จาก เทคโนโลยีชาวบ้าน
ความ ทุกข์ของพี่น้องประชาชนคนไทยในวันนี้ คงไม่มีอะไรใหญ่เท่ากับมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เริ่มตั้งแต่ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ไล่เรื่อยเรียงมาถึงภาคกลาง เรียกได้ว่าประสบความทุกข์ยากจากภัยธรรมชาติครั้งนี้กันทั่วทุกภูมิภาค
จาก สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของประเทศ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง และอื่นๆ ต่างได้รับความเสียหายจำนวนมาก
การฟื้นฟูให้เกิด ความเชื่อมั่นในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก จึงมีความจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงภาคการเกษตรของเราให้กลับคืนสภาพโดยเร็ว
จัดงานแสดงไม้ดอกไม้ประดับ
ประสานงาน แลกเปลี่ยนสายพันธุ์ เพิ่มปริมาณ
ธุรกิจ เพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ นับเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลายคนยึดทำเป็นอาชีพหลัก บางคนทำเป็นอาชีพเสริม ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เจ้าของได้อย่างน่าพอใจ แต่บางครั้งก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จได้ทุกคน
คุณอุดม ฐิติวัฒนสกุล นายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มหาอุทกภัยครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับในหลายพื้นที่ได้รับความ เสียหาย ซึ่งหากต้องฟื้นฟูคงต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับนั้นต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยง ตลอดจนการดูแลนาน กว่าจะได้รูปทรงและคุณภาพที่ต้องการ
สมาคมไม้ ประดับแห่งประเทศไทยมีแนวทางช่วยเหลือเยียวยา โดยจะออกสำรวจความเสียหายของกลุ่มสมาชิกพร้อมกับให้คำแนะนำเบื้องต้นกับ กลุ่มธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในทุกพื้นที่ ทุกภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นก็จะนำข้อมูลที่สำรวจติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายและต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งความจำนงกับทางสมาคม โดยผ่านทางจดหมาย เว็บไซต์ เฟซบุ๊กของสมาคม หรือจะโทร. ขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ของสมาคมโดยตรง
การจัดงานวันไม้ ดอกไม้ประดับของสมาคม งานพืชสวนโลก เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ งาน Horti ASIA 2012 งานเกษตรแฟร์ เป็นหนทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้เกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบ ได้มาหาซื้อและแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่ๆ กลุ่มสมาชิก พ่อค้า แม่ค้าที่มาออกร้านภายในงานเพื่อนำไปเพาะขยายพันธุ์ เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นได้เช่นกัน
ระยะเวลาการฟื้นฟูไม้ดอกไม้ประดับ คงต้องใช้เวลานานกว่า 2-3 ปี แต่อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างและปรับปรุงสวนใหม่ ซึ่งบางสวนอาจจะมีพันธุ์ใหม่เข้ามา สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
"สมาคม ไม้ประดับแห่งประเทศไทย ขอเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการทุกๆ คน อย่าได้ท้อ เราสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ มหาอุทกภัยครั้งนี้จะทำให้เราแข็งแกร่งกว่าเดิม สำหรับการผลิต ทางสมาคมขอแนะนำให้ผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด"
เกษตรกรผู้ปลูก ไม้ดอกไม้ประดับ ขอคำแนะนำและแจ้งความจำนงได้ที่ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย บ้านก้ามปู เลขที่ 5/6 ซอยสมาคมแพทย์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 หรือ ตู้ ป.ณ. 1081 ไปรษณีย์เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 โทร. (086) 512-6999 โทรสาร (02) 584-1211
เสริมคันดินรอบสวนสูง-สูบน้ำออก
อีกทางเลือก ป้องกันน้ำท่วมสวนผัก
พืช ผักสวนครัว เป็นพืชล้มลุกที่สามารถเก็บผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่หากเสียหายเพราะอุทกภัยที่เข้าถึงโดยไม่รู้ตัว ก็อาจเสียหายชนิดไม่สามารถกอบกู้กลับมาได้เช่นพืชชนิดอื่น
คุณนงค์ นุช อาภรณ์พิมล วัย 51 ปี เจ้าของไร่แสงรวี ผู้ส่งผักสวนครัวออกไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป หรือ EU ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิกถึง 27 ประเทศ
คุณ นงค์นุช เป็นเกษตรกรผู้ปลูกผักสวนครัวอีกรายที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ พื้นที่ทั้งหมด 29 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ถูกน้ำท่วมเต็มทุกพื้นที่ ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมและลดลงจนสามารถเตรียมดินและลงมือเพาะปลูกได้ใหม่ใน กลางเดือนพฤศจิกายน กินระยะเวลาประมาณ 45 วัน
ในปี 2538 เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ ไร่แสงรวีของคุณนงค์นุช ได้รับผลกระทบไปด้วย แต่ครั้งนั้นคุณนงค์นุช บอกว่า แม้จะท่วมสูงระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ตามปกติ เนื่องจากขณะนั้นทำสวนชมพู่ เมื่อน้ำท่วมพื้นที่จึงรีบเก็บผลชมพู่ซึ่งอยู่ในระยะเก็บผลนำออกขายได้ทัน ท่วงที
"อุทกภัยปีนี้ น้ำท่วมเต็มพื้นที่ 29 ไร่ ซึ่งปลูกผักสวนครัวเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ตะไคร้ กระชาย ผักชี กะเพรา และโหระพา ทั้งยังปลูกพืชอื่นหมุนเวียนร่วมด้วย เช่น กล้วยหอมทอง และอ้อย"
ระดับ ความสูงของน้ำที่ท่วมพื้นที่สวนประมาณ 70 เซนติเมตร คุณนงค์นุช แก้ปัญหาโดยนำประสบการณ์ที่เกิดอุทกภัยในปี 2538 มาเป็นต้นแบบ โดยเสริมคันดินรอบสวนให้สูงขึ้น และเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ให้พร้อม เป็นวิธีปฏิบัติที่คุณนงค์นุชคาดเดาว่าจะช่วยป้องกันน้ำไม่ให้เข้าท่วม พื้นที่สวนได้ แต่เนื่องจากปีนี้น้ำมีปริมาณมากและไหลเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว ทำให้คันดินที่เสริมให้สูงขึ้นต้านไม่อยู่
คุณนงค์นุช แนะทิ้งท้ายไว้ว่า หากน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ปลูกผักสวนครัว ควรรีบเสริมคันกั้นน้ำและสูบน้ำออกให้เร็วที่สุด เพื่อลดอัตราการตายของพืช ซึ่งครั้งนี้ไร่แสงรวีเหลือผักที่สามารถส่งขายได้เพียงชนิดเดียว คือ กระชาย อีกทั้งเมื่อน้ำลดควรทิ้งให้ดินแห้ง จากนั้นรีบเตรียมดินใหม่ เพื่อปลูกพืชผักชุดใหม่เข้าทดแทนโดยเร็วที่สุด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณนงค์นุช อาภรณ์พิมล โทร. (086) 796-0270
จี๊ด ฝรั่งแป้นสีทอง
ยืนหยัดสู้น้ำท่วมได้สบาย
คุณ สุริยนต์ บุญนำ โทร. (089) 890-4629 เจ้าของสวน "จี๊ดฝรั่งแป้นสีทอง" อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เล่าว่า ปีนี้ ตนและเพื่อนชาวสวนที่อยู่ใกล้เคียงรวมทั้งสิ้น 150 ไร่ ยังสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ได้อย่างสบาย เพราะนำประสบการณ์ที่เคยเจอน้ำท่วมใหญ่ปี 2538 ที่มีระดับน้ำท่วมสูงถึง 1 เมตร มาใช้เป็นบทเรียนในการวางแผนรับมือปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้
โดย คุณจี๊ดยอมควักเงินทุนกว่า 1.5 แสนบาท เพื่อสร้างคันกระสอบทรายป้องกันรอบสวนสูงเกือบ 2 เมตร เมื่อน้ำท่วมไหลบ่ามาในพื้นที่นครชัยศรี ระยะแรกน้ำท่วมเอ่อสูงคันกั้นเล็กน้อย ก็สามารถสูบออกนอกคันกั้นได้ จึงสามารถรักษาสวนฝรั่งให้รอดพ้นวิกฤตน้ำท่วมได้ ต้นมะม่วงอายุ 20-30 ปี ที่ปลูกท้ายสวน แม้โดนน้ำท่วมแต่ยังไม่ตาย แต่ต้นมะม่วงที่ปลูกใหม่อายุ 2-3 ปี เจอปัญหารากเน่าตายหมดเช่นเดียวกัน ส่วนพื้นที่ปลูกผัก เนื้อที่ 10 ไร่ ของคุณจี๊ด ที่อยู่นอกคันน้ำจมน้ำทั้งหมด เสียหายไปไม่น้อย แต่คุณจี๊ดก็ไม่ท้อ เพราะยังมีเพื่อนเกษตรกรอีกมากมายที่เสียหายจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้เป็น เพื่อนร่วมทุกข์
สวนมะละกอนายปรุงจมน้ำไม่เหลือ
วางแผนยกคันดิน รับมือน้ำใหม่
อีก ฟากหนึ่งในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บริเวณตำบลตากฟ้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนมะละกอนายปรุง กลับไม่โชคดีเท่ากับสวนคุณจี๊ด เพราะพื้นที่ปลูกมะละกอนายปรุงเนื้อที่ 30 ไร่ จำนวน 3 แห่ง ถูกน้ำท่วมทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายครั้งนี้กว่าล้านบาททีเดียว
คุณ ปรุง ป้อมเกิด โทร. (089) 547-1807 เจ้าของสวนมะละกอนายปรุง เล่าว่า ความจริง สวนมะละกอของตนเคยเจอปัญหาน้ำท่วมหนักในปี 2538 มาแล้ว ช่วงนั้นน้ำท่วมสูงปริ่มๆ ระดับถนน โชคดีที่ปีนั้น วางคันกั้นน้ำไว้สูง จึงสามารถรักษาสวนมะละกอให้ปลอดภัยได้ สำหรับปีนี้ได้สร้างคันกั้นน้ำสูงกว่าถนนถึง 50 เซนติเมตร แต่ก็ต้านน้ำท่วมไม่อยู่ โดยน้ำเริ่มเข้าพื้นที่สวน ในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ระดับน้ำท่วมสูงเร็วและปริมาณมาก เพียงวันเดียวระดับน้ำท่วมสูงถึงระดับคอ จึงต้องปล่อยให้น้ำไหลเข้าท่วมสวน ทำให้ต้นมะละกอตายทั้งหมด
คุณปรุง เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมได้หลังเทศกาลปีใหม่ และเตรียมวงเงิน 2 แสนบาท สำหรับกู้สวนมะละกอใหม่อีกครั้ง โดยวางแผนยกคันดินสำหรับปลูกต้นมะละกอให้สูงขึ้นกว่าในอดีต เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในอนาคต สำหรับลูกค้าขาประจำที่ชื่นชอบการบริโภคมะละกอนายปรุง ขอให้อดใจรอสักนิด เพราะกว่าจะปลูกมะละกอรุ่นใหม่ และมีผลผลิตออกขายได้คงต้องรอไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2555 นอกจากนี้ คุณปรุงยังขอให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ประสบภัยตามข้อตกลงที่เคย ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ด้วย เพียงเท่านี้คุณปรุงก็พอใจแล้ว
โครงการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร
คุณ อภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมแผนการดำเนินงานช่วยเหลือและแนวทางการฟื้นฟูเกษตรกรภายหลังน้ำลด ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยนาข้าวที่เสียหายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จะได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 10 ไร่ ในอัตรา ไร่ละ 10 กิโลกรัม
สำหรับพื้นที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และพืชผัก จะได้รับการสนับสนุนด้านเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ไม้และได้เงินช่วยเหลือสำหรับปรับพื้นที่เพาะปลูกรายละไม่เกิน 5 ไร่ ไร่ละ 400 บาท คิดเป็นมูลค่า รายละ 2,000 บาท เกษตรกรทุกรายที่ประสบภัยจะได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก/กล้าพันธุ์ผัก สำหรับปลูกพืชผักทุกครัวเรือน เพื่อเป็นอาหารและขายเป็นรายได้เสริม
ด้าน ประมง เกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลานิล พร้อมอาหารปลาทุกครัวเรือน ด้านปศุสัตว์ เกษตรกรจะได้รับชดเชยพันธุ์สัตว์ปีก เช่น ไก่พื้นเมือง ไก่ลูกผสมพื้นเมือง หรือเป็ดเทศ คละเพศ อายุ 1 เดือน พร้อมอาหารและเวชภัณฑ์ ภาชนะใส่น้ำ และตาข่าย ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ที่ได้รับความเสียหายนั้นอยู่ระหว่างจัดทำ โครงการช่วยเหลือ
ส่วนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จะได้รับการยืดอายุเวลาการชำระหนี้เก่าออกไป 3 ปี กู้ใหม่วงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท รัฐชดเชยให้ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี กรณีเกษตรกรที่เสียชีวิตจะจำหน่ายหนี้ออกโดยรัฐรับภาระชำระหนี้แทน และเตรียมจัดสรรเงินทุนในการยังชีพและซ่อมแซมทรัพย์สินของสมาชิกที่เสียหาย จากอุทกภัย รวมทั้งจัดทำโครงการแก้ปัญหาน้ำนมโคของสหกรณ์ไม่มีแหล่งจำหน่ายจากปัญหา อุทกภัยปีนี้ โดยรับซื้อนมจากสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและสนับสนุนให้สหกรณ์ติดตั้งเครื่องบรรจุนม ยูเอชที
ภายหลังน้ำลด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมช่วยเหลือเกษตรกร 4 โครงการ ได้แก่
1. โครงการพื้นฟูสุขภาพสัตว์และป้องกันโรคระบาดสัตว์
2. ผลิตเสบียงอาหารสัตว์ หญ้าแห้งและอาหารข้นเพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงสัตว์
3. ขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืด ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านตัว ต่อปี ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำยม/ลุ่มน้ำ เจ้าพระยา/ลุ่มน้ำโขง/ลุ่มน้ำท่าจีน มีอาหารในครัวเรือนและเป็นรายได้เสริม
4. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ดินถล่มจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดเชียงใหม่
นอก จากนี้ ยังมีแผนฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าจากเหตุอุทกภัย โดยใช้ สารเร่ง พด.6 นอกจากนี้ สำรวจและซ่อมแซม ระบบชลประทานในพื้นที่ 19 จังหวัด และจัดทำโครงการช่วยเหลือด้านทรัพย์สินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เสียหายจากอุทกภัยจำนวน 786 แห่ง ในพื้นที่ 30 จังหวัด
การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก