จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
สภา พัฒน์เผยคนไทยส่อหนี้ท่วมหัว ชี้ 2 สาเหตุก่อหนี้เกินตัว สนองนโยบายรถคันแรก-บ้านหลังแรก พร้อมระบุหนี้เน่า 3 เดือนพุ่งปรี๊ดกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท จี้คลังเดินหน้ากองทุนเงินออมแห่งชาติ ก่อนตกอยู่ในฐานะยิ่งแก่ยิ่งจน
วันนี้ (26 พ.ย.) นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 โดยระบุว่า สถานการณ์ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเพิ่มขึ้นแต่มีความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ลด ลง ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่ายอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีมูลค่า 2.74 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20.4% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสสองและไตรมาสแรกของปี 55 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้สิทธิตามโครงการรถยนต์คันแรกและบ้านหลังแรก โดยสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 33.6% สินเชื่อเพื่อการบริโภคอื่นๆ 30.3% และสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย 10.3%
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการชำระหนี้คืนกลับลดลง เห็นได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลจากสินเชื่อเพื่อการ อุปโภคบริโภคส่วนบุคคลนั้นเพิ่มขึ้น 25.1% คิดเป็นมูลค่า 56,527 ล้านบาท หรือ 21.4% ของเอ็นพีแอลรวมทั้งหมด ขณะที่มูลค่าสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ผิดนัดชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 37.8% หรือ 7,382 ล้านบาท และสินเชื่อบัตรเครดิตที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น 11% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัวมากเกิดขึ้น และเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามโดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้มีรายได้ ปานกลาง-น้อย ที่มีแนวโน้มใช้จ่ายตามค่านิยมของสังคมหรือแรงจูงใจจากการโฆษณาขายสินค้า
“แม้ว่าแรงงานจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากนโยบายค่าแรง 300 บาท แต่กลับพบว่าแรงงานมีการออมเงินที่น้อยมาก โดยสัดส่วนการออมเงินของแรงงานล่าสุดมีเพียง 7.8% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศหรือจีดีพีเท่านั้น ขณะที่ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการออมเงินมากกว่า 50% ทั้งที่แรงงานไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะแรงงานผู้สูงอายุมากขึ้นก็ตามหรือเท่า กับว่าคนไทยแก่แล้วยังจนเหมือนเดิมขณะที่คนญี่ปุ่นแก่แล้วรวยเพราะมีการออม เงินมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องส่งสัญญาณให้นำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริง จัง พร้อมกับการส่งเสริมให้มีการออมเงินตั้งแต่วัยเด็ก โดยกระทรวงการคลังต้องทบทวนเรื่องของเงินออมแห่งชาติใหม่เพราะไม่สามารถรอ ช้าได้อีกต่อไป”
นางสุวรรณีกล่าวด้วยว่า สังคมไทยในไตรมาสที่ 3 ยังมีดัชนีความสุขลดลง ซึ่งจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ล่าสุดพบว่าความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงจาก 6.18 ในเดือน มี.ค.มาอยู่ที่ 5.79 ในเดือน ก.ย. 55 หลังจากพบว่ามีปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจในครัวเรือนที่มีค่าครองชีพสูงขึ้น ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติก็เป็นข้อ กังวลของคนไทยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต