จากประชาชาติธุรกิจ
ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)ได้กำหนดช่องทางการชำระค่าบริการที่อำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ไฟฟ้าไว้หลากหลายช่องทาง อาทิ การจ่ายผ่านการหักบัญชีเงินฝากธนาคารรวมถึงหักบัญชีบัตรเครดิต การจ่ายผ่านช่องทางเสริมที่เอกชนจัดทำขึ้น แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจ่ายคือ เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน นอกจากนี้ ยังมีการชำระกับตัวแทนเก็บเงินค่าไฟฟ้าที่เดินทางไปเก็บเงินตามบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีเฉพาะพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลเท่านั้น
ซึ่งวิธีการชำระผ่านตัวแทนนี้ อาจเป็นช่องว่าให้มิจฉาชีพได้
1.บิลปลอมจะพิมพ์ข้อความบริเวณหัวกระดาษว่า "ใบแจ้งเตือนตัด" ซึ่งบิลจริงนั้นต้องพิมพ์ว่า "ใบแจ้งค่าไฟฟ้า"
2.บิลปลอมมีแถบบาร์โค้ดแนวนอน 2 ตำแหน่ง ซึ่งบิลจริงมี 3 ตำแหน่ง
3.บิลปลอมบริเวณช่องจำนวนเงินที่ต้องชำระ และที่อยู่ จะเขียนด้วยลายมือ
สำหรับวิธีการสังเกตพนักงานตัวจริงคือ
-โดยมากจะเป็นบุคคลเดิมที่เคยเก็บในทุกๆเดือน ถ้าไม่ใช่คนเดิม สามารถเรียกดูบัตรพนักงาน หรือหนังสือมอบงาน รับรองการปฏิบัติงานได้ อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพนั้นอาจจะปลอมแปลงบัตรพนักงานมาได้ ประชาชนสามารถสอบถามไปสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ของท่าน หรือโทรสายด่วน 1129 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา มติชนออนไลน์
ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย