จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
'การ ปกป้องป่า' แม้ว่าเป็นวิธีการในระดับนานาชาติที่ออกมาขับเคลื่อน โดยเฉพาะป่าเขตร้อนที่คงเหลืออยู่ แต่ถ้าหยุดการทำลายไม่ได้ย่อมจะเป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลก และก่อปัญหา “ภัยแล้ง” ที่ทวีความรุนแรงตามมา “ทำลายป่า” เหตุและผลกระทบโลกร้อน เนื่องจากต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และใช้มันเพื่อการเจริญ เติบโต แต่เมื่อต้นไม้เหี่ยวตายไปหรือถูกเผา คาร์บอนไดออกไซด์ก็ถูกปล่อยออกมาอีกครั้ง ส่วนต้นไม้ที่กำลังย่อยสลายยังผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยเหตุนี้การทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าจึงทำให้เกิดความเสีย หายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ถูกปล่อยออกมา (เช่น จากไฟป่า หรือการใช้ต้นไม้ที่ถูกตัดเป็นฟืน) พร้อมๆ กับที่จำนวนต้นไม้ที่เป็นตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ลดลง คาร์บอนไดออกไซด์ 30% ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศใน 150 ปีที่ผ่านมา คาดว่ามาจากการทำลายป่า แต่นี่ยังเป็นปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังถูกกักเก็บไว้ ในป่า ป่าสนแถบหนาวในแคนาดาและรัสเซียเพียง 2 ประเทศ เป็นตัวกักเก็บก๊าซคาร์บอนถึง 40% ของโลก |
|||||
การเปลี่ยนแปลงของระดับอุณหภูมิและปริมาณฝนอาจเป็นอันตรายต่อป่าได้ ความแห้งแล้งและไฟป่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน ไฟป่าอาจเป็นปรากฏการณ์ปกติในป่า โดยทำลายพุ่มไม้ที่หนาทึบ และเป็นส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตของพืชบางสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ป่าที่ถูกกิจกรรมมนุษย์และความแห้งแล้งคุกคามมากเกินไปทำให้ไฟป่าเผาผลาญ ทำลายได้มากขึ้น มีตัวบ่งชี้แล้วว่าป่าฝนอะเมซอนกำลังแห้งตาย อาจจะนำไปสู่ไฟป่าและการเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย ซึ่งจะมีผลโต้กลับที่อันตราย นอกจากนี้ แมลงสายพันธุ์ที่เข้ารุกรานอาจทำร้ายสภาพป่าด้วย แมลงมีบทบาทต่อระบบนิเวศของป่าสนแถบหนาว โดยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลบนพื้นดิน เป็นอาหารของนกและสัตว์เล็ก และกำจัดต้นไม้ที่เป็นโรค แต่แมลงมีแนวโน้มที่จะโจมตีป่าบ่อยขึ้นและถี่ขึ้นเนื่องจากป่าที่เจริญเติบ โตจนอยู่ตัวแล้วต้องพ่ายแพ้ต่อสภาพกดดันของป่าที่ร้อนและแห้งขึ้น สภาพอากาศที่เย็นลงช่วยควบคุมจำนวนแมลงสายพันธุ์รุกรานเอาไว้ แต่ในขณะที่ทวีปอาร์กติกร้อนขึ้น ได้ทำให้แมลงต่างถิ่นบางสายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้น |
|||||
สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ คือ การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนอย่างเหมาะสมไม่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการปลูกต้นไม้ใหม่แทนต้นไม้ทุกๆ 1 ต้นที่ถูกตัดไป ในทางตรงกันข้าม การถางป่าและการแปรสภาพป่าให้เป็นเมืองนั้นก่อผลกระทบในด้านลบสูงมาก เพราะทำให้ผืนป่าถูกทำลายและแทนที่ด้วยพื้นปูนและอาคารที่ดูดซับความร้อน เห็นได้ชัดเจนว่าการปลูกป่า การตัดไม้แบบยั่งยืน และ การปกป้องป่าโบราณ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อไม่ให้ภาวะโลกร้อนเพิ่มเร็วขึ้นไปอีก ตราบใดที่ผืนป่าเหล่านี้จะไม่ถูกทำลายในภายหลัง (โดยการตัดไม้ ไฟป่า) ในงานเสวนา เขื่อนแม่วงก์ ปัญหาหรือทางออก เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) กล่าวถึงการทำให้มีน้ำในแม่น้ำไหลได้ตลอดทั้งปี ว่าสิ่ง สำคัญที่สุด คือต้องรักษาป่าต้นน้ำเอาไว้ หากป่าต้นน้ำกลายเป็นเขื่อนไปหมด ต่อไปเราต้องรอให้ถึงหน้าฝนเท่านั้นถึงจะมีน้ำไหลออกมา และเมื่อป่าเปลี่ยนไปเป็นเขื่อนเราก็ไม่สามารถกู้ธรรมชาติได้ |
|||||
เพราะป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นสังคมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ พืช ต้นไม้น้อยใหญ่ เถาวัลย์ กลุ่มที่สอง ได้แก่ พวกจุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลง และกลุ่มที่สาม ได้แก่ สัตว์ป่า นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งของอินทรีย์สาร แร่ธาตุที่สำคัญ แหล่งต้นน้ำ ลำธาร ช่วยรักษาอุณหภูมิ ของโลก ควบคุมปริมาณน้ำฝน สร้างสภาวะสมดุลของแร่ธาตุและสารต่างๆ ป่าไม้ของประเทศไทย มีอยู่กระจัดกระจายในทั่วทุกภาค และลดปริมาณลงเรื่อยๆ ข้อสำคัญภาครัฐควรเป็นแกนหลักในการปกป้องผืนป่า ไม่ใช่ผู้ลงมือกระทำเสียเองเพื่อผลประโยชน์ตกกลับคนบางกลุ่มอย่างน่ากังขา เช่นกรณีที่ ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลก ร้อน ออกแถลงการณ์คัดค้านการแจกป่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ มีนโยบายแจกใบรับรองสิทธิ์ทำกิน (สทก.) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั่วประเทศจำนวน 2.5 ล้านไร่ ให้กับราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ทำ กิน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการช่วยเหลือคนจนให้มีที่ทำกินไม่ให้ไปบุกรุกป่าเพิ่ม ขึ้นนั้น เพราะเห็นว่านโยบายดังกล่าวเป็นเพียงเล่ห์ฉลทางการเมือง ของนักการเมืองที่รวมหัวกับข้าราชการในการ “ฟอกที่ดิน” ที่ผิดกฎหมาย ให้กลายเป็นที่ดินที่ถูกกฎหมาย ยกเว้นความผิดให้แก่ผู้ที่บุกรุกป่าเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุน นักการเมือง และ/หรือหัวคะแนนของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูง โดยเอาความยากจนของชาวบ้านมาเป็นตัวประกันเท่านั้น ศรีสุวรรณ กล่าวว่า สทก.นำไปสู่การทำลายป่าปกติให้กลายเป็นป่าเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้นเพื่อรอนโย บายประชานิยมดังกล่าว และไม่มีหลักประกันอันใดที่จะยืนยันได้ว่าที่ดินดังกล่าวเมื่อมอบให้แก่ชาว บ้านแล้วจะไม่ถูกโอนซื้อขายสิทธิไปให้นายทุน หรือนักการเมือง ฯลฯ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 66 ประกอบมาตรา 85 มาตรา 87 โดยชัดแจ้ง และยังได้กระทำความผิดเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 157 อีกด้วย เพราะปล่อยให้มีการบุกรุกที่ป่าสงวนของชาติ จนกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม โดยการออกมายอมรับในข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อสาธารณะ เพราะความไร้ประสิทธิภาพของตน ที่สำคัญจากข้อมูลการแจกที่ดินดังกล่าว ยังเอนเอียงไปแจกแต่เฉพาะในพื้นที่หาเสียงของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ย่อมชี้ชัดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 30 โดยชัดแจ้ง ทั้งนี้ หากกระทรวงทรัพยากรฯ และกรมป่าไม้ ไม่ทบทวนนโยบาย หรือการดำเนินการดังกล่าว สมาคมฯ จะร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือนักอนุรักษ์ทั่วประเทศในการฟ้องร้องเพิกถอนคำสั่ง หรือการกระทำดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป ดังกล่าวเป็นวิธีการปกป้องการทำลายป่าไม้โดยเอ็นจีโอ ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อนที่รุนแรงอันมีสาเหตุจาก มนุษย์ นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องจัดการกับสาเหตุหลักๆ ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมออกสู่บรรยากาศ รวมถึงการช่วยกันปกป้องผืนป่าโบราณด้วยการซื้อไม้ที่ได้รับการรับรองจากสภา พิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Council; FSC) และผลิตภัณฑ์ที่นำวัสดุหลังการบริโภคกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เรารักษาถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญต่อสัตว์ป่าและพรรณพืช และช่วยปกป้องภูมิอากาศในเวลาเดียวกัน |
|||||
ปัญหา : ยังพบว่ามีการตัดไม้และการเผาป่าเขตร้อน ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในอเมริกาใต้ แอฟริกา และ ในมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่มีเงินมากพอที่จะปกป้องผืนป่าเขตร้อนอันกว้างใหญ่ ทั้งที่รู้ดีกันว่าป่าเหล่านั้นช่วยรักษาความสมดุลให้สภาพภูมิอากาศโลก แต่หลายคนกลับทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกประมาณ 20% ของการปล่อยก๊าซทั่วโลกซึ่งมากกว่าก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากรถยนต์ เครื่องบิน และรถไฟของทั้งโลกรวมกัน การแก้ไข : ในพ.ศ. 2552 ผู้นำของโลกต่างเห็นพ้องต่อข้อตกลงสภาพภูมิอากาศที่แข็งแกร่งจนมีผลบังคับ ใช้ทางกฎหมายที่เป็นธรรมในการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน แต่การแก้ปัญหาให้บรรลุตามเป้าหมายนั้นยังจะต้องเกิดการปฏิวัติวิถีการใช้ ชีวิตของผู้คน รวมถึงการใช้แหล่งผลิตพลังงานทดแทน ข้อสำคัญต้องหยุดการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกซึ่งเป็นภัยคุกคามที่เรื้อรังโดย คนคอร์รัปชั่นที่มีอำนาจ |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต