จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
• ปลูกเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสร้างอุตฯ สีเขียวที่สมบูรณ์แบบ • สร้างแรงกระตุ้น หนุนธุรกิจสะอาด ดึง Green Industry ระดับที่ 4 “บางจากฯ ปูนซีเมนต์นครหลวง ฟาบริเนท” มาเติมเต็มความเชื่อมั่น จากแนวโน้มการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคใน เวลานี้ ครอบคลุมอยู่ในทุกส่วนของการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าของกินของใช้ ที่อยู่อาศัย ล้วนเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคนี้ให้ตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม รวมแม้กระทั่งการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนของการเจริญเติบโตด้านสิ่งแวด ล้อมเพิ่มขึ้น การปลูกฝังให้ธุรกิจแปะป้าย “สีเขียว” หรือธุรกิจประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน กลายเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้ากล่าวถึงการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เข้าเส้นทางสายนี้ก็ดูไม่ใช่เรื่อง ง่ายดาย เนื่องจากมีการคาบเกี่ยว ทับซ้อนกับธุรกิจประเภทอื่นๆ อยู่เสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องอาศัยความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต “สินค้าสีเขียว” ที่จะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ โดยเฉพาะการเข้าสู่ “อุตสาหกรรมสีเขียว” หรือ Green Industry ที่มีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดัน |
|||||
ปลูกธรรมาภิบาลควบคู่อุตสาหกรรมสีเขียว ในระยะ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2554 ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนด “อุตสาหกรรมสีเขียว” เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน จะเห็นว่าแนวทางการดำเนินการต่างๆ สร้างแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรม มีทั้งสิทธิประโยชน์ทันที และทางอ้อม จึงไม่ใช่เพียงแค่การมอบรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติเท่านั้น แต่แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมในระยะยาวว่า อุตสาหกรรมสีเขียวจะนำให้ทำธุรกิจได้ยั่งยืนกว่าอย่างไร รวมถึงจะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากลูกค้า คู่ค้า สังคมและชุมชน สำหรับการจัดงานครั้งล่าสุด “จากธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม สู่อุตสาหกรรมสีเขียว” ดร.พสุ โลหารชุน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสถานประกอบการ นอกจากสถานประกอบจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ชุมชนและคนรอบข้างต่างคาดหวังให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการไม่สร้างปัญหาและผลกระทบทางลบที่เป็นมลภาวะต่างๆ ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การมีธรรมาภิบาลของสถานประกอบการเป็นข้อสำคัญในการต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมสี เขียว” เพราะตัวผู้ประกอบการเองที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ การปลูกฝังธรรมาภิบาลและการเปลี่ยนผ่านเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จึงเป็นแนวทางสร้างห่วงโซ่การผลิตต้นทางให้สะอาดครบ หรือกลายเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างสมบูรณ์แบบ |
|||||
เป็นยุทธศาสตร์ที่กระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้กับสถานประกอบการที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว รวมถึงเป็นแนวทางสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้ผู้ประกอบที่ได้ระดับแรกๆ มีกำลังใจในการพัฒนาต่อในระดับที่สูงขึ้น เรียกว่า เป็นการถอดบทเรียนแนวทางก้าวสู่ระดับ 4 ซึ่งตอนนี้มีด้วยกัน 30 ราย อย่างในการเสวนา “บอกเล่าเก้าสิบ ทำอย่างไรจะได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4” กระทรวง อุตสาหกรรมได้เชิญตัวแทน 3 องค์กรที่ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4 มาบอกต่อเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการทำดีต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคมต่อไป บางจากฯ ใส่ใจสวล.จากรุ่นสู่รุ่น ชูกระบวนการผลิตสะอาด จงโปรด คชภูมิ ผู้จัดการส่วนสิ่งแวดล้อม บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) เล่าว่า บางจากฯมีวัฒนธรรมองค์กรที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งได้ริเริ่มมาตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงคนแรกและถ่ายทอดแนวคิดนี้จากรุ่น สู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีนโยบายให้ดูแลสิ่งแวดล้อมมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณรอบ ๆโรงกลั่นที่มีกระบวนการผลิตอย่างสะอาด ซึ่งเป็นการดูแลตั้งแต่ต้นทาง ส่วนการสร้างบ่อบำบัดเป็นการดูแลที่ปลายทาง ปัจจุบัน บางจากฯมีการกำจัดสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ทำ Green Network เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มีแนวคิดด้านนี้และประกาศเป็นนโยบายขององค์กร ต่อพนักงานจากรุ่นสู่รุ่น โดยกระบวนการดูแลสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงานจะต้องมีใจรักสิ่งแวดล้อม และเมื่อเข้ามาทำงานก็จะปลูกฝังพนักงานว่า ต้องทำ CSRด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะมีการให้คะแนนสำหรับพนักงานด้วย เธอบอกอีกว่า ต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมว่าไม่ใช่แค่อากาศเสีย น้ำเสีย หรือปล่อยของเสียเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ซึ่งทุกคนต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน “หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นการช่วยลดต้นทุน ด้วย เพราะในทางบัญชี ตัวเลขค่ากำจัดขยะ กำจัดของเสียไปอยู่ที่ค่าโสหุ้ย แต่บางจากฯทำบัญชีแยกออกมาในเรื่องของค่ากำจัดขยะ ค่าสารเคมีในการกำจัด เมื่อเราไม่ต้องกำจัดขยะ ก็ไม่ต้องใช้สารเคมี ซึ่งถ้าทำบัญชี ก็จะเห็นว่าลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก หากไม่ต้องจ่ายเงินค่าสารเคมี” |
|||||
ยุทธพล ใจดี ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด(มหาชน) ได้เล่าว่า ปูนอินทรีย์มีการจัดตั้งหน่วยงานดูแลฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละฝ่ายจะทำตามกฎหมายกำหนดและข้อกำหนดขององค์กรที่วางไว้ คือการสร้างวัฒนธรรมสีเขียว ซึ่งเป็นเรื่องของบุคลากร โดยบางจากฯเริ่มตั้งแต่ผู้บริหารระดับบนที่ต้องมุ่งมั่นในการเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม อธิบายง่าย ๆ คือ สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง มีการวัดผลจริง ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงจะสนับสนุนทุกกิจกรรมที่พนักงานระดับล่างเสนอขึ้นมาเกี่ยว กับอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งจะสนับสนุนทั้งเงินทุนและเวลา โดยจะต้องสร้างให้หน่วยงานเล็ก ๆ รู้จักคิด เพื่อให้เกิดประโยชน์ ปูนอินทรีย์จะมีการทำงานร่วมกัน จะมีการเสนอข้อมูลทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน เพื่อสร้างจิตสำนึก มีการสื่อสาร มีความโปร่งใสในทุกกิจกรรม เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายอุตสาหกรรมสีเขียว ปัจจุบันปูนอินทรีย์ได้อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 ซึ่งผู้บริการให้นโยบายว่า จะต้องได้ระดับ 5 ซึ่งหมายถึง เครือข่ายสีเขียว ในองค์การเริ่มมีการพูดถึง Network หมายถึง ซัปพลายเออร์ คู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะมีการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว ซึ่งเราจะไปสร้างให้ลูกค้าตระหนักว่าให้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับโลกนี้ ฟาบริเนทใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งทีมอาสาสีเขียวดูแล จิรานุส คงสุข ผู้จัดการ บริษัท ฟาบริเนท จำกัด กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมทุกกระบวนการผลิต เพราะเป็นบริษัทส่งออก 100% ก่อนที่ลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าของบริษัท จะต้องตรวจเช็คก่อนเสมอว่า กระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ดังนั้น จึงมั่นใจว่า กระบวนการผลิตของบริษัททุกขั้นตอนใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน ที่ผ่านมา บริษัทจะปลูกฝังพนักงานตั้งแต่ปฐมนิเทศพนักงานใหม่ให้ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และจะบอกพนักงานตลอดเวลาในการทำงานว่าต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ การประชุมสายการผลิต การแยกขยะ ซึ่งหัวหน้าจะต้องตรวจสอบถังขยะทุกวันว่า ทิ้งขยะถูกต้องหรือไม่ เพราะจะต้องแยกขยะก่อนทิ้งทุกครั้ง จิรานุส บอกอีกว่า ในบริษัทจะมีทีมทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า “อาสาสีเขียว” ซึ่ง Concept คือ ไม่ทำร้ายโลก โลกก็ไม่ทำร้ายเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าในชุมชนไม่มีปัญหา เราจึงจะอยู่ได้ ถ้าชุมชนมีปัญหาเราก็อยู่ไม่ได้ |
|||||
"อุตสาหกรรมสีเขียว" (Green Industry) มีหลายความหมายซึ่งแตกต่างกันไปตามความรู้ความเข้าใจของนักวิชาการหรือนัก ปฏิบัติการแต่ละคน แต่โดยหลักการที่จำได้ง่าย จะต้องมีอย่างน้อย 3 องค์ประกอบต่อไปนี้ -จะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอย่างมีความรับผิดชอบ -จะต้องมีการยึด "หลักการ 3R" (Reduce, Reuse,Recycle) ทั้งในการบริหารจัดการและปรากฏชัดในวิธีปฏิบัติการต่างๆ ในองค์กร -จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของ "สังคมคาร์บอนต่ำ" (Low Carbon Society) เป็นการเลือกใช้เทคโนโลยีหรือการพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องเป็นสังคมที่มีการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับระบบนิเวศที่ สมดุลด้วย |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต