จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"วินิตย์" รองผู้ว่าฯสมุทรสาคร ชี้ทบทวนหาพันธ์ุแก้กล้วยไม้ใหม่ แก้ล้นตลาดราคาตกต่ำ "หนุนใช้งานในประเทศมากขึ้น"
นายวินิตย์ ปิยะเมธาง รอง ผวจ.สมุทรสาคร ในฐานะตัวแทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร คาดหวังจะบริหารงานหนุนผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออก หลังพบว่า จังหวัดสมุทรสาครมีพื้นฐานเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไม้กลุ่มตระกูลหวาย เป็นแหล่งสำคัญของประเทศ จนสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจและทำสร้างรายได้ให้แก่ชาวสวนในจังหวัดเป็นอย่างมาก เช่น ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว(บางส่วน)ซึ่งมีภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่เหมาะสม ดังนั้นจึงอาจสามารถจะพัฒนาการผลิตผลและเพิ่มการตลาดการส่งออกให้แก่ชาวสวนกล้วยไม้ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
“สำหรับพื้นที่มีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนกล้วยไม้ตามบัญชีกล้วยไม้สกุลหวายมีประมาณ 550 ราย มีเนื้อที่เพาะปลูกตามข้อมูลขณะนี้มีทั้งสิ้น 4,629.5ไร่ ส่วนใหญ่จะพร้อมในผลิตขายดอกส่งผู้ประกอบการแปรรูปขายในประเทศและส่งออกนอกประเทศ ล่าสุดมีบริษัทผู้ส่งออกกล้วยไม้ราว 10 ราย โดยแต่ละปีปริมาณผู้เลี้ยงกล้วยไม้ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศเฉลี่ยกว่า 50% ของพืชผลผลิตที่ได้ ขณะที่ภายในประเทศจำหน่ายประมาณ 45%ทั้งนี้จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและมีแนวคิดจะพัฒนาการผลิตให้เป็นยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาไปสู่กล้วยไม้ อันจะนำไปสู่นิคมการผลิตเพื่อยกระดับฐานะเกษตรกรชาวสวนกล้วยไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
ขณะที่ ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต ผวจ.สมุทรสาคร ได้นำส่วนราชการเข้าร่วมโครงการผู้ว่าสัญจรฯ ออกสุ่มลงสำรวจพื้นที่หมู่ 12ตำบลบางยาง อ.กระทุ่มแบน ตามนโยบายตรวจเยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อพบประกลุ่ม"หมู่บ้านกล้วยไม้บ้านแหลมบางยาง"โดยมีนายวิษณุ สำรวยรื่น กำนันตำบลบางยาง ฐานะหนึ่งในแกนนำเกษตรกรของหมู่บ้านกล้วยไม้แหลมบางยาง นำเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้และตำบลใกล้เคียง ให้การต้อนในเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของสถานการณ์ปัญหาของเกษตรกรที่ผ่านมา ทั้งนี้ก่อนมีข้อเสนอแนะขอให้หน่วยงานภาครัฐช่วยบรรเทาปัญหาแก่ผู้ปลูก เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป
นายวิษณุ กำนันบางยาง ฐานะหนึ่งแกนนำกลุ่มอาชีพผู้ปลูกกล้วยไม้บ้านแหลมบางยาง เผยว่า จากอดีตในพื้นที่ดังกล่าวมีเพียงสวนที่ผู้ปลูกพืชผักผลไม้และองุ่น เพื่อส่งขายสู่ท้องตลาดผ่านพ่อค้าคนกลางทั่วไป ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกกล้วยไม้แทนตั้งแต่ประมาณปี2510ทำให้กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่น ทำรายได้แก่เกษตรกรในตำบล ซึ่งในส่วนของปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ในอำเภอกระทุ่มแบน ขณะนี้กำลังประสบกันอยู่ เช่น กล้วยไม้มีปริมาณมากเกินทำผลผลิตล้นตลาด และราคาตกต่ำเรื่อยๆ ตลอดจนไม่สมดุลกับความต้องการมาต่อเนื่อง กระทั่งต้องประสบภาวะขาดทุนหลายราย
นอกจากนี้ยังมีปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำแหล่งน้ำจืด มีศัตรูพืชและแมลง แม้ที่ผ่านมามีหน่วยงานรัฐเข้ามาให้ความช่วยเหลือ เช่น ฉีดพ่นยา แนะนำสารที่ใช้ยาฆ่าแมลงแต่ก็ไม่ได้ผลระยะยาว ทั้งนี้จึงมีความต้องการช่วยกระดับอาชีพ อาทิ ขอโครงการสนับสนุนสายพันธุ์ใหม่ๆ และขยายความต้องการด้านตลาด เพื่อสามารถต่อยอดผลิตได้ต่อไป ตลอดจนส่งเสริมตลาดส่งออกกล้วยไม้ทั้งในและต่างประเทศ
ผวจ.กล่าวว่า มีประเด็นสำคัญหนึ่งที่เกษตรกรต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเอง เช่น การพัฒนาสายพันธุ์แปลกใหม่ๆเข้ามา เพื่อเพิ่มด้านคุณภาพสินค้าให้ดีกว่าอดีต ซึ่งเพาะเลี้ยงกันแบบเดิมๆ คงค่อนข้างลำบาก จึงต้องเพิ่มความรู้และความเข้าใจแก่สมาชิกถึงตลาดความต้องการกล้วยไม้ อันจะทำให้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อไป ทั้งนี้สำหรับปัญหาราคาตกต่ำจากภาวะล้นตลาดนั้น จะส่งเสริมให้ภาคส่วนราชการและภาคเอกชน ร่วมใจกันสร้างกระแสใช้กล้วยไม้ในงานต่างๆและงานสำคัญๆทั้งงานมงคล เพื่อช่วยด้านรายได้แก่ชาวสวน พร้อมให้เกษตรกรต้องหันกลับไปมองพื้นฐานตั้งแต่เริ่มแรกตลอดจนทบทวนคำนึงถึงการเพาะปลูกควบคู่แนวภูมิปัญหาท้องถิ่น ที่มีแผนงานแก้ปัญหาของตนเองด้วย”
ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,ไร่รักษ์ไม้สวนศิริผล,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,สินค้าเกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต