จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ สามัญสำนึก
เพิ่งกลับจากจังหวัดสุโขทัยมาได้ไม่ถึงอาทิตย์ พบว่าเส้นทางสายหลักนครสวรรค์-พิจิตร-พิษณุโลก-สุโขทัย เกือบทุกแยกที่มีถนนสายรองตัดผ่านล้วนเต็มไปด้วยป้ายโฆษณาชวนเชื่อขนาดใหญ่ ยักษ์ ระบุชาวพิจิตร-สุโขทัย ทนน้ำท่วมไม่ไหวแล้ว พร้อมสนับสนุนรัฐบาลเร่งก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
โดยป้ายโฆษณา ดังกล่าวถูกจัดทำโดย อบต.-เทศบาล ติดไว้ทั่วบ้านทั่วเมือง เสมือนหนึ่งกำลังจะบอกกับผู้สัญจรผ่านไปมาว่า ที่น้ำท่วมสุโขทัย-พิจิตร ตั้งแต่ครั้งอดีตมาจนกระทั่งครั้งล่าสุดในปี 2554 นั้น เป็นเพราะจังหวัดนี้ไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่ไว้คอยกั้นน้ำท่วม
ในขณะที่ ตัวเขื่อนแก่งเสือเต้นจะถูกก่อสร้างกั้นแม่น้ำยมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ ยม ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยประมาณ 300 กม. ที่สำคัญพื้นที่ที่จะก่อสร้างเป็นพื้นที่ป่าสักทองขนาดใหญ่ประมาณ 24,000 ไร่ กับป่าเบญจพรรณอีกประมาณ 30,000 ไร่ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของพื้นที่ป่าเหล่านี้จะต้องถูกน้ำท่วม หรือจมไปตลาดอายุการใช้งานของเขื่อน ขึ้นอยู่กับความสูงของสันเขื่อนจะกั้นขึ้นไปกี่เมตร
แม้ว่ากรมชล ประทานจะมีข้อเสนอใหม่ในการก่อสร้างเขื่อนบนลุ่มแม่น้ำยม ด้วยการแยกการก่อสร้างเขื่อนออกเป็น 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนยมบน ห่างจากจุดก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเดิมไปทางเหนือประมาณ 25 กม. กับเขื่อนยมล่าง ห่างจากจุดเดิมไปทางใต้ประมาณ 12 กม. สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 666 ล้าน ลบ.ม. หรือน้อยกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น
แต่ ทั้ง 2 จุดก็จะส่งผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติแม่ยมอยู่ดี ที่สำคัญก็คือ ระบุการก่อสร้างเป็นเขื่อนอเนกประสงค์เพื่อแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและปัญหาภัย แล้ง
ทว่าสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศของจังหวัดสุโขทัยเป็น พื้นที่ลาด ในอดีตประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งมาตลอด เมื่อถึงฤดูน้ำ น้ำก็จะหลากขึ้นมาจากแม่น้ำยมไหลผ่านไปยังพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกต่อพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ
หมายความว่า สุโขทัยเป็นพื้นที่น้ำไหลผ่าน พิษณุโลก-พิจิตร เป็นพื้นที่รับน้ำนอง เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต
ผล การศึกษาวิจัยจำนวนมากมายในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่กรมชลประทานริเริ่มที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษาขององค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม เขื่อนแก่งเสือเต้นสามารถเยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ 8% เท่านั้น
ผลการ ศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ด้านเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน หรือผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และผลการศึกษาอีกมากมายที่บอกว่า มีทางเลือกให้กับชาวสุโขทัย-พิจิตรมากกว่าการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ปัญหาก็คือ ผลการศึกษาหรือทางเลือกอื่น ๆ เหล่านี้ถูกส่งถึงมือชาวสุโขทัยหรือไม่ ?
หรือ มันถูกลืมอยู่ในกองเอกสารประกอบรายงานที่รัฐบาลไม่ต้องการหยิกยกขึ้นมาเผย แพร่ เพราะโจทย์ของรัฐบาลชุดนี้หรือชุดที่ผ่าน ๆ มาภายใต้การผลักดันของกรมชลประทานก็คือ ประเทศไทยจะต้องมีเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือเขื่อนอะไรก็ตามกั้นแม่น้ำยม
จริง อยู่ชาวสุโขทัย หรือชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใน อ.เมือง ย่านเศรษฐกิจสำคัญ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรอบที่ผ่านมามากที่สุด
แต่ชาวบ้านร้านตลาดเหล่านี้ "เข้าถึง" ข้อมูลรอบด้าน ซึ่งแตกต่างไปจากที่รัฐบาล-ข้าราชการ กรมชลประทาน บอกให้ฟังหรือไม่
เรื่อง แบบนี้ต้องกางข้อมูลทั้ง 2 ฝั่ง เปิดให้ซักถาม และให้คนสุโขทัย-พิจิตร-พิษณุโลก ตัดสินใจอนาคตของตัวเองว่า สุดท้ายแล้วเขาต้องการเขื่อนหรือไม่
ไม่ใช่หลับหูหลับตายกป้ายเชียร์กัน และต้องการเขื่อนแก่งเสือเต้นเต็มบ้านเต็มเมืองกันแบบนี้
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน