สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิษณุ เตือนภาษาโซเชียล กระโดดออกนอกจอ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วิษณุ" รองนายกฯ เตือนภาษาในโซเชียลมีเดีย กระโดดออกมานอกจอ หวั่นคำประดิษฐ์ใหม่จะกลายเป็นความถูกต้อง ชี้ต้องใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาระหว่างเป็นประธานเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2558โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ. นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายอนันท์ ชูโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร นางนันทิยา สว่างวุฒิธรรม อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เข้าร่วมงาน ว่า เมื่อวันนี้เมื่อ 53 ปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จคณะอักษาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อทรงร่วมอภิปรายวิชาการพร้อมผู้ทรงคุณวุฒิในชมรมภาษาไทยของจุฬาฯ เช่น มรว.คึกฤกธิ์ ปราโมทย์ อดีตนายกฯ และอีกรายคนซึ่งนับได้ว่า เป็นปราชญ์ของแผ่นดินด้านภาษาไทย การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงร่วมอภิปรายนั้น แสดงให้เห็นถึงความสนพระราชหฤทัยในด้านภาษาไทย และแสดงให้เห็นถึงความในพระราชหฤทัยถึงปัญหาการใช้ภาษาไทย

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมาก วงการภาษาไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้ง เกิดกำลังใจให้แก่ครูผู้สอนและคนในวงการด้วย เกิดความรู้สึกว่า ภาษาไทยมีความสำคัญ เป็นคามไพเราะงดงาม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ต้องทำนุบำรุงรักษาเพื่อการใช้ให้ถูกต้อง บังเกิดประโยชน์ เพราะภาษาไทยเป็มรดกทางวัฒนธรรมที่คนไทยควรภาคภูมิใจ การที่บ้านเมืองจะมีภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นของตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรือเรื่องอัตโนมัติ แม้แต่สหรัฐอเมริกา ที่ยิ่งใหญ่และประกาศอิสรภาพจากอังกฤษแล้ว ยังต้องใช้ภาษาอังกฤษ หรืออย่างประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ดินแดนในฝันของหลายคน ผู้คนในประเทศต้องหยิบยืมภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมาใช แต่คนไทยมีภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นของตัวเองมาหลายร้อยปีแล้ว และเป็นภาษาที่มีความร่ำรวยของถ้อยคำด้วย เห็นได้ชัดในวรรณคดีต่างๆ

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ภาษาไทยกำลังได้รับปลกระทบเชิงลบจากความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และความรวดเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบที่หลั่งไหลเข้ามาอย่าง ต่อเนื่อง และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคนในสังคมไทย ดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน

ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีการใช้ภาษาไทยที่ผิดในหลายลักษณะ เริ่มจากปัฐหาการนำคำในภาษาต่างประเทศมาใช้ ที่ผ่านมา มีการยืมคำในภาษาอังกฤษมาใช้บ้างในกรณีที่ไม่รู้ว่า จะใช้คำใดแทน แต่ปัจจุบัน นำคำจากภาษาต่าง ๆ ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาใช้กันทั้งที่ไม่มีความจำเป็น แต่ใช้เพราะเห็นเป็นเรื่องสนุกสนาน เก๋ เท สะใจ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาการออกเสียงคำ รวมถึงปัญหาการประดิษฐ์คำใหม่ ๆขึ้นมาใช้กัน แรก ๆ ก็ใช้กันอยู่ในสังคมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่มีใครว่าอะไรเพราะใช้กันในพื้นทีจำกัด สื่อสารกันระหว่างคนไม่กี่คน แต่ขณะนี้ คำเหล่านั้นออกจากสื่อออนไลน์มาแล้ว มาอยู่ในโฆษก พิธีกรรายการต่าง ๆ ตนยังเคยเจอคำเหล่านี้ในกระดาษคำตอบของนักศึกษา เจอในเอกสาราชการอย่างบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็ต้องเตือนกันบ้างก่อนจะไปไกลกว่านี้ ก่อนที่สิ่งที่ไม่ถูกต้องจะกลายเป็ความถูกต้อง อีกทั้ง ยังมีปัญหา จงใจใช้คำสื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามด้วย

“มีปัญหาการใช้ภาษาพูดที่ผิด การอ่านที่เพี้ยน การเขียนที่พิสดารไป เพราะอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลนีสารสนเทศ สิ่งที่ทำผิดนาน ๆ เข้า กลายเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ขณะที่มีคนยึดกฎแบบเดิม ๆ แต่คนบางกลุ่มประดิษฐ์คำใหม่ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ตามความเร่งรีบ ตามอำเภอใจ ตามความมักง่าย คำเหล่านี้ยากที่อคนอีกรุ่นจะเข้าใจ เกิดเป็นความแตกต่างทางภาษา สื่อสารกันไม่ได้ ปัญหานี้มีเค้าลางให้เห็นแล้ว จากความสนกสนาน กำลังกลายเป็นกฎของสังคม ปัญหานี้ ส่งผลกระทบต่อการเมือง การบริหารประเทศได้ เพราะฉะนั้น ต้องช่วยเตือนกัน พัฒนาสิ่งที่ควรพัฒนา เปิดใจในสิ่งที่ควเปิดใจ แต่ก็ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์ในสิ่งที่มีแบบแผน “

รองนายกฯ กล่าวต่อว่า การใช้ภาษานั้น จะต้องถูกต้องตามแบบแผน และต้องถูกต้องตามกาละเทศะด้วย เพราฉะนั้น ครูภาษาไทย และครูวิชาอื่น ๆ จะต้องสอดแทรกเรื่องนี้ไว้ในการเรียนการสอนด้วย ลักษณะเดียวกับการสอดแทรกการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียน ขณะเดียวกัน ทุกคนก็ต้องมีจิตสำนึก ตระหนักถึงคุณค่าภาษาไทยและใช้ให้ถูกต้อง ไม่ถึงกับเคร่งครัดไปแต่ก็ต้องใช้ให้มีแบบแผน

ด้านนายวีระ กล่าวว่าตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 29 ก.ค. ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะองค์กรหนึ่งที่มีภารกิจในการส่งเสริมและรณรงค์ในประชาชน เยาวชนใช้ภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติอย่างถูกต้อง ได้จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ในปี 2558 กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ศิลปินแห่งชาติ นักวิชาการด้านภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และจังหวัดต่างๆ จัดโครงการเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่นในระดับเยาวชน ครู อาจารย์ และสื่อมวลชน การประกวดเรียงความการประกวดเพชรในเพลง เพื่อยกย่องคนในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย ประกวดการใช้ภาษาถิ่นในการแสดงพื้นบ้าน การรณรงค์ใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่นผ่านสื่อทุกประเภท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนรู้รักภาษาไทย      

รมว.วธ. กล่าวต่อว่า วันภาษาไทยประจำปีนี้ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน จำนวน 8 ราย โล่พระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดเรียงความหนังสือเล่มโปรดของฉัน”เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” และ “เจ้าฟ้านักอ่าน” จำนวน 3 ราย มอบเข็มและโล่เชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 1 ราย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 5 ราย ผู้ใช้ภาษาถิ่นดีเด่น 6 ราย และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย 2 ราย นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลให้แก่ศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) 29 ราย และมอบโล่และเกียรติบัตรแก่เยาวชนที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชย ประกวดเรียงความ


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : วิษณุ เตือนภาษาโซเชียล กระโดดออกนอกจอ

view