จาก เดลินิวส์ออนไลน์
นัก วิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) พัฒนาวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์จากขมิ้น “เคอร์คูมินอยด์” ให้มีความเข้มข้นสูงแล้ว กักเก็บสารออกฤทธิ์ดังกล่าวในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนกับโพลิแซคคาไรด์ และทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ผงแห้ง โดยผลิตภัณฑ์ยังคงมีปริมาณและฤทธิ์ของสารเคอร์คูมินอยด์ แต่สามารถละลายน้ำได้ดี และมีความเสถียร สูงขึ้น มีสีและกลิ่นขมิ้นในระดับที่ผู้ชิมยอมรับ โดยงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากโครงการ IFRPD สร้างสรรค์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในเรื่องนี้ วิภา สุโรจนะเมธากุล นัก วิจัยฝ่ายเคมีและกายภาพอาหาร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (IFRPD) มก. เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ “ขมิ้นผง” ที่ผลิตได้ ถือเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ที่ทำจากสารสกัดขมิ้น โดยใช้โพลิแซคคาไรด์ คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส เป็นตัวกักเก็บสารออกฤทธิ์จากขมิ้นในรูปของสารประกอบ เชิงซ้อน เติมสารเพิ่มความข้นหนืด และทำให้แห้งโดยใช้ลูกกลิ้งทำแห้ง (Drum Dryer) ก่อน นำไปบดละเอียด
ซึ่งกรรมวิธีการผลิตนี้ สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ให้อยู่ในรูปผงแห้งที่มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนาน การผลิตสามารถควบคุมปริ มาณเคอร์คูมินอยด์ ซึ่งเป็นสารออก ฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการ ละลายน้ำได้ดีให้สีเหลืองสดใส สารละลายมีความเสถียรสามารถควบคุมปริมาณสารออกฤทธิ์ให้อยู่ในระดับที่ต้อง การได้ นอกจากนี้การทำผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปของผงแห้งที่ไม่เกาะตัวกัน จะช่วยให้การนำไปใช้สะดวกยิ่งขึ้น
วิภา กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ขมิ้นผง สามารถนำไปใช้ต่อยอดโดยเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นของเครื่องดื่มสุขภาพอื่นที่ หลากหลาย เช่น ชาขมิ้นกึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มจากสารสกัดขมิ้นผสมคอลลาเจน และเครื่องดื่มจากสารสกัดขมิ้นปรุงแต่งกลิ่นส้ม น้ำผลไม้เสริมเคอร์คูมินอยด์ เป็นต้น หรือนำไปใช้เคลือบหรือผสมในอาหารอื่นเพื่อการผลิตอาหารเสริมสุขภาพ อีกทั้งเป็นการเปิดช่องทางการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ สอดคล้องกับสภาวะสังคมปัจจุบันที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและนิยมที่ จะป้องกัน บำบัด หรือลดอุบัติการณ์ของโรคโดยใช้โภชนบำบัดจากพืชสมุนไพร โดยเฉพาะขมิ้นมีสรรพคุณสำคัญ เช่น ป้องกันการอักเสบ ป้องกันมะเร็ง มีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิเดนท์ ลดปริมาณไขมันที่ไม่ดีชนิด เอลดีเอล (LDL) และลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น