จากประชาชาติธุรกิจ
"แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่" มุ่งเน้นพัฒนาสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ และสินค้าเกษตรสร้างรายได้เร็ว หรือ Cash Crop พร้อมเชื่อมโยงการตลาดเพื่อรับซื้อสินค้าเกษตรของสมาชิก
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ณ จังหวัดสกลนคร ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยการปฏิรูปภาคเกษตร ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ ได้แก่ แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้คณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ (D6) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และนายอิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน
การดำเนินงานแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ได้แบ่งกลุ่มสินค้าเพื่อการพัฒนาออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) พืชหลัก ข้าว มันสำประหลัง อ้อย ยาง 2) สัตว์บกขนาดเล็ก ไก่ สุกร 3) สัตว์บกขนาดใหญ่ โคเนื้อ โคนม 4) สัตว์น้ำ กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งกามกราม ปลากะพง ปลานิล และ 5) เกษตรสร้างรายได้เร็ว หรือ Cash Crop ซึ่งเกษตรสร้างรายได้เร็วนี้เอง ได้มีการกำหนดแผนระยะสั้นและแผนระยะยาว ได้แก่ การรวมกลุ่มการผลิตทางการเกษตรให้เป็นระบบแปลงใหญ่แบบเกษตรสมัยใหม่ การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ การตั้งศูนย์วิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเกษตร
ปัจจุบันมีแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ จำนวน 58 แปลง 14 ชนิดสินค้า ซึ่งดำเนินการใน 32 จังหวัด ในพื้นที่ 110,281 ไร่ เกษตรกร 6,636 ราย มีบริษัทเอกชนที่ร่วมดำเนินการ 14 ราย โดยเกษตรสร้างรายได้เร็ว หรือ Cash Crop มีจำนวน 16 แปลง จาก 58 แปลง แบ่งเป็น ผัก ผลไม้ และสมุนไพร จำนวน 15 แปลง และหม่อน 1 แปลง มีความคืบหน้าการดำเนินการโดยรวม 72% ซึ่งการดำเนินงานโครงการแปลงใหญ่ประชารัฐ ในสินค้าเกษตรสร้างรายได้เร็ว (cash crop) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดนำร่องโครงการสานพลังประชารัฐฯ ที่ได้รับมาตรฐาน Thai GAP/Primary ThaiGAP ทั้งนี้ เกษตรสร้างรายได้เร็ว (cash crop) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นี้ มีพื้นที่ดำเนินการ 818 ไร่ เกษตรกร 126 ราย แบ่งเป็น แปลงใหญ่พริก จำนวน 104 ไร่ แตงโม จำนวน 324 ไร่ และมะละกอฮอลแลนด์ จำนวน 390 ไร่ โดยได้มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ โดยการให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกร และเชื่อมโยงกับห้างโมเดรินท์เทรด เพื่อรับซื้อสินค้าเกษตรของสมาชิกด้วย สำหรับภาครัฐ ได้อบรมให้ความรู้ด้านการผลิตกับเกษตรกรผ่าน ศพก. เพื่อให้เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเกษตรกร สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต เช่น ให้บริการเพื่อบริหารจัดการน้ำ ตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อการเพาะปลูกที่เหมาะสม เป็นต้น รวมถึงระบบมาตรฐานการตรวจรับรองแปลงด้วย
"เกษตรกรมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ทำการเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังทำให้มีรายได้เสริมจากอาชีพหลัก เช่น การทำแปลงพริก ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 15,000 บาท/เดือน (6 เดือน) รวมถึงมีตลาดรับซื้อสินค้าเกษตรที่แน่นอน" พลเอกฉัตรชัย กล่าว
อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส