จากประชาชาติธุรกิจ
นับ ตั้งแต่ข่าวโครงการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานในอ่าวไทย หรือชอร์เบส ของบริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) สำรวจและผลิต จำกัด ในเขตพื้นที่บ้านบางสาร ต.กลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แพร่สะพัดออกไปประมาณ 5-7 ปีก่อน ได้เกิดความเคลื่อนไหวของนักอนุรักษ์ นักวิชาการเอ็นจีโอ และชาวบ้านบางกลุ่มออกมาให้ข้อมูลถึงผลกระทบต่อสาธารณชน
จนเกิดการต่อต้านคัดค้านการก่อสร้างชอร์เบส เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้วิถีชุมชนดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย รวมไปถึงผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาในระยะยาว
โดยกลุ่มผู้ต่อต้านได้ขึ้นป้ายหยุดเชฟรอน ในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และเกิดกลุ่มต่อต้านในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย อาทิ หยุดเชฟรอน, หยุดเชฟรอน ปกป้องทะเลไทย โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นแฟนเพจประมาณ 400-500 คน
ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น บริษัทเชฟรอนฯเริ่มนำโครงการซีเอสอาร์เข้าไปในจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่าง เข้มข้น ตั้งแต่ก่อนเข้าไปสร้างฐานสนับสนุนการบิน พร้อม ๆ
กับการ จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EIA) ซึ่งมีข้อกำหนดด้านหนึ่งที่บริษัทจะต้องจัดทำโครงการเพื่อช่วยลดผลกระทบใน การก่อสร้างโครงการ
โครงการเพื่อสังคมของบริษัทหลายโครงการจัดทำขึ้น ตามข้อกำหนดดังกล่าวควบคู่ไปกับการทำซีเอสอาร์ด้านอื่น ๆ ตามนโยบาย 4 ด้านของเชฟรอน ได้แก่ ด้านการศึกษา, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม,
การอนุรักษ์พลังงาน และการส่งเสริมพนักงานให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม จนแตกออกเป็นโครงการต่อเนื่องอีกหลายร้อยโครงการ
ผล เช่นนี้ เมื่อสอบถาม "หทัยรัตน์ อติชาติ" ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) สำรวจและผลิต จำกัด
เกี่ยวกับงบประมาณในการทำซีเอส อาร์ตลอด 7 ปีของบริษัท เธอกลับบอกว่า...ยังไม่เคยมีการรวบรวมงบประมาณด้านสังคมที่ใช้ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ทราบแต่เพียงตัวเลขงบประมาณบางโครงการ
อย่างเช่น โครงการจัดทำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือพีดีเอ เราใช้งบประมาณ 150 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 3 ปี (2554-2557) รวมถึงอีกหลายโครงการ
อย่าง ไรก็ตาม เคยมีผู้ประมาณการว่า เชฟรอนฯน่าจะมีการใช้งบประมาณใน จ.นครศรีธรรมราช เกือบ 1 พันล้านบาท เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงการสร้างความเชื่อใจให้เป็นที่ยอมรับแก่คนในพื้นที่
ส่วนข่าว ที่สร้างกระแสการต่อต้านให้เพิ่มขึ้น คือเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2555 สำนักงานนโยบายและแผน หรือ (สผ.) ได้ทำหนังสือเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการชอร์เบสถึงบริษัทเชฟรอนฯ โดยมี "หทัยรัตน์" ให้ข่าวว่าจะมีการวางแผนการดำเนินงานทบทวนมูลค่าการก่อสร้างและการลงทุนใน โครงการต่อไป
โดยข่าวดังกล่าวรายงานถึงการผ่าน EIA ของเชฟรอนฯ จนทำให้กลุ่มสมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ไม่พอใจ จึงยื่นหนังสือคัดค้านมติความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ต่อโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีข้อบกพร่องในข้อเท็จจริงหลายประการในรายงาน
ขณะที่บริษัทเชฟรอนฯออกมาให้ข่าว
หลาย ครั้งว่า การทำ EIA ทำด้วยความโปร่งใส และทำตามกระบวนการ ตามกฎหมายทุกขั้นตอน ทั้งยังย้ำว่า การก่อสร้างท่าเทียบเรือ ไม่ใช่ท่าเรือน้ำลึกแต่อย่างใด ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนิคมอุตสาหกรรม และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด หรือโครงการโรงไฟฟ้าของภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ
หลังจากที่ คชก.ประกาศเห็นชอบรายงานเป็นเวลาประมาณเกือบ 3 เดือน ทางบริษัทเชฟรอนฯจึงออกมาแถลงข่าว
ยุติ โครงการชอร์เบส โดยให้เหตุผลถึงความไม่คุ้มค่าของโครงการ เนื่องจากมีการจัดทำรายงาน EIA เป็นระยะเวลานานกว่า 5 ปี จึงไม่คุ้มค่า หากมีการสร้างโครงการ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงเกินไป แต่ผู้ต่อต้านบางกลุ่มยังไม่ไว้วางใจว่าทางบริษัทจะยุติโครงการก่อสร้างจริง
"ประทีป ทองเกลี้ยง" ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านกลาย ให้ความเห็นกรณีดังกล่าวว่าหลังจากมีข่าวการเห็นชอบ EIA ทำให้เกิดพลังมวลชนมาต่อต้านมากขึ้น เนื่องจากใน EIA ระบุว่าทะเลกลายเป็นทะเลร้าง ซึ่ง
ขัดกับข้อเท็จจริงที่เป็นแหล่งทำ กินของชุมชน ถึงทางเชฟรอนฯจะมีการแถลงข่าวยุติโครงการชอร์เบสแล้ว แต่กระนั้นก็ทำให้มองได้ว่าเป็นการทำเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ตัวเองหรือไม่ เนื่องจากวันแถลงข่าวมีการเชิญคนจากภาครัฐไปให้ข่าวว่าการยุติการสร้างชอร์ เบสจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
"การทำ EIA อย่างยาวนานทำให้ชาวบ้านรู้ข้อมูลมากขึ้นและไม่เชื่อว่าโครงการจะยุติจริง เพราะ สผ.ยังไม่ยกเลิกรายงาน EIA ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างเดิม ทางเชฟรอนฯได้ซื้อใจนักธุรกิจ ด้วยการเช่าพื้นที่ และถึงจะมีการยุติจริง แต่โครงการที่อ้างว่าทำเพื่อสังคม แต่อาจไปสร้างความแตกแยกให้แก่คนในพื้นที่ได้ เพราะการให้ไม่ทั่วถึง อย่างการสร้างเครื่องออกกำลังกาย มีเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างนิสัยให้ชุมชนเคยชินกับการเป็นผู้รับ และรอความช่วยเหลือ"
ท่าม กลางกระแสต่อต้านดังกล่าว "หทัยรัตน์" ได้ให้ข้อมูลเรื่องนี้ว่า ขอเน้นย้ำชัดเจนในการเลิกโครงการชอร์เบส จะไม่มีการก่อสร้างในจังหวัดใดอย่างแน่นอน และจะใช้ท่าเทียบเรือที่จังหวัดสงขลาตามเดิม แม้ว่าจะอยู่คนละแห่งกับฐานสนับสนุนการบิน ก็ไม่สร้างผลกระทบต่อการดำเนินงานแต่อย่างใด
"ส่วนโครงการซีเอสอาร์ ที่ดำเนินอยู่ใน จ.นครศรีธรรมราช มีหลายโครงการที่เป็นโครงการระยะยาว คงยังทำต่อเนื่อง เพราะถึงแม้จะไม่มีโครงการชอร์เบสแล้ว เรายังมีฐานบินอยู่ และมีพนักงานของเราหมุนเวียนอยู่ใน จ.นครศรีธรรมราช เฉลี่ย 1 หมื่นคนต่อเดือน ที่จะก่อให้เกิดผลดีกับธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยของพนักงาน และจะนำโครงการซีเอสอาร์มาที่จังหวัดสงขลามากขึ้น"
สำหรับการดูแล ความปลอดภัยและความรู้สึกพนักงานบนแท่นขุดเจาะที่ยังต้องใช้ฐานบินอยู่ใน พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปทำงานที่แท่นขุดเจาะทั้ง 8 แห่งของเชฟรอนฯที่อยู่กลางอ่าวไทย "หทัยรัตน์" บอกว่า เรื่องนี้ไม่มีผลกระทบกับพนักงาน เนื่องจากคนในพื้นที่ไม่ได้ขัดแย้งกับพนักงานของเรา และระหว่างการทำโครงการการชอร์เบส ได้มีการสื่อสารกับพนักงานเป็นระยะว่าบริษัทกำลังดำเนินการอะไร
นอกจากนี้ พนักงานยังลงไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นทาสี ซ่อมแซมโรงเรียน เขาจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
"จาก โครงการเพื่อสังคมที่เราทำไปหลายแห่งเป็นเวลาหลายปี และวันหนึ่งมีคนบางส่วนต้องออกจากพื้นที่หลังจากโครงการชอร์เบสยุติ จึงเป็นความผูกพันระยะยาวที่เรามีกับคนในพื้นที่ หลายคนรู้สึกเสียดาย แม้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างเดิม ก็รู้สึกขอบคุณที่เราหาบ้านใหม่ให้ และทำให้เขามีที่ทำกินเป็นของตัวเอง นั่นเป็นแง่มุมดี ๆ ที่ไม่ได้รับการสื่อสารออกไป"
ทั้งหมดจึงเป็นบทเรียนของการพัฒนาที่ยังคงสวนทางกับการอนุรักษ์ โดย
ซี เอสอาร์ได้ถูกนำมาใช้เป็นใบเบิกทางในการสร้างความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ แต่ขณะเดียวกัน อาจกลายเป็นดาบสองคมที่ต้องระมัดระวัง เฉพาะกับชุมชนที่มีความแข็งแรง
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต