จาก โพสต์ทูเดย์
แรงงานชาวบางระกำคืนถิ่นรับจ้างทำนาปรังโยนกล้ารับค่าแรงวันละ 300 บาท
เกษตรกรพื้นที่ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เริ่มลงมือเพาะปลูกทำนาปรัง หลังจากระดับน้ำแม่น้ำยมลดลงมาก โดยก่อนหน้านี้นาข้าวกว่า 1 แสนไร่ ถูกใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงกักเก็บน้ำไว้จนม่สามารถทำนาได้ ทำให้ชาวบางระกำส่วนหนึ่งอพยพไปทำอาชีพรับจ้างทั่วไปตามเมืองใหญ่ ๆ เพื่อหารายได้ แต่เมื่อระดับน้ำลดก็กลับมาที่ภูมิลำเนาบ้านเกิดเพื่อลงมือเพาะปลูกทำนา ข้าว นอกจากนี้ยังได้ทำอาชีพรับจ้างโยนกล้า เป็นอาชีพเสริม
นางมาริน แก้วดวงเล็ก ชาวบางระกำ ซึ่งมารับจ้างเพาะต้นกล้าและโยนกล้าในนาข้าว กล่าวว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ชาวนาในอ.บางระกำ นิยมทำนาข้าวแบบนาโยน เนื่องจากสามารถลดต้นทุนได้มาก ส่วนใหญ่เจ้าของนาจะจ้างคนเพาะกล้าและโยนกล้า เจ้าของนาจะลงทุนเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่ต้องการ แล้วมาจ้างเพาะกล้า ในราคาถาดละ 7 บาท เมื่อต้นกล้าอายุได้ 10 วัน ก็จะนำมาโยนในนาข้าว จ้างแรงงานโยนกล้า อีกวันละ 300 บาท ซึ่งหากนาข้าวจำนวนมาก ๆ ต้องใช้เวลานาน ก็จะมีจ่ายค่าล่วงเวลาให้
ด้านนางศศิริญญากร ควรชม เจ้าของนาข้าวในบางระกำ กล่าวว่า ตัดสินใจเปลี่ยนจากการทำนาข้าวแบบนาหว่านมาเป็นนาโยน เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากนาข้าวประสบปัญหาข้าววัชพืชอย่างหนัก แต่เมื่อเปลี่ยนวิธีการทำนามาเป็นนาโยน ก็แก้ปัญหาข้าววัชพืชได้ ที่สำคัญคือลดต้นทุนการทำนาได้มากกว่าครึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการจ้างคนเพาะกล้า และจ้างแรงงานมาโยนกล้าถึงวันละ 300 บาทก็ตาม
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต