จากประชาชาติธุรกิจ
โลกเคยเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หรือที่เรียกกันว่า "แมสส์ เอกซ์ทิงชั่น อีเวนต์" ขึ้นมาแล้วสองครั้ง ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน ส่งผลให้ไดโนเสาร์ สัตว์ยักษ์ที่ครองโลกอยู่ในเวลานั้นสูญพันธุ์ไปจนหมด แต่ก่อนหน้านั้นเมื่อประมาณ 252 ล้านปีที่ผ่านมา เคยเกิดเหตุการณ์การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น เกิดขึ้น คือเหตุการณ์ที่นักบรรพชีวินวิทยาเรียกว่า "เพอร์โม-ไทรราสสิค บาวดารี แมสส์ เอกซ์ทิงชั่น" ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานร่วม 60,000 ปี
เหตุการณ์ ดังกล่าวส่งผลให้สิ่งมีชีวิตกว่า 2 ใน 3 ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนบกสูญพันธุ์ไป ในขณะที่สัตว์น้ำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้
นัก วิทยาศาสตร์เคยถกเถียงกันมานานว่าอะไรกันแน่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสีย ชีวิตของสัตว์โลกครั้งใหญ่เมื่อ 252 ล้านปีก่อน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด จนกระทั่งทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ นำโดย แมทธิว คลาร์กสัน ค้นพบหลักฐานบ่งชี้ถึงต้นเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ จากการเดินทางไปตรวจสอบชั้นหินบริเวณหน้าผาแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอาหรับเอ มิเรตส์ (ยูเออี) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยจมอยู่ใต้มหาสมุทรในยุคโบราณมายาวนานกว่า 250 ล้านปี
สิ่ง ที่ทีมสำรวจมองหาในหินของหน้าผาริมทะเลเก่าแก่ดังกล่าวก็คือสัดส่วนของ "โบรอน ไอโซโทป" กับสัดส่วนของ "คาร์บอน ไอโซโทป" ในชั้นหินเก่าแก่ดังกล่าว
"โบรอน ไอโซโทป" นั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าเมื่อกว่า 250 ล้านปีก่อนนั้น สภาพของมหาสมุทรมีความเป็นกรดมากน้อยแค่ไหน ในขณะที่ "คาร์บอน ไอโซโทป" เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์เจือปนอยู่ในมหาสมุทรมากน้อยแค่ไหน ทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดกับสภาพความเป็นกรด เนื่องจากยิ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์ในมหาสมุทรมากเท่าใด สภาพความเป็นกรดของมหาสมุทรก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
จากการตรวจ สอบอย่างละเอียด ทีมสำรวจเชื่อว่าเหตุการณ์ที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคย เกิดขึ้นบนโลกนั้น เกิดขึ้นจากตัวการสำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูก ปล่อยลงสู่ท้องทะเล เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปกินเวลาต่อเนื่องราว 50,000 ปี ระยะที่สองที่เหมือนกับเป็นการซ้ำเติมกับระยะแรกนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณมหาศาลมาก เพียง 10,000 ปีก็ทำลายสิ่งมีชีวิตไปค่อนโลก
นัก วิทยาศาสตร์คิดว่าเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็น จำนวนมหาศาลนั้น อาจเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่ปะทุและพ่นเถ้าถ่านลาวาออกมาเป็น ระยะเวลานานและเป็นปริมาณมาก ซึ่งรู้จักกันในชื่อปรากฏการณ์ "ไซบีเรียน แทรป โวลแคนิสม์" ที่ไม่เพียงทำลายสัตว์บกในระยะแรกเท่านั้นยังทำลายสัตว์น้ำในมหาสมุทรตามมา ด้วย
จากการทำแบบจำลองเหตุการณ์ ทีมวิจัยเชื่อว่า ปริมาณของคาร์บอนในครั้งนั้นสูงถึง 24,000 เพตาแกรมส์ ที่ทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดรุนแรงและเฉียบพลันในมหาสมุทร จนสัตว์น้ำโดยเฉพาะสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกที่ต้องดึงแคลเซียมคาร์บอร์เนตจาก น้ำทะเลมาสร้างเปลือกและกระดองไม่สามารถทำได้ เพราะแคลเซียมคาร์บอร์เนตลดน้อยลงจนต้องตายหรือถูกจับกินเป็นอาหารง่ายๆ และสูญพันธุ์ไปในที่สุด
คลาร์กสันระบุว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นหลักฐานโดยตรงที่บ่งชี้ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์สู่บรรยากาศนั้นส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร ที่น่าวิตกอย่างมากก็คือ แม้ว่าในน้ำมันดิบที่เรานำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในปัจจุบันจะมีสัดส่วนของ คาร์บอนน้อยกว่าในอดีต คือราว 5,000 เพตาแกรมส์
แต่เรากำลังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศในระดับเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อนอยู่ในเวลานี้!
ที่มา : นสพ.มติชนรายวัน
ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย