จากประชาชาติธุรกิจ
ความพยายามผลักดันเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ โดยเน้นความเป็นเอกภาพและการทำงานในแบบบูรณาการ หลังวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 โดยรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ขึ้นรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แก้จุดอ่อนในอดีตที่หลายหน่วยงานป้องกันแก้ไขปัญหาในลักษณะต่างคนต่างทำ จึงถูกคาดหวังว่าในอนาคตหน่วยงานรัฐจะป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
เวลาผ่านไป 2 ปี แม้เมกะโปรเจ็กต์น้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อลงทุนก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
ยัง ไม่สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้ แต่เงินภาษีชาวบ้าน 1.2 แสนล้านบาทที่หมดไปกับการซ่อมสร้างถนน คันกั้นน้ำ ขุดลอกคูคลอง ประตูระบายน้ำ ฯลฯ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะเร่งด่วนปี 2555 ภายใต้การกำกับดูแลของ กบอ. ดูเหมือนสูญเปล่าหรือไม่คุ้มค่า เพราะวันนี้พื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมก็ยังคงหวาดผวา ไม่มีหลักประกันว่าจะไม่เกิดปัญหาซ้ำรอยเหมือนเดิม
มิหนำซ้ำความแปร ปรวนของสภาพภูมิอากาศ ทั้งพายุไต้ฝุ่น ไซโคลน โซนร้อน ที่มีเข้ามาเป็นระลอก ส่งผลให้ฝนตกหนักหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสานและตะวันออก จนเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมหนักสุดในรอบนับสิบปี อาคารบ้านเรือน ชุมชน ที่ทำการเกษตร พื้นที่เศรษฐกิจได้รับความเสียหายจำนวนมาก นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะใช้วิธีแก้ปัญหา น้ำท่วมแบบเดิม ๆ เน้นตั้งรับมากกว่าทำงานในเชิงรุกแล้ว กบอ. หน่วยงานที่มีอำนาจตัดสินใจแบบ SINGLE COMMAND ในการบริหารจัดการน้ำก็แทบไม่มีบทบาทในการป้องกันแก้ไขปัญหา
ไม่ ต่างไปจากผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) และจังหวัดปริมณฑลอย่างนนทบุรี ปทุมธานี ที่กำลังถูกคนกรุงเทพฯ คนเมืองนนท์ คนปทุมฯ ตั้งคำถามถึงการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม เพราะฝนตกหนักไม่ทันไรหลายพื้นที่กลับมีน้ำท่วมขัง ถนนหลายสายอยู่ในสภาพน้ำเจิ่งนอง การจราจรวิกฤต
ทั้ง ๆ ที่เพิ่งใช้งบฯ ขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ำไม่นาน แถมพยายามตอกย้ำให้ชาวบ้านมั่นใจว่ามาตรการป้องกันที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เพียงพอจะรองรับไม่แปลกที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
โดย เฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งเดิมถูกมองว่าเป็นพื้นที่ปลอดอุทกภัยลดฮวบลงหลังน้ำท่วมเกิดขึ้นเหนือ ความคาดหมาย จากฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่อง ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาทางออก ฟื้นความเชื่อมั่นนักธุรกิจนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติกลับคืนมาให้ได้ ขณะเดียวกันต้องเร่งป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับภาคการเกษตร ปศุสัตว์ และประมงควบคู่กันไปด้วย
ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบดูแลการ บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ กบอ.ต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภารกิจป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้บรรลุเป้าหมาย
เช่นเดียวกับที่ผู้บริหาร กทม.-จังหวัดปริมณฑล ต้องระดมสรรพกำลังดำเนินการทุกวิถีทางป้องกันแก้ไข
ภัยน้ำท่วม เพื่อบรรเทาหรือยับยั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านเผชิญวิบากกรรมซ้ำซาก
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต