สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้ไว้รอดแน่! วิธีช่วยผู้บาดเจ็บในสถานการณ์คับขัน

จาก โพสต์ทูเดย์

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...วรรณโชค ไชยสะอาด

บ่อย ครั้งเราเห็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ นอนเเน่นิ่ง หรือส่งเสียงร้องโอดโอยด้วยความเจ็บปวด  การจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินเบื้องหน้า กลายเป็นความสับสนและเกิดคำถามมากมาย

โดยหลักสำคัญสุดที่ทีมงานกู้ภัยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนได้รับการสอนมาคือ  "FIRST , DO NO HARM !"  แปลว่า ประการแรกอย่าทำอันตรายต่อผู้ป่วย ถ้าจะเข้าไปช่วยเหลือต้องเข้าไปช่วยอย่างถูกวิธีให้ผู้ป่วยปลอดภัย  ถ้าเข้าไปช่วยไม่ถูกวิธีแล้วผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บมากกว่าเดิม   ควรอยู่เฉยๆ อย่าเข้าไปทำอะไรดีกว่า

คำถามก็คือ เเล้วพลเมืองดีอย่างเราจะทำอย่างไรต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินเบื้องหน้า...

ยิ่งแจ้งครบถ้วน ยิ่งมีโอกาสรอด

อัญวุฒิ โพธิ์อำไพ หัวหน้ารถกู้ภัยและรองหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ มูลนิธิร่วมกตัญญู  กล่าวว่า สำหรับประชาชนทั่วไป การช่วยเหลือที่เกิดประโยชน์สูงสุด คือการแจ้งเหตุแบบมีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์

"ทันที ที่พบเห็นเหตุการณ์ฉุกเฉินอุบัติเหตุขึ้น หากพลเมืองดีสามารถแจ้งรายละเอียดของข้อมูล สถานการณ์ จุดเกิดเหตุ เส้นทางการเข้าช่วยเหลือ พิกัด ซอย แยก สภาพเเวดล้อมโดยรอบ  ตลอดจนประเมินอาการบาดเจ็บของผู้ได้รับบาดเจ็บได้ด้วยจะเท่ากับเพิ่มโอกาส รอดชีวิตให้กับผู้ได้รับบาดเจ็บมากขึ้น ขณะเดียวกันการประเมินสภาพที่เกิดเหตุอย่างครบถ้วนให้กับเจ้าหน้าที่ ยังทำให้ชุดกู้ภัยสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์เข้าช่วยเหลือได้ตามระดับความเหมาะ สมด้วย ตัวอย่างเช่น หากได้รับแจ้งว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนเเรง เจ้าหน้าที่ก็จะใช้ความเร็วในการเดินทางเข้าถึงที่เกิดเหตุสูงมาก ไม่เกิน 10 นาที"

อย่างไรก็ตาม นอกจากโทรแจ้งเจ้าหน้าที่แบบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ทุกคนสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บในเบื้องต้นได้ด้วย

อัญ วุฒิ เเนะนำว่า ถ้าพลเมืองดีมีความใจกล้า เห็นผู้บาดเจ็บมีบาดเเผลเปิด เลือดไหล ท่านสามารถใช้ผ้าสะอาดหรือสำลี ที่มีอยู่ใกล้ตัว ปิดบาดเเผลหรือห้ามเลือดเอาไว้ ก็นับว่าได้สร้างประโยชน์ยิ่งในเบื้องต้น เพราะหากผู้บาดเจ็บเสียเลือดมาก อาจเกิดอาการช็อคเเละมีผลต่อเนื่องในทางลบอื่นๆได้

ส่วน อุบัติเหตุที่ไม่ได้รับการกระเเทกหรือไม่ได้มีอาการทางกระดูก พลเมืองดีสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ด้วยการเคลียร์พื้นที่โดยรอบให้เอื้อต่อการระบบหายใจและการเข้าช่วยเหลือของ เจ้าหน้าที่

"หาก ผู้ป่วยมีอาการหมดสติที่เกิดจากโรคประจำตัว และกำลังนอนอยู่ในท่าที่ไม่สะดวกต่อการหายใจ  คุณสามารถช่วยเหลือได้ด้วยการพลิกตัวหรือเปลี่ยนให้อยู่ในท่านอนตะแคง เนื่องจากเวลานอนหงาย ลิ้นปี่และหลอดลมจะถูกปิด  ต่างจากนอนตะเเคงที่ผู้ป่วยจะหายใจได้สะดวกมากขึ้น หลังจากนั้นให้เคลียร์พื้นที่โดยรอบให้สะดวกต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้า หน้าที่สำหรับอุบัติเหตุรุนเเรง ผู้ได้รับบาดเจ็บจะเริ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลงเรื่อยๆ ไปจนกระทั่งหยุดหายใจ  ซึ่งร่างกายมนุษย์ขาดออกซิเจนได้ไม่เกิน 5 นาที  หากเป็นคนที่มีความรู้ สามารถนวดหัวใจ ระหว่างรอเจ้าหน้าที่หรือรถพยาบาลมาช่วยเหลือได้ เพื่อเพิ่มโอกาสรอดของผู้ได้รับบาดเจ็บ"  

กฎเหล็กท่องไว้ "ห้ามเคลื่อนย้ายเด็ดขาด"

หัว หน้ารถกู้ภัย กล่าวว่า สำหรับเหตุการณ์อุบัติเหตุรุนเเรง พลเมืองดีห้ามขยับตัวผู้บาดเจ็บเด็ดขาด เพราะการเคลื่อนที่ของกระดูกเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะกระดูกต้นคอ อาจนำไปสู่อันตรายที่คาดไม่ถึงได้ ฉะนั้นทางที่ดีควรกันพื้นที่โดยรอบเเละโทรเเจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

"อุบัติเหตุ ที่มีการกระแทกอย่างรุนแรง ผู้บาดเจ็บจำเป็นต้องได้รับการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ ต้องใช้อุปกรณ์ประคองศรีษะขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย บล็อกคอ หลัง รวมทั้งจุดอื่นๆ ตามแต่อาการบาดเจ็บ แต่ต้องบล็อกคอทุกเคส เนื่องจากกระดูกต้นคอ เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท เชื่อมต่อไปถึงไขสันหลัง หากมีการเคลื่อนย้ายผิดวิธี จะทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บเกิดอันตรายหรือเกิดความพิการ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ เจตนาดี อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความรู้ ความสามารถด้วย เพราะความช่วยเหลือผิดๆ อาจเป็นการซ้ำเติมหรือเพิ่มโอกาสในอันตรายเเก่ผู้เจ็บป่วยได้"  

1669 เบอร์โทรฉุกเฉิน จำไว้ให้แม่น

นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)  ให้คำเเนะนำเบื้องต้นถึงการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือกำลังอยู่ระหว่างอันตราย ดังนี้

กรณีผู้ป่วยหมดสติ

“เริ่ม จากคลำชีพจร สังเกตการหายใจ ถ้าไม่หายใจ เเละไม่มีชีพจร ให้ทำการปั๊มหัวใจหรือการกู้ชีพ พร้อมกับบอกให้ผู้อื่น (ถ้ามี) เป็นผู้โทรศัพท์แจ้งเหตุผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1669 สพฉ. หรือรีบทำการเเจ้งด้วยตนเอง โดยระบุอาการความรุนเเรงของผู้ป่วยเเละสถานที่เกิดเหตุ หากพบผู้ป่วยมีเลือดออกให้ทำการห้ามเลือด ถ้าเป็นบริเวณเเขนและขา ให้ทำการรัดเหนือบาดเเผลที่เลือดออก”

กรณีผู้บาดเจ็บขยับตัวไม่ได้

“ถ้า ผู้ป่วยขยับตัวไม่ได้ อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็ดขาด ทำการแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านหมายเลข 1669 เเจ้งอาการเเละตำเเหน่งจุดเกิดเหตุ รอให้รถพยาบาลมาถึง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องทำการตามคอ ดามหลัง หรือถ้าเเขนขาได้รับอันตราย มีลักษณะบิดเบี้ยวก็ต้องดามด้วย เช่นเดียวกันกับกรณีที่ผู้บาดเจ็บติดอยู่ในรถก็อย่าเพิ่งนำตัวออกจากรถ ยกเว้นกรณีเกิดเพลิงไหม้หรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถรอได้เพราะอันตรายที่จะ อยู่ต่อไป ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง พยายามประคองให้หลังอยู่ในเเนวตรงเเละขยับเขยื้อนน้อยที่สุด”

นพ.ไพโรจน์ บอกว่า ระหว่างรอรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัย สามารถขอคำแนะนำจากสพฉ. เพื่อการดูเเลปฎิบัติช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงถ้าเป็นญาติหรือทราบข้อมูลผู้ป่วย เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลสุขภาพ อย่าง โรคประจำตัว ยาที่แพ้ ยาที่ใช้ประจำ หรือโรงพยาบาลที่เคยตรวจรักษา กรุณาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เเละคอยการประสานเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ได้ ยินเเบบนี้เเล้ว...พบเห็นหรือมีโอกาสช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บในสถานการณ์ ฉุกเฉินครั้งต่อไป หวังว่าพลเมืองดีจะจัดการกับสถานการณ์เบื้องหน้าได้ดียิ่งขึ้น


มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต



Tags : รู้ไว้รอดแน่ วิธีช่วยผู้บาดเจ็บ สถานการณ์คับขัน

view