จากประชาชาติธุรกิจ
กฟผ.เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 คาดเริ่มงานฐานรากได้ภายใน ส.ค. 58 มีกำหนดแล้วเสร็จและจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 61
นายวิวัฒน์ ชาญเชิงพานิช ผู้ช่วยผู้ว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 จังหวัดลำปางว่า ปัจจุบันดำเนินการเจาะดินเพื่อก่อสร้างเสาเข็มแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนเสาเข็มทั้งหมด หรือประมาณ 640 ต้น โดยคาดว่าจะเริ่มงานฐานรากของอาคารกังหันไอน้ำ และอาคารเครื่องผลิตไอน้ำได้ในเดือนสิงหาคม 2558 โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 และมีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ได้ภายในวันที่ 13 พ.ย. 2561
ทั้งนี้ กฟผ.ได้เริ่มพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ตั้งแต่เดือน ม.ค. 58 โดยมีกิจการค้าร่วม บริษัท อัลสตอม เพาเวอร์ ซิสเต็ม ประเทศฝรั่งเศส บริษัท อัลสตอม (ประเทศไทย) จำกัด และมารูเบนิ คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทคู่สัญญา โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ถ่านหินลิกไนต์ภายในประเทศเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ด้วยวงเงินลงทุนกว่า 36,800 ล้านบาท โดยเน้นลงทุนในระบบอุปกรณ์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม อาทิ เครื่องกำจัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนด้วยอุปกรณ์ SCR (Selective Catalyst Reduction) เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต และเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น คิดเป็นมูลค่าการลงทุนถึง 8,250 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.41 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด
โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้เทคโนโลยีสะอาด (Ultra-supercritical) ลดการใช้ถ่านหินจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 จากเดิมที่ 13,536 ตัน/วัน ลงเหลือ 8,504 ตัน/วัน นอกจากนี้ยังมีการควบคุมการปล่อยมวลสารให้ดีขึ้น อาทิ การระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 90 ส่วนในล้านส่วน (ppm vd) จากค่ามาตรฐาน 180 ส่วนในล้านส่วน (ppm vd) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 90 ส่วนในล้านส่วน (ppm vd) จากค่ามาตรฐาน 200 ส่วนในล้านส่วน (ppm vd)
ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย