จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ศาล รธน.จัดปาฐกถาเฉลิมพระเกียรติ “อรรถนิติ” ยกทศพิธราชธรรม พระเจ้าอยู่หัว เป็นหลักธรรมะผู้นำปกครองประเทศ ไร้ซึ่งความวุ่นวาย เปรียบไม่ต่างจากธรรมาภิบาลที่ทั่วโลกยึดถือ ชูทรงรักษาศีล ทำงานหนักเพื่อ ปชช. ไม่เคยใช้อำนาจในทางมิชอบ โดย “พระบรมฯ” ทรงนำเป็นแบบอย่าง เลขาฯ ชัยพัฒนา เสริมในหลวงไม่ยึดติดแก่อำนาจ วางแผนป้องน้ำท่วมมายาวนาน แต่รัฐไม่นำปฏิบัติ ยกไม่คิดทำผิด กม. ชี้สถานการณ์บ้านเมืองมีทางออก หากถึงที่สุดจะเรียกมาแนะเหมือนพฤษภาทมิฬ ติงการศึกษาบรรจุแบบเรียนไม่ตรงสภาพแวดล้อม ท่านทรงแนะให้ยึดเกษตร แต่ผู้นำหนุนอุตสาหกรรม ไม่ดูเรื่องอาหาร อัดใช้อะไรคิดพวกบอกพระองค์ทำเกินอำนาจ ยกสหประชาชาติเชิดชูความรู้ ทั่วโลกเล็งศึกษา จี้ ปชช.ซาบซึ้งพร้อมปฏิบัติตาม
วันนี้ (8 พ.ย.) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้จัดโครงการปาฐกถาพิเศษเฉลิมพระเกียรติ โดย นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทศพิธราชธรรม : ธรรมะสำหรับผู้นำองค์กร” ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานอย่างหนัก ดูได้จากพระราชกรณียกิจที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงาน มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชนพสกนิกรชาวไทย ตลอดการทรงงานพระองค์ทรงตั้งมั่นในหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งพระองค์มองว่าหลักทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ผู้บริหารและประชาชนสามารถนำหลักธรรมะดังกล่าวไปปฏิบัติได้เช่นกัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถแก้ความทุกข์ยากทางกาย และทางจิตใจ ของประชาชนซึ่งเห็นได้จากการพระราชทานพระบรมราชโอวาทในเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงบำเพ็ญทานครบถ้วนทั้ง 2 ประเภท ทั้งธรรมทาน วัตถุทาน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารประเทศ และพระองค์ยังทรงเคร่งครัดในการรักษาศีล โดยตลอดการผนวช ทรงบำเพ็ญศีล บำเพ็ญทาน มีเมตตาอย่างต่อเนื่อง สละความสุขส่วนพระองค์ทรงงานหนักเพื่อราษฎรโดยไม่มีวันหยุด
นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต บ้านเมืองจะอยู่ได้ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และการใช้ชีวิต อีกทั้งพระองค์ยังมีความตั้งใจ อุตสาหะ ในพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะการลงพื้นที่ทรงเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะถิ่นทุรกันดาร เพราะต้องการทราบทุกข์สุข และความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมพระราชทานความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน พระองค์ทรงปฏิบัติสิ่งใด จะทรงมุ่งมั่นมากแบบไม่มีเวลากลางวันกลางคืน ไม่มีวันเสาร์-อาทิตย์ และไม่เคยใช้อำนาจบาตรใหญ่ในการปกครองประเทศ ไม่เคยประทุษร้ายผู้อื่นเลย ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ และยึดหลักทศพิธราชธรรมาอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้จากพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ทรงตระหนักถึงสุขภาพ อนามัย ของประชาชนในประเทศว่ามีความสำคัญมากที่สุด ด้านการทหาร ทรงเข้าร่วมปฏิบัติรบต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคเหนือโดยไม่มีความ เกรงกลัวต่อภัยอันตราย
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับได้ว่าทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะของพระมหา กษัตริย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหลักธรรมะของผู้นำ ผู้ปกครอง ที่สามารถนำมาใช้ในการปกครองของประเทศ ปกครองตนเอง และปกครองสังคม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเอง และหมู่คณะได้ เพราะการที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หลักทศพิธราชธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดความสงบสุข เพราะหากในหน่วยงานใดใช้ธรรมะในการปกครอง ก็จะช่วยนำความสุขมายังหน่วยงานนั้นๆ แต่หากหน่วยงานใดไม่มีหลักธรรรมะ ก็จะเกิดความวุ่นวาย ขาดความสงบสุข อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประชาคมโลกให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลมีการเรียกร้องให้ทุก ประเทศใช้หลักนี้ในการปกครองประเทศ ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าหลักการและวิธีปฏิบัติในหลักธรรมาภิบาลนั้นไม่ ได้แตกต่างจากหลักทศพิธราชธรรม แต่เป็นเรื่องเดียวกัน โดยประเทศไทย พระมหากษัตริย์ได้ใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ก่อนที่ประชาคมโลกจะเรียกร้องหลักธรรมาภิบาลเสียอีก
จากนั้น นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายพิเศษในเรื่อง “ทศพิธราชธรรม : ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว” ความตอนหนึ่งว่า เมื่อดูตามกฎหมายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีอำนาจไม่ต่างจากประชาชนทั่วไปมากเท่าใดนัก ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งที่พระองค์ท่านทรงตรัสไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” ซึ่งคำกล่าวดังกล่าวไม่มีความหมายเชื่อมโยงถึงอำนาจเลย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทรงดูแลแผ่นดินโดยใช้ความเมตตา และความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์แบบ เช่น เมื่อเกิดปัญหาดินเสื่อมพระองค์ท่านก็หาทางแก้ไข น้ำแล้งก็หาน้ำมาให้โดยการทำฝนหลวง ส่วนปัญหาน้ำท่วมพระองค์ท่านก็เคยมีรับสั่งไว้ตั้งแต่ปี 38 ถึงแนวทางแก้ไขปัญหา แต่ไม่มีใครทำอะไรเลยจน 17 ปีผ่านไปเกิดปัญหาเมื่อปีที่ผ่านมาเลยนึกขึ้นได้ นั่นเพราะเมื่อมีพระกระแสรับสั่งคนไทยจะซาบซึ้งที่ได้เห็นพระองค์ แต่ไม่เคยมอง ไม่เคยจำไปปฏิบัติ
นายสุเมธ ยังกล่าวด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือเรื่องของทศพิธราชธรรม เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะข้อที่ 10 อวิโรธนะ การไม่ยอมทำผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งกว่าข้อกฎหมายเสียอีก เพราะเป็นการไม่ยอมกระทำผิดไม่ว่าจะทางหนึ่งทางใดก็ตาม หลายครั้งที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมือง มักมีคนโทรศัพท์มาถามตนว่า ทำไมพระองค์ไม่ออกมาทำอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อท่านทราบก็ทรงตรัสว่า ทำไม่ได้มันผิดเพราะบ้านเมืองยังมีทางออกอยู่ กฎหมายยังบังคับใช้ได้อยู่ ที่ผ่านมาพระองค์ท่านจะทรงออกมาแก้ไขปัญหาต่างๆ เมื่อกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้แล้วเท่านั้น เช่น เมื่อครั้งเกิดพฤษภาทมิฬ ก็จะทรงให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าเพื่อเตือนสติ ไม่เคยบอกชี้ว่าใครผิดใครถูก
ทั้งนี้ ตนมองว่า พระองค์มีสิทธิและหน้าที่ เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ 1.หน้าที่ในการสั่งสอน ซึ่งพระองค์ท่านได้สอดแทรกคำสอน และคำแนะนำต่างๆ ในพระราชกระแสรับสั่งเนื่องในโอกาสต่างๆ รวมถึงโครงการในพระราชดำริของประองค์ท่านและสิ่งที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติ ซึ่งสถาบันการศึกษา ในประเทศไทยไม่ได้หยิบยกมาเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนแต่กลับไปนำหลักสูตร ของต่างชาติเข้ามา ซึ่งไม่สอดคล้องกับภูมิสังคม หรือความเป็นอยู่ของคนในประเทศไทย 2.การให้คำปรึกษาแก่คนทั่วไป และ 3.เมื่อเห็นภัยอันตรายต่างๆ พระองค์ท่านจะทรงเตือน เช่นเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 พระองค์ท่านก็ทรงเตือน หรือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 พระองค์ท่านก็ทรงบอกให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุด และให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ และตนก็รู้สึกไม่เข้าใจที่มีคนออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านวิทยุชุมชน และเว็บไซต์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำเกินหน้าที่นั้นเป็นไปได้อย่างไร ใช้สมองอะไรคิด เพราะไม่ว่าจะทำโครงการใดนั้นพระองค์ท่านจะไม่ทำซ้ำซ้อนกับหน่วยงานราชการ ทั้งสิ้น และคำสอนของพระองค์ฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยน ทั้งวิถีการพัฒนาที่ชื่นชมการเกษตร แต่ผู้นำของประเทศเราก็อยากให้ประเทศไทยเป็นเสือจึงเปลี่ยนประเทศเป็นประเทศ อุตสาหกรรมโดยที่ไม่รู้ว่าทุกวันนี้โลกจะเข้าสู้ภาวะขาดแคลนอาหารจึงถือเป็น เรื่องที่น่าเสียดายเพราะในอดีตประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 7 ประเทศที่มีทรัพยากรเกินทุกด้าน หากยังเน้นการเกษตรอยู่ เมื่อของขายไม่ได้ก็ยังมีอาหารไว้กินแต่เมื่อเป็นประเทศอุตสาหกรรมเราต้องไป ง้อตลาด
“พระองค์ฯ ทรงทำทุกอย่างเพื่อรักษาแผ่นดินไว้ ทรงแก้วิกฤตปัญหาในประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ก็ขอให้คนไทยใส่ใจเรียนรู้ อย่างเพียงชื่นชมพระบารมีแล้วทำน้ำหูน้ำตาไหลอย่างเดียว ให้เอาองค์ความรู้ที่พระองค์ท่านพระราชทานไปปรับใช้ เพราะนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ยังยกย่องว่างานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่เพื่อคนไทยเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์สำหรับคนทั้งโลก และในขณะนี้ ก็มีมหาวิทยาลัยจากต่างชาติได้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอนำองค์ความรู้ไปช่วย ประเทศต่างๆ รวมถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสเสมอคือ การให้ครองสติกำจัดกิเลสให้มีแต่พอดีแล้วจะมีความสุข” นายสุเมธกล่าว
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน