15 วัน  ปัญหาเร่งด่วนคือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอาการหนักของโรงพยาบาลมหาราช  และเครื่องมือที่ใช้ระบบไฟฟ้า ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขด้านการแพทย์ขึ้นอีก 1 ชุดในพื้นที่ประสบปัญหา โดยมีนพ.ทนงสรรค์ สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน

นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ได้สำรองรถพยาบาลพร้อมทีแพทย์จากจ.ขอนแก่น จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด จ.กาฬสินธุ์ จำนวน 30 คัน เพื่อขนย้ายผู้ป่วยหนักไปรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้จัดสำรองทีมแพทย์พยาบาลเพื่อออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อีกประมาณ 10 ทีม

ด้าน พญ.สุวรรณี ตั้งวีระพงษ์ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวว่า ขณะนี้เหลือผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1,000 ราย เป็นผู้ป่วยหนัก 90 ราย โดยเตรียมส่งไปโรงพยาบาลอื่น 17 ราย ประกอบด้วย ที่โรงพยาบาลขอนแก่น 13 ราย และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี 4 ราย ทั้งนี้ยังไม่มีผู้ป่วยในรายใหม่เพิ่ม

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ประชาชนกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้พิการ เด็กเล็ก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ขอให้รับประทานยาหรือฉีดยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้ หากยาหรืออินซูลินหมดให้แจ้งอสม.เพื่อประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขขอยาเพิ่ม และหากอาการกำเริบให้โทรปรึกษาได้ที่หมายเลข 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ผู้ป่วยเบาหวานให้ดูแลความสะอาดของเท้าเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดแผลและติดเชื้อจะลุกลามในภายหลัง โดยควรหลีกเลี่ยงการลุยน้ำย่ำน้ำท่วม ส่วนผู้ที่ต้องเก็บอินซูลินไว้ในตู้เย็นก็สามารถเก็บอินซูลินไว้ในห้องปกติ ได้

Tags :

view