จาก โพสต์ทูเดย์
เกษตรฯ เตรียมบริหารผลไม้ ปี 58ทุเรียน-มังคุด-ลำไย-ลิ้นจี่ปีนี้คาดราคาดี
นางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลพยากรณ์ ปี 2558 ไม้ผล 6 ชนิด (ณ 1 เมษายน 2558) ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ พบว่า ทุเรียน เนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 5.80 แสนไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 9,473 ไร่ หรือ 1.66% ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 0.679 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 47,261 ตัน หรือ7.48% ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล ทั้งประเทศ 1,171 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 64 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 5.78% โดยเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในทุกภาค จากการขยายเนี้อที่ปลูกใหม่ปี 2553 จากเกษตรกรโค่นต้นทุเรียนที่มีอายุมากเพื่อปลูกใหม่ และปลูกแทนยางพารา รวมถึงไม้ผลอื่นๆ เริ่มทยอยให้ผลผลิตเป็นปีแรก สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทุเรียนออกดอกและติดผลดี ประกอบกับราคาทุเรียนในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งผลผลิตออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม
ทั้งนี้ คาดว่า ปี2558 ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออกจะใกล้เคียงกับปีที่ ผ่านมา ถึงแม้ปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะสอดคล้องกับความต้องการทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ อย่างไรก็ตามอาจเกิดปัญหาราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัวได้ มังคุด เนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 0.414 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 1,149 ไร่ หรือ 0.28ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 0.281 ล้านตัน ลดลง จากปีที่แล้ว 8,004 ตัน หรือ 2.77 %ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล ทั้งประเทศ 680 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลง จากปีที่แล้ว 21 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 3 % โดยเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากแหล่งผลิตในภาคเหนือ และภาคกลางเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากต้นที่ปลูกใหม่ ในปี 2551 เริ่มทยอยให้ผลผลิตในปีแรกเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้เนื้อที่ให้ผลลดลง เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นมังคุดโดยเฉพาะสวนที่ปลูกรวมกับทุเรียน เพราะทุเรียนมีราคาดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากในปีนี้แหล่งผลิตในภาคตะวันออกสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย มีฝนในระหว่างมังคุดกำลังแทงช่อดอกมังคุดจึงแตกใบอ่อนแทนการออกดอก โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน และทางภาคใต้เกษตรกรในแหล่งผลิตใหญ่ในจังหวัดชุมพร ปรับเปลี่ยนมาผลิตมังคุดคุณภาพ โดยการดูแลตัดกิ่งเพื่อทำให้ต้นโปร่ง และดูแลไม่ให้ออกดอกมากจนเกินไป เพื่อให้ผลมังคุดใหญ่ได้ขนาด สามารถขายได้ราคาดี
ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2558 ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับเกษตรกรในแหล่งผลิตใหญ่ทางภาคใต้ปรับเปลี่ยนมาผลิตมังคุดคุณภาพ ทำให้ขายได้ราคาดี อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัวได้เงาะ เนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 0.281 ล้านไร่ ลดลง จากปีที่แล้ว 1,968 ไร่ หรือร้อยละ 0.70 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 0.321 ล้านตัน ลดลง จากปีที่แล้ว 452 ตัน หรือร้อยละ 0.14 ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล ทั้งประเทศ 1,142 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 6 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 0.53 โดยเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศลดลง เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลในแหล่งผลิตทางภาคใต้ที่เกษตรกรโค่นต้นเงาะที่มีอายุมากเพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมัน และไม้ผลอื่น เช่น ทุเรียน ยกเว้นแหล่งผลิตทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางเพิ่มขึ้น โดยมีเงาะที่ปลูกใหม่ ในปี 2554 เริ่มให้ผลผลิตในปีแรก ส่วนผลผลิตต่อไร่ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยภาคกลางผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากช่อดอกเงาะมีขนาดสั้นกว่าปีที่แล้วและไม่สมบูรณ์ และภาคใต้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติดผล
ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2558 ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ จะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัวได้
เนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 0.354 ล้านไร่ ลดลง จากปีที่แล้ว 7,277 ไร่ หรือร้อยละ 2.01 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 167,375 ตัน ลดลง จากปีที่แล้ว 10,603 ตัน หรือร้อยละ 5.96 ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล ทั้งประเทศ 473 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 4.06 โดยเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศลดลงจากปีที่แล้ว โดยเฉพาะในแหล่งผลิตที่สำคัญ ในภาคใต้ และภาคกลาง เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมัน และไม้ผลอื่น ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่แหล่งผลิตในภาคเหนือ เนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากต้นที่ปลูกใหม่ในปี 2552 เริ่มให้ผลผลิต สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลงจากการที่แหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการปรับปรุงคุณภาพลองกอง โดยตัดแต่งกิ่ง และไว้จำนวนช่อดอกลดลง ทำให้จำนวนช่อต่อต้นและผลผลิตต่อไร่ลดลง แต่จะได้ผลลองกอง เกรด A หรือ B ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขายได้ราคาดีขึ้นและได้ผลตอบแทนมากขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2558 ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออกจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัวได้ลำไย เนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 1.062 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10,107 ไร่ หรือร้อยละ 0.96 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 0.966 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 28,755 ตัน หรือร้อยละ 2.89 ผลผลิตต่อไร่ ทั้งประเทศ 910 กิโลกรัม ลดลงจากปีที่แล้ว 36 กิโลกรัม หรือร้อยละ 3.81 โดยเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2555 เริ่มให้ผลผลิตในปี 2558 ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปีนี้เกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนจากการทำลำไยในฤดูเป็นการทำลำไยนอกฤดูที่ขายได้ราคาดีกว่า โดยจะตัดดอกลำไยที่ออกในช่วงนี้ทิ้ง เพื่อใช้สารกระตุ้นการออกดอก (โพแทสเซียมคลอเรต) ในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2558 เพื่อไปเก็บผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมปีหน้า
ทั้งนี้ คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาส่งออกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ประกอบกับความต้องการบริโภคลำไยจากต่างประเทศยังเพิ่มขึ้นลิ้นจี่ เนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 0.134 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2,648 ไร่ หรือร้อยละ 2.01 ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 59,912 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 9,648 ตัน หรือร้อยละ 13.87 ผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งประเทศ 446 กิโลกรัม ลดลงจากปีที่แล้ว 82 กิโลกรัม หรือร้อยละ 15.53 โดยเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากลิ้นจี่ที่ปลูกในปี 2554 เริ่มให้ผลผลิตได้ ในปี 2558 ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศแปรปรวน ไม่หนาวเย็นยาวนานเหมือนปีที่แล้ว โดยลิ้นจี่ต้องการอากาศหนาวเย็นเป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 8 - 10 วันเพื่อชักนำการออกดอก ทำให้ลิ้นจี่ออกดอกน้อยลง ส่งผลให้ผลผลิตลดลงด้วย โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม
ทั้งนี้ คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาส่งออกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลงอย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมเสนอแผนการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2558 รวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต ซึ่งกำหนดไว้ 3 แนวทาง คือ
1) มุ่งเน้นการบริหารจัดการอุปทานให้สอดคล้องกับอุปสงค์
2) ให้จังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ปัญหาของจังหวัด โดยคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นกลไกลในการบริหารจัดการและกำกับดูแล
และ 3) คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ เป็นแกนกลางในการบูรณาการในการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ ด้านการตลาด (ดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์) ตลาดในประเทศ โดยเน้นการกระจายผลผลิตและการเชื่อมโยงตลาดปลายทาง ประชาสัมพันธ์/ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทย และตลาดต่างประเทศ ได้แก่ จัดคณะผู้แทนการค้า Incoming Mission และ Outgoings Mission เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และจัดคาราวานสินค้าไปประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
และสุดท้ายคือ ดำเนินการจัดทำแผนการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2558 รวมทั้งจัดทำร่างยุทธศาสตร์ผลไม้ปี 2558 -2562 โดยกรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ เพื่อบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบในระยะยาวประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่
1) การบริหารจัดการผลผลิต
2) การบริหารจัดการตลาด
3) การวิจัยและพัฒนา
4) การพัฒนาองค์กรและเกษตรกร
5) การพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ ต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้เพื่อพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป.
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน