จากประชาชาติธุรกิจ
การศึกษาของญี่ปุ่นมีความเชื่อใน "วัฒนธรรมอาบป่าสู่ร่างกาย" หรือการใกล้ชิดธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร จะเป็นการช่วยรักษาสุขภาพของเรา ซึ่งญี่ปุ่นเปิดโปรแกรมสุขภาพระดับชาติที่เรียกว่า "ชินริน-โยคุ" ในปี 1982
ชินริน-โยคุ หมายถึง การใช้เวลามากขึ้นอยู่กับต้นไม้
ไม่ต้องวิ่งเหยาะ ไม่ต้องออกกำลังกาย แต่เพียงแค่ใคร่ครวญพินิจและอยู่ใกล้ชิดกับต้นไม้
ในญี่ปุ่นได้ศึกษาทางการแพทย์และจิตวิทยาระบุถึงผลที่ได้จาก "วัฒนธรรมอาบป่าสู่ร่างกาย" ที่ไม่ใช่เพียงแค่ได้รับอากาศบริสุทธิ์เท่านั้น แต่เพราะต้นไม้ปล่อยน้ำมันตามธรรมชาติเพื่อป้องกันเชื้อโรคและแมลง ซึ่งน้ำมันจากธรรมชาตินี่เองถูกเรียกว่าเหล่าจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ผลศึกษาพบว่า"ป่า" ช่วยลดระดับการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต และช่วยลดระดับของฮอร์โมนส์ที่ส่งผลต่อความเครียดในร่างกาย
การพาร่างกายเข้าไปสู่ป่าเขาจึงช่วยลดความซึมเศร้าหดหู่และสร้างเสริมพลังงาน ซึ่งปัจจุบันในหลายเมืองสร้างชมรมเดินป่า
และป่ายังถือว่าช่วยให้เด็กๆที่มีชีวิตอยู่ในเมืองได้หนีจากสังคมเทคโนโลยีที่มีจำนวนมากขึ้น
ช่วงไหนว่างไม่เหนื่อยจนเกินไปอย่าลืมหาทางเข้าไปเดินเล่นชมธรรมชาติในป่ากัน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงาน
eosgear,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต