สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พืชผัก 16 ชนิด...ห้ามส่งออก

จาก วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

เรื่องเล่าจากสองข้างทาง

พรศักดิ์ พงศาปาน

พืชผัก 16 ชนิด...ห้ามส่งออก

ท่าน ที่ได้ติดตามข่าวสารวงการเกษตรบ้านเรา คงจะร้อนๆ หนาวๆ ไปตามกัน เพราะว่าเมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมาหยกๆ Submitted by info on Fri, 07/01/2011 - 13:22 คุณจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ออกมาบอกว่า จะมีการออกประกาศระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชผัก 16 ชนิด ที่จะส่งออกไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีสมาชิก 27 ประเทศ ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาการถูกตรวจพบสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ และศัตรูพืชกักกันจาก อียู อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามไปถึงขั้นที่ อียู จะออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยอย่างเด็ดขาด...

ข่าว นี้ถูกแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว สร้างความงุนงนให้กับบรรดาผู้ส่งออก และโดยเฉพาะเกษตรกรได้รับผลกระทบโดยตรง ยิ่งเมื่อลงไปดูว่าพืชผักชนิดไหนที่ถูกระงับส่งออกครั้งนี้ ก็พบว่า เป็นพืชผักแบบไทยๆ หรือพืชผักสมุนไพรที่เราใช้ทำกับข้าวกับปลาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน...มันน่า เศร้าจริงๆ

กะเพราเอย โหระพาเอย แมงลักเอย ยี่หร่าเอย...

ตาม มาด้วย พริกหยวก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือเหลือง มะเขือขาว มะเขือขื่น มะระจีน มะระขี้นก และผักชีฝรั่ง

ใน ข่าวเดียวกันนี้ ยังได้อ้างความคิดเห็นของ คุณพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่บอกว่า ไม่เห็นด้วยที่จะประกาศห้ามส่งออก และเตรียมจะหารือ คุณธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้ทบทวนและยกเลิกการออกประกาศดังกล่าว เพราะจะกระทบการส่งออกเครื่องเทศและสมุนไพรของไทย ทั้งภาพพจน์และมูลค่าการส่งออก ที่ขยายตัวปีละ 15-20% โดย 11 เดือนแรกของปี 2553 เฉพาะเครื่องเทศและสมุนไพร ที่ส่งออกไป อียู มีมูลค่า 356.1 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้งกระทบผู้ประกอบการส่งออกและเกษตรกรผู้เพาะปลูก และแผนการผลักดันอาหารไทยในต่างแดน โดยใน อียู มีร้านอาหารไทยหลายพันแห่ง และกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น หากไม่มีสินค้านำเข้าจากไทย จะเกิดปัญหาทันที

ผมได้อ่านข่าวชิ้นนี้แล้วก็บอกกับตัวเองว่า เอาอีกแล้วหรือ เพราะว่าเป็นข่าวที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ไม่มีมาตรการแก้ไขให้จริงจังเสียที

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่าไวต่อเรื่องนี้มาก ได้จัดแถลงข่าว เรื่อง "แก้วิกฤตปัญหาห้ามส่งออกพืชผัก 16 ชนิด" เมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา...

รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บอกว่า มหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง เพราะว่ามีวิชาการความรู้มากมายที่จะนำมาบูรณาการ โดยเฉพาะเรื่องอะไรที่มีผลกระทบกับสังคม และยิ่งเป็นเกษตรกรด้วยแล้วถือว่าเป็นภารกิจหลักที่จะต้องร่วมกันแก้ไขหรือ หาทางออก หากปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังมันจะสื่อไปได้ว่าอาหารไทยมีอันตราย เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับนมปนเปื้อนของจีนที่ได้รับผลกระทบจนไม่มีใครกล้า ซื้อสินค้าจากจีน

"เรายินดีให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานทุกภาค ส่วน...เราคิดว่าควรจะมีเจ้าภาพในเรื่องนี้ ไม่ใช่ปล่อยให้ต่างคนต่างพูด มันจะลุกลามไปใหญ่" อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ย้ำ

ในงานแถลง ข่าวดังกล่าว ได้มีตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นต้นว่า คุณศุภกิจ รัตนศิริมนตรี เลขานุการสมาคมผู้ประกอบการผลิตผัก ผลไม้ไทย และผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชัชวาลอิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด บอกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่ติดไปกับพืชผัก ซึ่งไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้น และเป็นเรื่องที่ระมัดระวังได้ยาก แม้ว่าผู้เกี่ยวข้องจะติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะไทยเท่านั้น แม้แต่ใน อียู เองก็มี ส่วนในเรื่องสารปนเปื้อนนั้นก็ต้องยอมรับว่ามีการตรวจพบบ้าง แต่เป็นผู้ประกอบการน้อยรายมาก ทางภาครัฐไม่น่าจะระงับผู้ประกอบการทุกรายที่ส่งออก เพราะทำให้ได้รับผลกระทบไปทั้งวงการ...และได้เสนอแนะว่าทางภาครัฐน่าจะมีตัว แทนเจรจากับทาง อียู โดยเร่งด่วน มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน เพราะยิ่งเนิ่นนานยิ่งเสียหายมาก

ทางด้าน คุณนงนภัส รุ่งอรุณขจรเดช ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก บอกว่า เกษตรกรได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จากที่เคยมีรายได้มีตลาดที่ชัดเจนก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ไม่ทราบว่าจะเรียกร้องให้ใครช่วยเหลือดี

"เราผลิตสินค้าพืชผลทางการ เกษตรเป็นไปตามกฎระเบียบทุกอย่าง พอวันนี้เรารู้สึกไม่เป็นธรรม เพราะถูกเหมารวมไปหมดว่าคุณภาพของเราไม่ได้ ทั้งที่จริงๆ ในกลุ่มของเรากวดขันในเรื่องคุณภาพมาก แต่เราไม่สามารถควบคุมดูแลเกษตรกรทั้งหมดได้ ทางภาครัฐควรจะต้องเข้ามาดูแลให้เข้มงวดกว่านี้" คุณนงนภัส บอกอย่างหดหู่ใจ

อีกท่านหนึ่งที่มาให้ข้อมูลคือ ดร.รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน บอกว่า การระงับส่งออกพืชผัก 16 ชนิด เป็นเรื่องที่มักเกิดขึ้นได้โดยง่าย หากไม่ระมัดระวังตั้งแต่ต้นทางการผลิต ไปจนถึงมือผู้บริโภค โดยทางมหาวิทยาลัยพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและนำผลการศึกษา วิจัยที่เป็นองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อการสนับสนุนบูรณาการกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรจากแปลงตลอดระบบการผลิตต่อเนื่อง (supply chain)จนถึงมือผู้บริโภค ให้เข้าสู่ระบบคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นที่น่าเชื่อถือ ขณะนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารขึ้น ซึ่งจะเข้าไปมีบทบาทในการเป็น contact point เพื่อการประสานข้อมูลด้านการศึกษาวิจัยและฝึกอบรม ตลอดจนถ่ายทอดข้อมูลไปยังผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ

พร้อมกันนั้นได้มี ข้อเสนอแนะว่า ภาคเกษตรกรควรจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ศึกษาการผลิตตามระบบการผลิตที่ปลอดภัย ฝึกอบรมระบบการผลิตตามระบบ GAP (Q GAP, Thai GAP, Global GAP) ดำเนินการผลิต ควบคุม ติดตาม และดำเนินการตามระบบอย่างเข้มงวด

ในส่วนของภาคผู้รวบรวมผลผลิต ควรจะอบรมระบบความปลอดภัยของอาหาร ให้มีความรู้เพื่อให้ตระหนักถึงความเสี่ยง

เช่น เดียวกับบริษัทส่งออก ควรจัดซื้อ หรือหาวัตถุดิบจากแปลง GAP หรือกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตตามระบบทำความสะอาด ตัดแต่ง แปรรูปผลิตภัณฑ์เบื้องต้นตามระบบ GAP คัดบรรจุใส่ภาชนะภายใต้ระบบความปลอดภัย พนักงานได้รับการอบรมและปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนด

ปิดท้ายแถลงข่าว ด้วยคำพูดของอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บอกว่า "ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปฏิรูประบบการผลิตพืชผักและอาหารต่างๆ ให้มีความปลอดภัย ไม่ใช่ของดีๆ มีคุณภาพ ผลิตไว้เพื่อขายหรือเพื่อส่งออกเท่านั้น แต่พอผลิตกินเองในประเทศเราไม่คำนึงถึงคุณภาพเท่าไร...เราต้องเปลี่ยนวิธี คิดตรงนี้ใหม่"

ไม่อย่างนั้นแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะมาหลอกหลอนไม่มีวันสิ้นสุด

Tags : พืชผัก 16 ชนิด ห้ามส่งออก

view