สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรมชลประทานตะลุยสร้างเขื่อน แก้น้ำยมท่วม-รับเขตศก.ชายแดน

จากประชาชาติธุรกิจ

กรมชลประทานเร่งสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง-เล็กรับภัย แล้ง-น้ำท่วม ลุยสำรวจพื้นที่สร้างเขื่อนน้ำปี้ พะเยาแก้ปัญหาแม่น้ำยมท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง อ่างกั้นแม่น้ำน่านตอนบนและในพื้นที่สระแก้วหลายแห่งรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน

รายงานข่าวจากกรมชล ประทาน เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากกรณีแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนเก็บกักน้ำ เพราะมีการคัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จะทำลายป่าสักทองผืนใหญ่ของประเทศ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่จังหวัดแพร่ลงมาถึงจังหวัดสุโขทัยเกือบทุกปี แม้รัฐบาลจะมีการศึกษาพื้นที่สร้างแห่งใหม่เป็นอ่างเก็บน้ำยมบน-ยมล่างแทน แต่ยังต้องใช้เวลาศึกษาอีกพอสมควร เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เดินทางไปตรวจสอบปริมาณการไหลของน้ำช่วงฤดูฝนและพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน น้ำปี้ อ.ปง จ.พะเยา ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ ก่อนสร้างอย่างเป็นทางการในปี 2560 หลังจากเขื่อนแห่งนี้ที่มีขนาดความจุ 100 กว่าล้าน ลบ.ม. ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งสร้างเพื่อแก้ปัญหาน้ำในการ อุปโภคบริโภคที่ค่อนข้างขาดแคลนในฤดูแล้งและหากสร้างเสร็จจะตัดกำลังน้ำส่วน หนึ่งไม่ให้ไหลท่วมพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำยมได้พอสมควร

รายงาน ข่าวกล่าวต่อว่าในปลายเดือนสิงหาคมนี้ผู้บริหารระดับสูงของกรมชลประทานจะมี การเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ที่เหมาะสมการสร้างอ่างเก็บน้ำหลายแห่งในจังหวัด สระแก้ว รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศจัดตั้งขึ้นมาอีกด้วย นอกจากนี้ในเดือนกันยายนจะมีการเดินทางไปสำรวจพื้นที่การก่อสร้างการสร้าง อ่างเก็บน้ำกั้นลำน้ำกิและลำน้ำกอนที่เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่านที่จังหวัด น่านก่อนไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ที่จังหวัดอุตรดิตถ์อีกด้วยว่าพื้นที่จุดไหนจะ มีความเหมาะสมในการก่อสร้างมากที่สุด หากมีการก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยประชาชนในลุ่มน้ำน่านตอนบนได้เป็นอย่างมาก

ทางด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในช่วงนี้ว่า ปริมาณน้ำใน 33 เขื่อนใหญ่มีน้ำใช้การได้ 12,101 ล้าน ลบ.ม. ฤดูแล้งนี้จะจัดสรรน้ำในการทำนาทั่วประเทศไม่เกิน 7 ล้านไร่ ที่เหลือจะสนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย

สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ใน 4 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้จริงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมนี้ประมาณ 3,951 ล้าน ลบ.ม. คาดว่า ณ วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ที่จะเข้าสู่ฤดูแล้ง จะมีปริมาณน้ำในระดับ 9,000 ล้าน ลบ.ม. จึงมีน้ำเพียงพอในการอุปโภคบริโภคอย่างแน่นอน

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การกำจัดผักตบชวาที่กีดขวางทางน้ำไหล และการสัญจรทางน้ำในฤดูฝน หลังจากกำจัดได้หมดที่เขื่อนเจ้าพระยา ขณะนี้เริ่มกำจัดที่เขื่อนพระราม 6 คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ผ่านสุพรรณบุรีกำจัดแล้ว 90% สัปดาห์นี้จะกำจัดได้หมด ส่วนกรุงเทพมหานครจะกำจัดได้หมดภายในเดือนกันยายนนี้แม่น้ำแม่กลองภายในเดือนกันยายนนี้จะกำจัดได้หมด และในส่วนพื้นที่แม่น้ำที่กรมเจ้าท่าดูแลอยู่จะมีการบูรณาการร่วมกันกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลฯ และฝ่ายความมั่นคงกำจัดร่วมกันต่อไป


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : กรมชลประทานตะลุยสร้างเขื่อน แก้น้ำยมท่วม-รับเขตศก.ชายแดน

view