จากเทคโนโลยี่ชาวบ้าน
ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ
เกษตรวิศวกรรม คิดอุปกรณ์ให้ปุ๋ยทางน้ำแบบประหยัด
สถาบัน วิจัยเกษตรวิศวกรรม เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม คือ คุณอัคคพล เสนาณรงค์ บทบาทที่สำคัญของหน่วยงานแห่งนี้คือ การวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับการผลิตพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นต้น
นอกจากงานวิจัยแล้ว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ยังมีหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ผู้ผลิตในการปรับปรุงคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย
ที่ผ่านมานั้น หน่วยงานแห่งนี้ได้มีผลงานการวิจัย ค้นคว้า เครื่องจักรกลการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง และได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกร และล่าสุดสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้เปิดตัวผลงานชิ้นใหม่ที่ชื่อว่า " อุปกรณ์ให้ปุ๋ยทางระบบน้ำแบบประหยัด"
คุณนาวี จิระชีวี วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ให้ปุ๋ยทางระบบน้ำแบบประหยัด กล่าวถึงที่มาที่ไปของการคิดค้นว่า การให้ปุ๋ยในระบบน้ำเป็นการให้ปุ๋ยที่ละลายน้ำจ่ายเข้ากับระบบให้น้ำพืชทั้ง แบบน้ำหยดหรือสปริงเกลอร์ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยสูงกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน
"ปกติ ปุ๋ยทางดินจะใส่จำนวนน้อยครั้ง และแต่ละครั้งที่ใส่มีปริมาณปุ๋ยมาก จึงมีโอกาสสูญเสียปุ๋ยไปกับการชะละลายของน้ำและถูกดูดยึดโดยดินมากกว่าการ ให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ แต่การให้ปุ๋ยทางระบบน้ำจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่จ่ายสารละลายปุ๋ยเข้าระบบ ให้น้ำ โดยเฉพาะในแปลงเพาะปลูกที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำหรือสูบน้ำโดยตรงจากบ่อบาดาล ลึก ซึ่งไม่สะดวกที่จะจ่ายสารละลายปุ๋ยเข้าทางท่อดูดของเครื่องสูบน้ำได้"
คุณ นาวี กล่าวอีกว่า การให้ปุ๋ยทางระบบน้ำมีข้อจำกัดโดยที่เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่ละลายน้ำ ได้ดี ซึ่งหาซื้อยากและมีราคาแพง มีการจัดการที่เหมาะสม เช่น การใช้อัตราจ่ายปุ๋ยที่ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่จ่ายออกจากระบบ น้ำไปสู่แปลงเพาะปลูกไม่สูงมากเกินไป และจ่ายปุ๋ยได้รวดเร็วเสร็จสิ้นการให้ปุ๋ยโดยพอมีเวลาเหลือสำหรับการให้น้ำ เพื่อล้างสารละลายปุ๋ยที่ตกค้างในระบบท่อป้องกันการอุดตันของหัวจ่ายน้ำ
จาก จุดเริ่มดังกล่าว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมได้พัฒนาอุปกรณ์ให้ปุ๋ยในระบบน้ำแบบประหยัด และมีอัตราจ่ายปุ๋ยสูง ประกอบด้วย ตัวจ่ายปุ๋ยเข้าระบบน้ำแบบท่อเวนจูรี่ ที่ใช้หลักการรีดให้น้ำฉีดผ่านหัวฉีดด้วยความเร็วสูง จนเกิดแรงดันสุญญากาศทำให้สารละลายปุ๋ยไหลเข้ามาผสมกับน้ำในระบบท่อส่งน้ำ
คุณ นาวี อธิบายเพิ่มเติมถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ดังกล่าวว่า ตัวจ่ายปุ๋ยแบบเวนจูรี่ขนาดข้อต่อ 1 นิ้ว เป็นชิ้นส่วนที่ทำจากข้อต่อพลาสติก พีอี และ พีวีซี จะต่อคร่อมกับประตูน้ำของท่อเมนส่งน้ำ จะดูดสารละลายปุ๋ยด้วยการหรี่ประตูน้ำของท่อเมนส่งน้ำ
ทั้งนี้ ตัวจ่ายปุ๋ยดังกล่าว ประดิษฐ์จากข้อต่อท่อพลาสติกของระบบน้ำที่ประกอบขึ้นเองได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายเพียง 200-300 บาท เท่านั้น
การ นำไปใช้งานนั้น จะติดตั้งได้ทั้งบริเวณทางท่อส่งน้ำของเครื่องสูบน้ำหรือติดตั้งที่ท่อส่ง น้ำบริเวณแปลงปลูกพืชที่อยู่ไกลจากเครื่องสูบน้ำได้
"เมื่อใช้งาน สารละลายปุ๋ยที่ถูกดูดเข้าตัวจ่ายปุ๋ยและจ่ายเข้าท่อเมนส่งน้ำจะต้องผ่านตัว กรองน้ำที่ความละเอียดไม่น้อยกว่า 130 ไมครอน (120 เมช) และมีอัตราการจ่ายปุ๋ยเข้าท่อน้ำสูงสุด 330-460 ลิตร ต่อชั่วโมง สำหรับท่อส่งน้ำในอัตรา 12-16 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง"
นอกจากนี้ การนำไปใช้ประโยชน์ยังสามารถประยุกต์กับการใช้ปุ๋ยเคมีเม็ดที่นำมาละลายน้ำ ได้ โดยใช้ร่วมกับชุดกรองน้ำและกรองเศษปุ๋ยในน้ำเพื่อลดปัญหาการอุดตัน ยืดอายุการใช้งานของหัวจ่ายน้ำโดยเฉพาะน้ำหยด รวมทั้งช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเมื่อเทียบกับการให้ปุ๋ยทางดิน ใช้ได้กับระบบให้น้ำทั้งแบบน้ำหยด ระบบพ่นฝอยและสปริงเกลอร์
สำหรับ ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน คุณนาวี บอกว่า สามารถใช้งานได้กับขนาดแปลงเพาะปลูกที่ส่งน้ำไม่ควรน้อยกว่า 7 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง (7,000 ลิตร ต่อชั่วโมง)
สำหรับผู้สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กลุ่มพัฒนาพื้นที่เกษตร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร. (02) 579-8519
จากน้ำมะพร้าวเหลือทิ้ง
พัฒนาเป็นแผ่นมาสก์ไบโอเซลลูโลส
แผ่น มาสก์ไบโอเซลลูโลสจากน้ำมะพร้าว เป็นผลงานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นหนึ่งผลงานวิจัยที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ภูมิใจ โดยได้มีการจัดแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
รศ.ดร. พรอนงค์ อร่ามวิทย์ หนึ่งในคณะผู้วิจัยบอกว่า แผ่นมาสก์ไบโอเซลลูโลสจากน้ำมะพร้าว เป็นการวิจัยและพัฒนาน้ำมะพร้าวแก่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตร ที่ได้จากกระบวนการผลิตกะทิและไม่ได้รับความนิยมในการนำไปบริโภค
"ประโยชน์ หลักๆ ของน้ำมะพร้าวแก่ที่เห็นชัดตอนนี้คือ การนำไปทำวุ้นมะพร้าว ของกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ซึ่งจะทำออกมาจำหน่ายกันในราคาเพียงกิโลกรัมละ 4 บาท เท่านั้น"
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ปริมาณน้ำมะพร้าวแก่นั้นมีอยู่มาก และยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ด้วย เหตุนี้จึงมีการคิดวิจัยการนำของเหลือทิ้งดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ และประสบความสำเร็จจนได้แผ่นมาสก์ไบโอเซลลูโลส ที่มีราคาต่อหน่วยนับ 1 ชิ้น ตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อยบาท และหากมีการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยผ่านผู้ผลิตเครื่องสำอางชั้นนำของโลก ราคาในท้องตลาดจะเพิ่มไปเป็นหลักพันบาททีเดียว
ผลงานการวิจัยชิ้นนี้ จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างน่าสนใจอีกด้วย
แต่ ที่น่าสนใจอีกประการคือ ความสามารถในการผลิตมาสก์ไบโอเซลลูโลสจากน้ำมะพร้าว ในโลกนี้มีเพียง 2 ประเทศ ที่ทำได้ คือไทยกับเวียดนามเท่านั้น
รศ.ดร. พรอนงค์ บอกว่า กรรมวิธีในการผลิตแผ่นมาสก์ดังกล่าว จะนำน้ำมะพร้าวแก่มาเพาะเลี้ยงด้วยจุลินทรีย์จนได้วุ้นออกมา โดยอยู่ภายใต้กรรมวิธีการผลิตที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ จึงทำให้ได้แผ่นมาสก์ที่แตกต่างจากแผ่นมาสก์ผ้าหรือกระดาษที่มีจำหน่ายกัน โดยทั่วไป
"สิ่งที่แตกต่างคือ เส้นใยมีความละเอียดและบางเบามาก ทำให้แผ่นมาสก์มีความคงตัวสูง เมื่อเวลาติดลงบนผิวหนังจะเรียบเนียนเสมือนเป็นผิวหนังชั้นที่ 2 จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำมะพร้าว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีและช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดียิ่ง ขึ้น และในการผลิตแผ่นมาสก์ที่เราคิดค้นขึ้นนั้น ยังได้มีการเพิ่มสารบำรุงผิว ได้แก่ โปรตีนกาวไหม ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้แก่ ผิวหนัง " รศ.ดร. พรอนงค์ กล่าว
คุณประโยชน์สำคัญของแผ่นมาสก์ไบโอเซลลูโลสคือ การนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้แสงเลเซอร์ในการเสริมความงาม
"คุณสมบัติ สำคัญของแผ่นมาสก์นาโนไบโอเซลลูโลสที่มีสารป้องกันการเกิดสีผิวเข้มผิดปกติ ผสมโปรตีนกาวไหม สามารถลดการเกิดความผิดปกติของผิวหลังการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ และยังช่วยบำรุงผิวที่ลึกล้ำ โดยไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถย่อยสลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์"
รศ.ดร. พรอนงค์ บอกว่า ในปัจจุบันกระแสการดูแลความงามและความใส่ใจดูแลผิวพรรณมีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำหน้าให้อ่อนวัยกว่าเดิม การทำให้ผิวขาว ใบหน้าอ่อนใสเหมือนผิวเด็ก ส่งผลให้มีการนำเครื่องเลเซอร์มาใช้งานในการดูแลรักษาผิวพรรณ
วัตถุ ประสงค์หลักในการใช้แสงเลเซอร์ดูแลผิวพรรณนั้นคือ เพื่อปรับสภาพผิวหนังให้เนียนเรียบ โดยทำให้รูขุมขนเล็กลง ทำให้สีผิวสม่ำเสมอ และลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ลบรอยเส้นเลือดฝอยและทำลายเส้นขน
แต่ผลที่ออกมานั้น ใช่ว่าจะมีแต่ความงามเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบในผู้เข้ารับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์เกือบ ทุกรายคือ อาการปวดแสบปวดร้อน การเกิดผื่นแดง และการเกิดภาวะสีผิวเข้มผิดปกติ Hyper Pigmentation
การเกิดภาวะสี ผิวเข้มผิดปกติ นับเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ที่รุนแรง ซึ่งบางครั้งอาจกลับมาเป็นซ้ำหรือรุนแรงกว่าเดิม ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยแสงเลเซอร์นี้ ส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้เข้ารับการรักษาที่มีสีผิวคล้ำ โดยเฉพาะชาวเอเชีย ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีในการแก้ปัญหาเรื่องของการเกิดภาวะสีผิวเข้มผิดปกติหลังการ รักษาด้วยแสงเลเซอร์ที่ชัดเจน
"ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยง การสัมผัสกับแสงแดดและความร้อนภายหลังการรักษาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ร่วมกับการใช้ยาที่มีสารสเตียรอยด์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว ซึ่งยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ในผู้รักษาบางรายอาจเกิดอาการแพ้สารสเตียรอยด์ร่วมได้อีกด้วย" รศ.ดร. พรอนงค์ กล่าว
รศ.ดร. พรอนงค์ กล่าวอีกว่า คุณสมบัติของแผ่นมาสก์นาโนไบโอเซลลูโลสมาสก์ไบโอเซลลูโลสจากน้ำมะพร้าว จะช่วยป้องกันการเกิดผิวสีเข้มผิดปกติหลังการรักษาผิวหน้าด้วยแสงเลเซอร์ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน รวมทั้งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง
นี่จึงเป็นอีกความน่าภาคภูมิใจของการคิดค้นวิจัยที่มาจากนักวิจัยของไทย และได้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก
เร่งสร้างเครื่องต้นแบบ
จัดชั้นคุณภาพมาตรฐานเส้นไหม
คุณ ประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผย ภายหลังพิธีรับมอบทุนสนับสนุนโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องมือต้นแบบในการตรวจ สอบเพื่อจัดชั้นคุณภาพมาตรฐานเส้นไหมไทย พบว่า เส้นไหมไทยที่ซื้อขายในตลาดยังพบเส้นไหมไทยที่มีการจัดชั้นคุณภาพมาตรฐาน น้อยมาก เนื่องจากวิธีการปฏิบัติในการจัดเกรดเส้นไหมของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระ เกียรติฯ ยังทำได้จำกัด ทำให้การออกใบรับรองคุณภาพเส้นไหมยังไม่เป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังพบว่า การตรวจสอบชั้นคุณภาพเส้นไหมไทยด้วยสายตามีข้อจำกัด คือใช้เวลาในการปฏิบัติงานมาก ขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการ มาตรฐานในการจัดขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและความชำนาญของแต่ละบุคคล เกิดความคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติงานได้สูง ทำให้ผลการจัดชั้นคุณภาพอาจไม่เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน และอาจเกิดข้อโต้แย้งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้
คุณประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมหม่อนไหม โดยสำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม จึงร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องมือต้นแบบในการตรวจสอบเพื่อจัดชั้นคุณภาพ มาตรฐานเส้นไหมไทยขึ้น
"โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาต้นแบบ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจสอบจัดชั้นคุณภาพเส้นไหมไทยที่มีความแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อให้ได้ค่ากำหนดที่เหมาะสมในการจัดชั้นคุณภาพมาตรฐานเส้นไหมไทย ซึ่งในการศึกษาวิจัยฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 766,400 บาท"
"ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยฯ นอกจากจะได้เครื่องต้นแบบในการตรวจสอบคุณภาพวิธีการและต้นแบบสำหรับใช้ตรวจ วิเคราะห์ความสม่ำเสมอของเส้นไหมที่จะช่วยในการคัดเกรดของเส้นไหมตามมาตรฐาน ไทยหรือสากล ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้แม่นยำ รวดเร็ว และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรม อันจะทำให้เส้นไหมไทยมีการจัดชั้นมาตรฐานในระบบที่สามารถตรวจวัดได้ เป็นตัวเลขค่ามาตรฐาน และได้รับการจัดชั้นคุณภาพมาตรฐานก่อนการจำหน่ายในตลาด เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้ไทยเป็นศูนย์กลางไหมหัตถกรรม และยังทำให้การจัดคุณภาพมาตรฐานเส้นไหมไทยสามารถดำเนินการได้กว้างขวาง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย" อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าว
การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ไม้,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก