สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรมประมง เร่งแก้ข้อพิพาท บ่อกุ้งปล่อยน้ำเสียนาข้าวเละ

จากประชาชาติธุรกิจ

กรมประมงขอเวลา 6 เดือน กำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทนาข้าว-นากุ้งก่อนเสนอ คสช. กลุ่มชาวนาเสนอจัดโซนเลี้ยงและเลี้ยงในระบบปิดห้ามปล่อยน้ำทิ้งสู่พื้นที่ สาธารณะ ฝ่ายนากุ้งชี้รัฐไม่ควรเหวี่ยงแห ห้ามใช้ความความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดทั่วประเทศ แนะตั้งคณะกรรมการจังหวัดดูแล

จากข้อพิพาทระหว่างผู้ปลูกข้าวและผู้เลี้ยงกุ้งหลายราย โดยเฉพาะในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ชาวนาร้องเรียนว่านากุ้งปล่อยน้ำทิ้งออกสู่พื้นที่สาธารณะ ทำให้นาข้าวเสียหาย กรมประมงจึงต้องจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้น ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ มีการเชิญผู้เลี้ยงกุ้งที่ใช้ความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดและชาวนามาประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออก

นายทองเหมาะ พิทักวงษ์ อดีตกำนันตำบลบางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี กล่าวถึงผลกระทบการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดว่า ปี 2541-2542 มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่ประมาณ 100-200 ไร่ มีการนำน้ำเค็มมาเลี้ยง ผลกระทบคือ การเอาน้ำเค็มมาใส่ตลอดเวลาและปล่อยน้ำเค็มออกจากบ่อ ข้าวในพื้นที่ใกล้เคียงงามจริง แต่เป็นข้าวตกทาก ไม่ออกรวงหรือออกรวงแต่เมล็ดข้าวลีบ ปี 2557 มีการมาเช่าที่นาไร่ละ 2,000-3,000 บาท เลี้ยงกุ้งกุลาดำ 30-40 ไร่ มีการเจาะบ่อบาดาล เลี้ยงกันในระบบเปิด ใกล้กับที่นาที่ปลูกข้าวอยู่ พื้นที่บริเวณนั้นเสียหายกว่า 400-500 ไร่ ร้องเรียนไปยังนายอำเภอบางปลาม้าเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาคุยแล้ว มิเช่นนั้น ปัญหาจะยิ่งเพิ่มขึ้น

นักวิชาการที่มาวิเคราะห์ดินพบว่า มีความเป็นกรดสูง อินทรีย์วัตถุสูง ฟอสฟอรัสต่ำ โปรแตสเซียมสูงมาก จึงอยากให้มีการเลี้ยงกุ้งโดยแบ่งเป็นโซน และเลี้ยงกันในระบบปิด ไม่ใช่ตอนกลางคืนแอบเปิดน้ำออกสู่พื้นที่สาธารณะ

นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย กล่าวว่า การเลี้ยงกุ้งขาวความเค็มต่ำ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับกุ้งกุลาดำ ควรตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดขึ้นมาดูแล มีการใช้หลักปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีตลอดซัพพลายเชน (CoC) แต่ถ้ารัฐเหวี่ยงแห ห้ามใช้ความเค็มต่ำเลี้ยง ก็พังทั้งประเทศ กฎหมายต้องใช้ให้เท่าเทียมกัน กรณีที่เกิดการพิพาท มีการทำนาข้าวรอบนากุ้ง 3 ราย 2 รายสูบน้ำจากนากุ้งที่ทิ้ง ไปสอบถามชาวบ้าน ปีที่แล้วนากุ้งกับนาข้าวแย่งน้ำกัน เพราะแล้งมาก นากุ้งที่สุพรรณบุรีจะมีการเจาะบ่อบาดาลตื้น จึงเจอน้ำเค็มน้ำกร่อย แต่นาข้าวเจาะลึกน้ำจึงไม่เค็ม

"ผมไปดูพื้นที่พิพาทมาแล้ว เดี๋ยวนี้เจาะบ่อบาดาลกันทั้งนากุ้ง นาข้าว นาข้าว 50 ไร่มีถึง 10 หลุมเจาะ ความเค็มก็มี ข้าวดีมาก ได้ผลผลิตไร่ละ 100 กว่าถัง ความเค็มไม่ถึง 10 พีพีที

ทางด้าน ดร.พุทธ ส่องแสงจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง กล่าวว่า ในฐานะเลขานุการคณะทำงานแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งใช้ความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำ จืด จะนำเรื่องนี้ที่มีผู้สนับสนุนและคัดค้านการเลี้ยงกุ้งใช้ความเค็มต่ำใน พื้นที่น้ำจืดเข้าหารือในคณะทำงานฯที่มีอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนพร้อมกับทบทวนการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งใช้ความเค็ม ต่ำในพื้นที่น้ำจืด 3 ฉบับที่ผ่านมาคือ 1.รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งขาวในเขตพื้นที่น้ำจืดของกรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตรและกรมการข้าว 2.ผลกระทบจากการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดของ รศ.อรพินท์ จินตสถาพร คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 3.โครงการติดตามการแก้ไขปัญหาการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน พื้นที่น้ำจืด รวมทั้งรายงานโครงการกำหนดแนวทางลดผลกระทบจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบความ เค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืด ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนกันยายนศกนี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : กรมประมง เร่งแก้ข้อพิพาท บ่อกุ้งปล่อยน้ำเสียนาข้าวเละ

view