จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
|
ซังยูล แบค นักศึกษาวิศวเคมีระดับปริญญาโทและหนึ่งในทีมวิจัยโชว์แถบกาวที่ได้แรงบันดาลใจจากปุ่มดูดบนหนวดหมึก (Ed JONES / AFP) |
|
|
นักวิจัยเกาหลีพัฒนาแผ่นกาวที่ติดหนึบทั้งผิวเปียกและเปื้อนน้ำมัน ด้วยแรงบันดาลใจจาก “หนวดหมึก” ซึ่งคาดว่าจะมีศักยภาพต่อยอดในงานทางการแพทย์และอุตสาหกรรมต่อไป ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซังคยูนกวาน (Sungkyunkwan University) ในเกาหลีใต้ ติดใจในแรงดูดอันเหนียวแน่นของหนวดหมึก จนนำไปสู่การพัฒนาแผ่นกาวแบบใหม่ที่สามารถใช้งานได้ทั้งบนพื้นผิวที่เปียกและบนพื้นผิวที่เป็นน้ำมัน “2 ปีก่อนเราซื้อหมึกยักษ์จากห้างลอตเต้ แล้วเอาปุ่มดูดจากหนวดหมึกไปส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์ และวิเคราะห์ว่าปุ่มดูดนั้นทำงานอย่างไร” ซังยูล แบค (Sangyul Baik) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซังคยูนกวานบอกเอเอฟพี จากการศึกษาปุ่มดูดที่หนวดของหมึกทำให้ทีมวิจัยได้เห็นว่าพลังดูดอันน่าทึ่งนั้น เป็นผลจากก้อนกลมๆ อันเล็กๆ ที่อยู่ภายในปุ่มดูด ซึ่งเรียงกันเป็นแถวไปตามหนวดของหมึก การพัฒนาแผ่นกาวทนเปียกนี้ยังได้รับการเชิดชูจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ อีกทั้งยังเป็นผลงานที่สร้างความหวังว่าจะได้นำไปใช้งานได้สรรพัดประโยชน์ ตั้งแต่อุตสาหรรมหนักและการตกแต่งบาดแผล ด้าน ศ.จางฮยอน ปัง (Professor Changhyun Pang) สมาชิกทีมวิจัยเผยว่า ทีมวิจัยได้เลียนแบบหนวดหมึกโดยผลิตแผ่นแปะพอลิเมอร์ที่คลุมด้วยปุ่มดูดที่มีแถบดูดทรงพลัง ซึ่งทำให้แผ่นแปะพอลิเมอร์ที่มีขนาดเท่าหัวแม่มือนั้นยึดวัตถุหนักถึง 400 กรัมขึ้นจากน้ำได้ และแผ่นแปะ 1 แผ่นนั้นสามารถใช้งานซ้ำๆ ได้มากกว่า 10,000 ครั้ง แม้จะแปะและดึงออกหลายครั้งก็ไม่ทำให้สูญเสียพลังในการดูด ในรายงานทางวิชาการของทีมวิจัยที่เผยแพร่ทางวารสารเนเจอร์ (Nature) ระบุว่า แผ่นกาวที่ได้แรงบันดาลใจจากหมึกยักษ์นี้แสดงความแข็งแกร่ง มีความสามารถในการยึดติดซ้ำๆ ได้บ่อย ทั้งยึดติดกับซิลิกอน แก้ว หรือพื้นผิวหยาบๆ ที่มีหลายสภาพ ทั้งแห้ง ชื้น มีน้ำหรือน้ำมันอยู่เหนือพื้นผิว ซึ่งทีมวิจัยได้เผยคลิปสาธิตการทำงานของแผ่นแปะทั้งบนพื้นผิวแห้งและเปียก รวมถึงผิวหนังมนุษย์ด้วย สำหรับแผ่นแปะนี้ ศ.ปังระบุว่า สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการแพทย์รวมถึงใช้ประสานรอยแผล และเนื่องจากแผ่นแปะดังกล่าวไม่ได้ผสมกาวเคมีจึงไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ พร้อมทั้งเสริมว่าตอนนี้ยังไม่มีระบบกาวใดๆ ที่ยังคงการยึดติดได้ในน้ำโดยไม่ใช้สารเคมีแรงๆ โดยทีมวิจัยคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี พัฒนาผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์
|
|
ซังยูล แบค นักศึกษาวิศวเคมีระดับปริญญาโทและหนึ่งในทีมวิจัยโชว์แถบกาวที่ได้แรงบันดาลใจจากปุ่มดูดบนหนวดหมึก (Ed JONES / AFP) |
|
|
|
|
ซังยูล แบค นักศึกษาวิศวเคมี พิจารณาภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์ของแผนกาวที่ได้รับแรงบันดาลหนวดหมึก (Ed JONES / AFP) |
|
|
|
|
แผ่นกาวที่สามารถยึดติดได้ทุกพื้นผิว ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากหนวดหมึก (Ed JONES / AFP) |
|
|
|
|
แผ่นกาวที่สามารถยึดติดได้ทุกพื้นผิวแม้เปียกน้ำ (Ed JONES / AFP) |
|
|
#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox,#victorinox มือสอง,#cutting resistance glove,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต