จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ตลาด ส่งออกผลไม้สดในหลายประเทศมีการสร้างมาตรการกีดกันการนำเข้าผลไม้หลายชนิด เนื่องจากปัญหาแมลงศัตรูพืชที่มักปะปนไปในผลไม้ และเกรงจะกลายเป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์ในประเทศนั้นๆ
นิวเคลียร์ตอบโจทย์
กระทั่งปี 2550 มีความร่วมมือระหว่างกระทรวงการเกษตร โดยกรมวิชาการเกษตร, สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)และ ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เพื่อตอบความต้องการของตลาดสหรัฐ
“สหรัฐสนใจผลไม้ไทย แต่เมื่อศึกษาวิธีต่างๆ ในการกำจัดแมลงในผลไม้ไทยและพบว่า การฉายรังสีสามารถกำจัดแมลงได้ทุกชนิด จึงตกลงใจที่จะใช้วิธีการฉายรังสี นำร่องในผลไม้สด 6 ชนิดคือ ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ สัปปะรด และมะม่วงสุก ก่อนจะเพิ่มอีก 1 ชนิดคือ แก้วมังกร ในเวลาต่อมา” อรรจยา มาลากรอง ผู้จัดการศูนย์ฉายรังสี สทน. อธิบาย
การฉายรังสีเป็นการควบคุม กำจัด และหยุดการแพร่พันธุ์ของแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิดที่สหรัฐไม่ต้องการ อาทิ แมลงวันทอง ในขณะเดียวกันก็เป็นการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารอีกด้วย
รังสีที่นำมาใช้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายแสงแดดที่จ้ามาก ที่เราสามารถนำอาหารไปตากแดดแล้วนำกลับมารับประทานได้ตามปกติ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาขาติ (FAO) และ IAEA ได้สรุปผลการทดสอบความปลอดภัยของอาหารฉายรังสีว่า อาหารใดๆ ที่ผ่านการฉายรังสีในปริมาณไม่เกิน 1 พันเกรย์ ไม่ต้องทดสอบความปลอดภัย เมื่อเทียบกับปริมาณรังสีที่สหรัฐกำหนดให้ฉายรังสีเพื่อนำเข้าผลไม้ที่ 400 เกรย์นั้น เป็นปริมาณที่น้อยกว่าถึง 25 เท่า
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี หลังจากตลาดสหรัฐเปิดรับผลไม้ไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในมาตรฐานการส่งออกผลไม้สดของไทย ทำให้หลายประเทศมั่นใจในคุณภาพ และเริ่มมีดีมานด์มา
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นตลาดใหม่อีก 2 แห่งที่กำแพงการกีดกันสูงมาก เงื่อนไขในการนำเข้าผลไม้มากมายจนไทยยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้ จนกระทั่วความสำเร็จในการเข้าตลาดสหรัฐ ทั้ง 2 ประเทศนี้จึงติดต่อมาหวังนำเข้าผลไม้ไทยที่ใช้การฉายรังสีเช่นกัน โดยนำร่องที่ลำไยและลิ้นจี่ฉายรังสี
เพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณภาพชีวิต
ปี 2557 ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจเยี่ยมกระบวนการฉายรังสี และรับรองกระบวนการฉายรังสีของศูนย์ฉายรังสี ภายใต้ สทน. จากนั้นก็รับรองสุขอนามัยของลำไยและลิ้นจี่แล้วในช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา
"ปัจจุบัน กระบวนการต่างๆ เป็นที่ยอมรับสำหรับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แล้ว และอยู่ระหว่างรอผู้ประกอบการที่ต้องการมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice) ที่ 2 ประเทศยอมรับ ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจ เพราะถือเป็นตลาดใหม่ที่มีดีมานด์ ซึ่งคาดว่า ปี 2558 นี้ ลำไยและลิ้นจี่ฉายรังสีของไทยจะพร้อมเข้าไปขายในตลาด 2 แห่งนี้"
ผู้จัดการศูนย์ฉายรังสี สทน. แย้มว่า นอกจาก 2 ประเทศที่สนใจ ตลาดสหรัฐยังมีแผนที่จะเพิ่มผักและผลไม้สดไทยในการเข้าไปวางจำหน่ายในสหรัฐ อาทิ ส้มโอ ฝรั่ง มันหรือเผือก โดยอยู่ระหว่างช่วงพิจารณาความเสี่ยงของโรคและแมลง
ดร.พิเชฐกล่าวว่า ความพยายามแก้ปัญหาการกีดกันการนำเข้าอาหาร สมุนไพรและผลไม้ส่งออกไทยในตลาดสหรัฐและยุโรป ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์นี้ โดยเฉพาะเมื่อสามารถเปิดตลาดใหม่ในประเทศที่ไม่เคยมีการนำเข้าผลไม้ไทยมา ก่อน อย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ คาดจะทำให้มูลค่าการส่งออกผลไม้ไทยเพิ่มเป็น 2.3 พันล้านบาทจากปี 57 ที่มีมูลค่าราว 1 พันกว่าล้านบาท
นอกจากนี้ รมว. วิทยาศาสตร์ฯ ยังกล่าวถึงข้อกังวลเรื่องกิจกรรมด้านนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงเหตุฉุกเฉินทางรังสีและนิวเคลียร์ที่อาจกระทบไทย ว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส. ) มีมาตรการเฝ้าระวังรังสีเพื่อความปลอดภัยของประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง โดยระดับการเตือนภัยเป็นไปตามมาตรฐานของ IAEA ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันและพร้อม ดำเนินการตลอดเวลา - See more at: http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633321#sthash.ZgPn8cl5.dpuf
พิเชฐ’ ยิ้มรับเทคโนโลยีนิวเคลียร์จาก สทน. ฝ่าด่านกำแพงสูงสหรัฐกีดกันการนำเข้าผลไม้ไทย ฉายรังสีผลไม้สด 7 ชนิดปลอดภัยไร้แมลง เตรียมเปิดตลาดนิวซีแลนด์-ออสเตรเลียปี 58 นำร่องที่ลำไยและลิ้นจี่ ตั้งเป้าเพิ่มยอดส่งออกเป็น 2.3 พันล้านบาท
ตลาดส่งออกผลไม้สดในหลายประเทศมีการสร้างมาตรการกีดกันการนำเข้าผลไม้หลายชนิด เนื่องจากปัญหาแมลงศัตรูพืชที่มักปะปนไปในผลไม้ และเกรงจะกลายเป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์ในประเทศนั้นๆ
นิวเคลียร์ตอบโจทย์
กระทั่งปี 2550 มีความร่วมมือระหว่างกระทรวงการเกษตร โดยกรมวิชาการเกษตร, สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)และ ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เพื่อตอบความต้องการของตลาดสหรัฐ
“สหรัฐสนใจผลไม้ไทย แต่เมื่อศึกษาวิธีต่างๆ ในการกำจัดแมลงในผลไม้ไทยและพบว่า การฉายรังสีสามารถกำจัดแมลงได้ทุกชนิด จึงตกลงใจที่จะใช้วิธีการฉายรังสี นำร่องในผลไม้สด 6 ชนิดคือ ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ สัปปะรด และมะม่วงสุก ก่อนจะเพิ่มอีก 1 ชนิดคือ แก้วมังกร ในเวลาต่อมา” อรรจยา มาลากรอง ผู้จัดการศูนย์ฉายรังสี สทน. อธิบาย
การฉายรังสีเป็นการควบคุม กำจัด และหยุดการแพร่พันธุ์ของแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิดที่สหรัฐไม่ต้องการ อาทิ แมลงวันทอง ในขณะเดียวกันก็เป็นการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารอีกด้วย
รังสีที่นำมาใช้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายแสงแดดที่จ้ามาก ที่เราสามารถนำอาหารไปตากแดดแล้วนำกลับมารับประทานได้ตามปกติ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาขาติ (FAO) และ IAEA ได้สรุปผลการทดสอบความปลอดภัยของอาหารฉายรังสีว่า อาหารใดๆ ที่ผ่านการฉายรังสีในปริมาณไม่เกิน 1 พันเกรย์ ไม่ต้องทดสอบความปลอดภัย เมื่อเทียบกับปริมาณรังสีที่สหรัฐกำหนดให้ฉายรังสีเพื่อนำเข้าผลไม้ที่ 400 เกรย์นั้น เป็นปริมาณที่น้อยกว่าถึง 25 เท่า
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี หลังจากตลาดสหรัฐเปิดรับผลไม้ไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในมาตรฐานการส่งออกผลไม้สดของไทย ทำให้หลายประเทศมั่นใจในคุณภาพ และเริ่มมีดีมานด์มา
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นตลาดใหม่อีก 2 แห่งที่กำแพงการกีดกันสูงมาก เงื่อนไขในการนำเข้าผลไม้มากมายจนไทยยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้ จนกระทั่วความสำเร็จในการเข้าตลาดสหรัฐ ทั้ง 2 ประเทศนี้จึงติดต่อมาหวังนำเข้าผลไม้ไทยที่ใช้การฉายรังสีเช่นกัน โดยนำร่องที่ลำไยและลิ้นจี่ฉายรังสี
เพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณภาพชีวิต
ปี 2557 ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจเยี่ยมกระบวนการฉายรังสี และรับรองกระบวนการฉายรังสีของศูนย์ฉายรังสี ภายใต้ สทน. จากนั้นก็รับรองสุขอนามัยของลำไยและลิ้นจี่แล้วในช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา
"ปัจจุบัน กระบวนการต่างๆ เป็นที่ยอมรับสำหรับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แล้ว และอยู่ระหว่างรอผู้ประกอบการที่ต้องการมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice) ที่ 2 ประเทศยอมรับ ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจ เพราะถือเป็นตลาดใหม่ที่มีดีมานด์ ซึ่งคาดว่า ปี 2558 นี้ ลำไยและลิ้นจี่ฉายรังสีของไทยจะพร้อมเข้าไปขายในตลาด 2 แห่งนี้"
ผู้จัดการศูนย์ฉายรังสี สทน. แย้มว่า นอกจาก 2 ประเทศที่สนใจ ตลาดสหรัฐยังมีแผนที่จะเพิ่มผักและผลไม้สดไทยในการเข้าไปวางจำหน่ายในสหรัฐ อาทิ ส้มโอ ฝรั่ง มันหรือเผือก โดยอยู่ระหว่างช่วงพิจารณาความเสี่ยงของโรคและแมลง
ดร.พิเชฐกล่าวว่า ความพยายามแก้ปัญหาการกีดกันการนำเข้าอาหาร สมุนไพรและผลไม้ส่งออกไทยในตลาดสหรัฐและยุโรป ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์นี้ โดยเฉพาะเมื่อสามารถเปิดตลาดใหม่ในประเทศที่ไม่เคยมีการนำเข้าผลไม้ไทยมาก่อน อย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ คาดจะทำให้มูลค่าการส่งออกผลไม้ไทยเพิ่มเป็น 2.3 พันล้านบาทจากปี 57 ที่มีมูลค่าราว 1 พันกว่าล้านบาท
นอกจากนี้ รมว. วิทยาศาสตร์ฯ ยังกล่าวถึงข้อกังวลเรื่องกิจกรรมด้านนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงเหตุฉุกเฉินทางรังสีและนิวเคลียร์ที่อาจกระทบไทย ว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส. ) มีมาตรการเฝ้าระวังรังสีเพื่อความปลอดภัยของประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง โดยระดับการเตือนภัยเป็นไปตามมาตรฐานของ IAEA ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันและพร้อมดำเนินการตลอดเวลา
ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย