จากประชาชาติธุรกิจ
เสร็จ สิ้นจากภารกิจรับฟังนโยบายพลังงาน ของนอร์เวย์ที่กรุงออสโลแล้ว คณะของเรามีโปรแกรมเดินทางไปดูงานภาคสนามที่ เมืองเบอร์เกน เมืองท่าสำคัญชายทะเลตะวันตกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของนอร์เวย์ หรือรู้จักกันในนาม City of the Seven Mountains บริหารโดยเทศบาล Hordaland ประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 275,000 คน
เบอร์เกนก่อตั้งมา แล้วกว่า 900 ปี เป็นศูนย์กลางการค้าของยุโรปเหนือ แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตลาดค้าปลาและอาหารทะเล สินค้าพื้นเมือง งานศิลปะตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์รวมการขุดเจาะน้ำมันของนอร์เวย์ด้วย สัญลักษณ์ที่คลาสสิกของเบอร์เกน คือ ห้องแถวสูง 3 ชั้น จำนวน 61 หลัง ที่สร้างด้วยไม้ทาสีขาว แดง เหลือง เขียว จั่วหน้าสามเหลี่ยม มนต์เสน่ห์อยู่ตรงด้านหน้าตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปหัวกวาง รูปแคปริคอน หรือม้ามังกร และรูปตุ๊กตาต่าง ๆ เรือนแถวเบอร์เกนที่งดงามสร้างตามหลักฮวงจุ้ยเป๊ะ...หน้าทะเลหลังภูเขาสูง ตระหง่าน มิน่าเล่าจึงยืนยาวมาเกือบ 1,000 ปี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเรียบร้อยแล้ว
ช่วง นี้อากาศเบอร์เกนเย็น อุณหภูมิลดลงเฉียดเลขตัวเดียว เมฆหมอกขาวโพลนลอยต่ำปกคลุมทั้งเมืองมองไม่เห็นดวงตะวัน แต่คณะของเราโชคดีเหมือนมีเทวดา รู้ว่าเราอยู่แค่ข้ามคืนช่วงเย็นจึงแหวกเมฆหมอกออกเป็นช่อง เปิดทางให้พระอาทิตย์สาดแสงใกล้อัสดงมาฉาบทาบเรือนแถวบริกเกน อุ๊...แม่เจ้า...งดงามจริง ๆ
เป้าหมายที่เบอร์เกนคือ ดูงานการใช้พลังงาน LNG พลังงานสะอาด พลังงานอนาคตของ ปตท.ที่มองไว้ LNG ชื่อเต็ม Liquefied Natural Gas ก๊าซธรรมชาติเหลว องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนที่ผ่านกระบวนการแยกเอาสิ่งปลอมปนและองค์ ประกอบต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ปรอท กำมะถัน ออกแล้วทำให้เป็นของเหลวด้วยความเย็นระดับติดลบ 161 องศาเซลเซียส เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง เมื่อต้องการแปรสภาพกลับเป็นก๊าซต้องเพิ่มความร้อนเข้าไป ฉะนั้น LNG จึงเป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่เป็นพิษ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นก๊าซที่มีคุณภาพสะอาดมาก
นอร์เวย์ใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันกับเรือเฟอร์รี่ ที่ให้บริการประชาชนตามเมืองเล็กเมืองน้อยที่ทอดตัวตามฟยอร์ด(Fjord) ขนาดเรือเฟอร์รี่ระดับ "น้อง ๆ" เรือเดินสมุทร และเป็นเชื้อเพลิงใช้กับรถบรรทุก รถโดยสาร โดยมีบริษัท LMG Marin บริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของยุโรป มีอายุไม่ต่ำกว่า 70 ปี เป็นคนบุกเบิกทดลองใช้
ที่ท่าเทียบเรือ Gravifloat บริษัทในเครือ LMG Marin เจ้าหน้าที่กำลังเติม LNG หัวจ่าย LNG ต่อเข้าท่อรับของเรือเฟอร์รี่ ระหว่างมันทำงานเกล็ดความเย็นสีขาวโพลนห่อหุ้มหัวจ่ายทำให้รู้สึกได้ถึงของ เหลวที่อุณหภูมิติดลบ 161 องศาเซลเซียสกำลังไหลผ่าน ช่วงเวลานั่งเรือเฟอร์รี่ที่ใช้ LNG ขอแนะนำให้ออกไปสูดอากาศท้ายเรือแล้วจะรู้ว่า "ไม่มีกลิ่น" ไม่เหมือนกับนั่งเฟอร์รี่ที่ใช้น้ำมัน ผมมีประสบการณ์มาแล้วกับเรือเฟอร์รี่ฟินแลนด์
รถโดยสารที่ ใช้ LNG มีกระบวนการเช่นเดียวกับนำ LNG มาแปรสภาพเป็นก๊าซแล้วเติมเข้าถังรถเมล์ กลไกไม่ซับซ้อนคิดง่าย ๆ เหมือนเติมน้ำมันบ้านเรา ปตท.วางแผนสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศ โดยจะนำ LNG มาเป็นเชื้อเพลิงแทนก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับประชาชนใน อนาคต เพราะแหล่งก๊าซธรรมชาติปัจจุบันกำลังจะหมด (กรณีไม่ให้สัมปทานขุดค้นปิโตรเลียมเพิ่มเติม) ตามแผนประมาณปี 2573 จะใช้ LNG ประมาณ 59% ของการจัดหาก๊าซทั้งหมด ใช้ก๊าซธรรมชาติเพียง 41%
เป็น ที่รู้กันดีว่า การผลิตกระแสไฟฟ้าของเมืองไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 70% ของทั้งหมด ใช้ถ่านหินและลิกไนต์ 20% ใช้พลังน้ำ 2% รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากลาว 2% พลังงานหมุนเวียน 1% และโอกาสที่ทางการจะสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม นั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญราวเข็นครกขึ้นภูเขา เพราะต้องเจอกับกระแสต่อต้านจากสารพัด NGO สารพัดเครือข่าย ฯลฯ
มอง ตามรูปการณ์ในอนาคตอันใกล้ ไทยจะเป็นผู้นำเข้า LNG รายใหญ่รายหนึ่งของเอเชีย ซึ่งปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นถือเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดประมาณ 50% ทั้งหมด เกาหลีใต้ ไต้หวันรวมกัน 15% ปตท.ได้ลงทุนก่อสร้างคลังรองรับการนำเข้า LNG จากต่างประเทศมามาบตาพุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เริ่มนำเข้าตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันนี้นำเข้ามาแล้ว 4.25 ล้านตันนอกจากนี้ เริ่มทดลองใช้ LNG เรือโดยสารคลองแสนแสบ ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ในทรรศนะของผมเจ้าของเรือด่วนสามารถใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาภาพลักษณ์ตัวเอง ได้เลย อย่างเช่น "เรือด่วนใช้พลังงานสะอาดไม่ปล่อยมลพิษ มีแต่มลพิษของคลองแสนแสบ"
LNG จัดเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการรั่วไหลจะแพร่กระจายในอากาศได้อย่างรวดเร็ว เพราะจะระเหยกลายเป็นไอโดยไม่มีการตกค้างในน้ำหรือดิน อีกทั้งปล่อยมลพิษต่อหน่วยพลังงานในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า และการสันดาปเครื่องยนต์รถยนต์ต่ำ LNG น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบขนส่ง
สวนรักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต