จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
"เลิกกันได้มั้ย เลิกใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อทะเลของเรา” งานนิทรรศการศิลปะจากขยะพลาสติก “HEART for the Ocean : บอกรักทะเล บอกเลิกพลาสติก” เมื่อช่วงวาเลนไทน์ที่ผ่านมา สะท้อนให้ทุกคนได้ตระหนัก ตื่นตัวถึงปัญหาพลาสติกที่ส่งผลต่อท้องทะเล เพียงเริ่มต้นง่ายๆ ใช้ประโยชน์พลาสติกซ้ำ อย่าใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
|
|
|
ใต้มหาสมุทรของโลก รวมท้องทะเลไทย ถูกกลืนกินด้วยคลื่นขยะ ไม่ว่าจะเป็นจากพลาสติกห่อลูกอม ถุงพลาสติก โฟม กระป๋อง ขวด หรือสิ่งของจากการอุปโภคบริโภคของเราทุกคนทุกวัน ส่วนหนึ่งเห็นจากชายหาด |
|
|
ปัจจุบันกรีซพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังรณรงค์อย่างต่อเนื่อง “ I love my Ocean ลดขยะพลาสติก คืนชีวิตให้มหาสมุทร” เป็นการรณรงค์ล่าสุดเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมโดยการร่วมบริจาค และจะมีรายงานผลผ่านทางโซเชียลมีเดีย (หลังจากที่ผู้รับข่าวสารตอบรับโดยสมัครใจเข้าร่วมปกป้องมหาสมุทรกับกรีนพีซแล้ว) เพราะเชื่อว่าความสมัครใจของทุกคนในวันนี้จะเป็นหนึ่งพลังสนับสนุนให้สามารถทำงานศึกษาวิจัย จัดทำเอกสารและกิจกรรมรณรงค์ ผลักดันในเชิงนโยบายเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
|
|
เย็บ ซาโน ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
|
|
คนไทยต้องตื่นตัว รับรู้ และมีส่วนร่วม เป็นผลสืบจากประเทศไทยเคยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะพลาสติกลงมหาสมุทรโดยนิตยสารวิทยาศาตร์‘sciencemag’ เมื่อปี 2010 เพื่อหาที่มาของขยะที่ปนเปื้อนอยู่ในมหาสมุทรของโลก และคาดการณ์ด้วยว่าอีก 10 ข้างหน้าสถานการณ์ขยะในมหาสมุทรจะหนักหน่วงขึ้น “การรณรงค์ให้ผู้บริโภคลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ต้นทางช่วยลดปัญหาขยะใต้ทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในทะเล กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงจัดกิจกรรม "Heart for the Ocean : บอกรักทะเล บอกเลิกพลาสติก" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ I Love my ocean (สร้างรักให้ทะเล)เมื่อวันที่ 14-19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อต้องการสื่อถึงคนไทยตื่นตัวต่อปัญหาขยะจำนวนมากที่ถูกทิ้งลงทะเล และรับรู้ว่านั่นเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของปัญหาขยะในทะเล ยังมีที่ซ่อนอยู่ใต้ท้องทะเล ใต้ผืนทราย หรือแม้แต่ในตัวของสัตว์น้ำ” เย็บ ซาโน ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว เขาเล่าว่า ย้อนไป 20 ปีก่อน มหาสมุทรเป็นที่หลบภัยของนักดำน้ำอย่างตน มีจุดดำน้ำสุดโปรดที่เหมือนสวนใต้น้ำ เจอปะการังหลากสี ดอกไม้ทะเล ปลาสวยงาม แต่วันนี้เมื่อกลับไปที่เดิมอีกกลับได้พบขยะมากมาย ทั้งถุงพลาสติก ผ้าอ้อมเด็ก ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ส่วนปะการังก็ถูกทำลายด้วยการตกปลาแบบใช้ระเบิดไดนาไมต์ งาน Heart for the Ocean ครั้งนี้ เกิดจากความเชื่อในพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ถ้ามาที่นี่จะได้เห็นขยะพลาสติกกลายเป็นชิ้นงานศิลปะสวยงาม ผมจึงหวังว่าเมื่อได้ซาบซึ้งกับงานศิลปะจะช่วยกันปกป้องทะเลและมหาสมุทร ลดและเลิกใช้พลาสติก "ทุกปีมนุษย์ผลิตพลาสติกใช้มากถึง 300 ล้านตัน เท่ากับน้ำหนักช้าง 55 ล้านตัว และจะมีพลาสติกประมาณ 10 ล้านตันเล็ดลอดเข้าไปอยู่ในท้องทะเลและมหาสมุทรทุกปี เรามีวิกฤติพลาสติกอยู่ในมือ ถ้าไม่แก้ไขลูกหลานจะได้รับมรดกนี้ พลาสติกมันทนมากกว่าที่ธรรมชาติจะทำลายมัน ทะเลไม่ใช่ที่อยู่ของพลาสติกจำนวนมาก เราต้องการชีวิตที่ปราศจากพลาสติก ซึ่งทุกคนร่วมสร้างได้"
|
|
เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ศิลปะ ขยะ ทะเล” กับเหล่าบรรดาผู้คนเปลี่ยนโลก ได้แก่ อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฐิตินันท์ ศรีสถิต คนต้นแบบด้านการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง, ศักดาเดช สุดแสวง ผู้นำเครือข่าย Trash Hero, อาจารย์ป้อม ประสพสุข เลิศวิริยะปิติ ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานในงานเปิดนิทรรศการ HEART for the Ocean : บอกรักทะเล บอกเลิกพลาสติก ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาพลาสติกในท้องทะเลไทย |
|
|
|
|
นิทรรศการศิลปะจากขยะพลาสติก “HEART for the Ocean : บอกรักทะเล บอกเลิกพลาสติก” เมื่อช่วงวาเลนไทน์ที่ผ่านมา |
|
|
สถานการณ์ที่แย่ลงทุกวัน สอดรับกับข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษในปี 2558 ซึ่งพบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นขยะพลาสติกร้อยละ 80 หรือ 5,300 ตันต่อวัน เช่นเดียวกับที่องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐ ชี้ผลกระทบขยะในทะเลทำให้นกทะเลตายปีละหนึ่งล้านตัว เพราะกินเศษพลาสติกเข้าไป นอกจากนี้ พลาสติกขนาดเล็กและสารพิษอาจปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร จากปลาใหญ่กินปลาเล็ก ท้ายสุดอาจส่งผลต่อคน
|
|
อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
|
|
ชี้จัดการขยะให้ได้ผล ต้องเริ่มจากต้นทาง อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงขยะพลาสติกซึ่งเกิดจากการกินดื่มใช้ชีวิตประจำวันและระบบการคัดแยกขยะของไทยที่มีปัญหา ทำให้มีปริมาณขยะจำนวนมาก ไม่เฉพาะพลาสติก หลุดเข้าสู่แหล่งน้ำสาธารณะ คูคลอง และออกสู่ทะเล จากการสำรวจล่าสุดเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมา ก็พบขยะจำนวนมากลอยอยู่ในคลองลาดพร้าวใกล้บึงพระราม 9 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อเกิดฝนตกหนัก ขยะขวางทางระบายน้ำ แล้วยังมีที่คลองหัวลำโพงหลังชุมชนคลองเตยมีขยะลอยเกลื่อน ส่วนใหญ่จากกิจกรรมของคน และเป็นไปได้จะเล็ดลอดสู่ทะเล เพราะการจัดการขยะไร้ประสิทธิภาพ “แนวทางแก้ปัญหาสำคัญต้องเริ่มจากตัวเองก่อน คือ ลดใช้พลาสติกที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น เราใช้เวลา 5 นาที ในการใช้หลอดหรือดื่มน้ำจากขวดพลาสติก แต่หลอดใช้เวลาเป็นร้อยปีในการย่อยสลาย ขณะที่ขวดพลาสติกไม่น้อยกว่า 450 ปี ย่อยสลายยาก เพราะโมเลกุลมีความเหนียวแน่นและทนทานสูง" หัวใจสำคัญปรับพฤติกรรมลดใช้พลาสติก ซึ่งไม่ได้ยาก หรือทำให้ชีวิตลำบากอย่างที่คิด พกขวดน้ำ กล่องข้าว เลิกใช้หลอด อยากให้คนไทยตระหนักปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่านี้ ระยะยาวอยากเห็นการปัดฝุ่นนโยบายพลาสติก ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริง กรณีแพขยะกลางทะเลอ่าวไทยสร้างความตื่นตระหนกและเกิดกระแสชั่วคราว แต่ปัญหาขยะในทะเล ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ผู้ประกอบการ นำไปสู่การลดใช้พลาสติกแต่ต้นทาง อัญชลี แสดงทัศนะเห็นด้วยกับภาครัฐที่กำลังผลักดันกฎหมายห้ามแจกถุงพลาสติกในจังหวัดริมชายฝั่งของประเทศไทย เพื่อลดปริมาณขยะ กฎหมายนี้ควรมี แต่อาจไม่ใช่ทางออกของปัญหาทั้งหมด ยังมีแนวทางอื่นๆ ที่น่าส่งเสริม อาทิ สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุย่อยสลายได้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคหรือสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ คงไม่ใช่เพียงแค่ทำพลาสติกย่อยสลายให้เล็กลง เพราะท้ายที่สุดพลาสติกก็ไม่ได้หายไปไหน กลับตกค้างในสภาพแวดล้อม ส่วนการรีไซเคิลต้องยอมรับว่า โรงงานรีไซเคิลก็สร้างผลกระทบทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและน้ำเช่นกัน ฉะนั้น การแก้ปัญหาต้องไม่สร้างปัญหาใหม่และผลักภาระให้ผู้บริโภค สุดท้ายฝากถึงโครงการลดใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ที่รัฐจับมือกับภาคเอกชนสิบกว่าแห่ง จำเป็นต้องมีการประเมินผลที่ชัดเจนและมีความต่อเนื่องถึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดใช้พลาสติกได้อย่างแท้จริง
|
|
อาสาเยาวชนกรีนพีซ ร่วมกันเก็บขยะที่ชายหาดบางแสน |
|
|
เครือข่าย Trash Hero ผู้พิชิตขยะ ความตื่นตัวต่อปัญหาขยะในทะเลยังบอกเล่าผ่าน ศักดาเดช สุดแสวง ผู้นำเครือข่าย Trash Hero นักธุรกิจผู้ผันตัวมาเป็นผู้พิชิตขยะ ปัจจุบันมีเครือข่ายทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ สมาชิกกว่า 30,000 คน ช่วยบรรเทาปัญหาขยะที่หลุดรอดลงทะเล ศักดาเดช บอกว่า จากปัญหาขยะจำนวนมหาศาลในทะเล กลุ่มนี้จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อสามปีก่อนที่เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล สมาชิกเริ่มต้นเพียง 5 คน เราลงเรือไปเก็บขยะ พบขยะเยอะมาก เก็บเท่าไหร่ก็ไม่หมด ขยะไม่ได้อยู่กลางทะเลเท่านั้น แต่จากชายฝั่งเข้าไป 100 เมตร หรือแม้แต่ใต้ทรายชายหาด ทำงาน 5 ชม.ต่อวัน จากหลีเป๊ะก็ได้รับการติดต่อไปตามเกาะแก่งและชายหาดต่างๆ และมีอาสาสมัครพิชิตขยะเพิ่มขึ้นเป็นร้อย "ทีวี ตู้เย็น ล้อรถแทรกเตอร์ แล้วยังขยะพลาสติก 3 ปี มีปริมาณขยะเรากู้ขึ้นมา 300 ตัน ปกติจะใช้เรือขนย้ายขยะออกจากพื้นที่ ค่าจ้างเรือคือขยะที่คนเรือจะนำไปขายต่อสร้างรายได้ ขวดพลาสติกนับแสนขวด รองเท้าแตะ 90,000 ข้าง เรานำไปรีไซเคิลกลายเป็นรองเท้าจากขยะ ส่วนที่สะเทือนใจสุดเวลาทำงาน คือ เจอศพปลา เต่า ตายจากการกินเศษพลาสติก รัฐไม่เคยมีนโยบายจริงจังเรื่องขยะพลาสติก แล้วจะหยุดกระบวนการผลิตที่นำขยะปริมาณมหาศาลมาสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ผมเห็นว่าทุกคนต้องช่วยลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง" ผู้นำเครือข่าย Trash Hero ย้ำให้สังคมรีบตื่นตัวต่อผลกระทบดังกล่าว
|
|
ประเทศไทยเคยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะพลาสติกลงมหาสมุทร |
|
|
ขยะในมหาสมุทร ทิ้งแล้วไม่แล้วไป? • พลาสติกที่เราทิ้งไปนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ หรือใช้เวลานานนับร้อยปีกว่าจะย่อยสลาย แต่จะแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งมักจะถูกปลาหรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ กินเข้าไป ข้อเท็จจริงนี้ผิดจากที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดไว้ว่าพลาสติกจะแตกตัวต่อเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูง และใช้เวลานานหลายร้อยปี แต่อันที่จริงแล้วนักวิจัยค้นพบว่าสามารถแตกตัวได้ในอุณหภูมิที่ไม่สูงนัก และภายในหนึ่งปีที่ขยะพลาสติกลงสู่ทะเล • สารพิษทวีคูณ สารพิษในพลาสติกจะสะสมมากขึ้น เนื่องจากการกินกันในห่วงโซ่อาหาร จากปลาเล็กสู่ปลาใหญ่ และในที่สุดมาถึงจานอาหารของมนุษย์ ผู้ที่อยู่บนยอดของห่วงโซ่อาหาร • พลาสติกในมหาสมุทรนั้น สามารถดูดซับสารพิษในน้ำทะเลได้ ราวกับฟองน้ำ ซึ่งอาจมีความเป็นพิษมากกว่าน้ำทะเลอย่างทวีคูณหลายล้านเท่า เรียกได้ว่า นอกจากสารพิษในตัวของมันเองแล้ว ยังมีการดูดซึมสารพิษอื่นในทะเลมาอีกด้วย • สารประกอบที่อันตรายของพลาสติก ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท รวมถึง ดีอีเอชพี (DEHP) ซึ่งเราอาจพบสารพิษเหล่านี้ได้ในปลาทะเล • สารพิษในพลาสติกเหล่านี้อาจก่อโรคร้ายต่างๆ ได้ อาทิ เป็นสารก่อมะเร็ง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และพัฒนาการของร่างกายในวัยเด็ก • สาร BPA สารตั้งต้นเพื่อใช้ในการผลิตพลาสติก ซึ่งมีส่วนในการรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย เป็นสาเหตุของโรคหลายโรคได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคตับ ถึงแม้เราจะเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่ปราศจากสาร BPA แต่หาก BPA แตกตัวอยู่ในท้องทะเลและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร เราก็จะได้รับผลกระทบจากสารพิษชนิดนี้เช่นกัน |
อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส