กรมธรณีจับตารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน
จาก โพสต์ทูเดย์
กรมธรณีจับตารอยเลื่อนที่แม่ฮ่องสอนหลังเกิดดินไหวในพม่าเชื่อจะเกิดอาฟเตอร์ช๊อคตามมา
กรมธรณีจับตารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน
นายเลิศสิน รักษาสกุลวงษ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.6 ริกเตอร์ ที่ประเทศพม่า ซึ่งอาคารสูงในกม.รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเพราะมีพื้นที่เป็นดินอ่อน หลังจากนี้คาดว่าจะมีอาฟเตอร์ช็อคเกิดขึ้นตามมา แต่ไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวนี้มากนัก
"แผ่นดินไหว นี้เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนสาขาย่อยของรอยเลื่อนสะแกงที่อยู่ห่างจากรอยเลื่อน หลัก200กิโลเมตร แต่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากในประเทศไทยมีรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนที่มี การขยับตัวอยู่แล้วและหลังจากนี้ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบหรือ ไม่ส่วนอาคารสูงที่มีความรู้สึกได้ประชาชนควรแจ้งเจ้าหน้าที่วิศกรรมเข้ามา ตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย" นายเลิศสินกล่าว
นายเป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) กล่าวว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากลอยเลื่อนที่เรียกว่า สะแกงมีขนาดประมาณ6.5-6.8 ริกเตอร์ ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดปานกลางค่อนข้างใหญ่ ซึ่งรอยเลื่อนนี้จะอยู่เหนือเมืองมัณฑะเลย์ของพม่าคาดว่า ประมาณ70กิโลเมตร โดยศูนย์กลางการเกิดครั้งนี้น่าจะมาจากเมืองเล็กๆใกล้กับมัณฑะเลย์และคิดว่า น่าจะมีความเสียหายต้องติดตามกันอีกรอบ
ตามสถิติแล้วรอยเลื่อนสะแกงหรือที่พม่าเรียกว่าสะเกียงนั้นในรอบ100 ปีจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 7 ริกเตอร์ประมาณ 7-10 ครั้ง จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กกว่านั้นได้อีกคือประมาณ 6.5 - 6.8 ริกเตอร์ ซึ่งบริเวณรอยเลื่อนแห่งนี้จะเกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆและครั้งนี้น่าจะเกิดความ เสียหายพอสมควร" ดร.เป็นหนึ่งกล่าว
กรมธรณีฯแจงแผ่นดินไหวพม่า'รอยเลื่อนสะแกง'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สำนักธรณีวิทยาระบุแผ่นดินไหวพม่า จากรอยเลื่อนสะแกง ส่วนตึกสูงกทม.ไหวเหตุเป็นพื้นที่อ่อน เตือนจะมีอาฟเตอร์ช๊อก อีก
ข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยบัติแห่งชาติรายงานว่าเมื่อเวลา08.12น.เกิดเหตุแผ่นดินไหวบนบกบริเวณปนะเทศพม่าขนาด6.8ริกเตอร์ความลึก10กิโลเมตรห่างจากอำเภอปางมะผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน 456 กิโลเมตรนั้น
นายเลิศสิน รักษาสกุลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่ในกทม.โดยเฉพาะตึกสูงมีความรู้สึกเนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวค่อนข้างรุ่นแรงและมีขนาดใหญ่ซึ่งกทม.มีพื้นที่เป็นดินอ่อนทำให้สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากระยะใกล้ได้มากและหลังจากนี้คาดว่าจะมีอาเตอร์ซ้อกเกิดขึ้นแต่การรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในกทม.จะรู้สึกได้น้อยลงและเชื่อว่าประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวนี้มากนัก
แผ่นดินไหวนี้เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนสาขาย่อยของรอยเลื่อนสะแกงที่อยู่ห่างจากรอยเลื่อนหลัก200กิโลเมตร แต่ต้องจับตาอย่สงใกล้ชิดเนื่องจากในประเทศไทยมีรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนที่มีการขยับตัวอยู่แล้วและหลังจากนี้ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ส่วนอาคารสูงที่มีความรู้สึกได้ประชาชนควรแจ้งเจ้าหน้าที่วิศกรรมเข้ามาตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
จับตารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน วางแนวระนาบเดียวกับสะแกง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
จับตารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน วางแนวระนาบเดียวกับสะแกง กรมธรณี คอนเฟริ์มแผ่นดินไหวพม่าที่รอยเลื่อนสะแกง ขนาด 6.8 ริกเตอร์ ห่วงกระทบรอยเลื่อนไทย
นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรธรณี ได้ตรวจสอบจุดศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่า เมื่อเวลา 8.12 น. แล้วว่าเกิดตรงบริเวณรอยเลื่อนสะแกง ของพม่า ไม่ได้เกิดจากรอยเลื่อนแขนงหรือรอยเลื่อนสาขาแต่อย่างใด โดยมีขนาด 6.8 ริกเตอร์ ที่ระดับความลึกจากผิวดินลงไปเพียง 9.8 กม. และเป็นสาเหตุทำให้คนกรุงเทพมหานครที่อยู่บนตึกสูง ตั้งแต่ความสูง 9 ชั้นขึ้นไป จึงรับรู้ถึงแรงสั่นไหวอย่างรุนแรง และกว้างขวางมากกว่าคราว การเกิดแผ่นดินไหวในรัฐฉาน ของพม่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2554 ที่มีขนาด 6.8 ริกเตอร์เหมือนกัน ทั้งที่กทม.อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึง 1,100 กม.
“เป็นที่รับรู้กันว่ารอยเลื่อนสะแกง ของพม่า มีศักยภาพที่จะเกิดแผนดินไหวขนาดใหญ่ได้ ขนาด 7-8 ริกเตอร์มาแล้ว ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวที่พม่าที่ระดับ 6.8 ริกเตอร์ติดต่อกัน ทำให้กรมทรัพยากรธรณี ต้องจับตารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน 1 ใน 14 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ที่อยู่ห่างจากรอยเลื่อนสะแกงราว 400 กม.นั้น มีการวางตัวในทิศทางเดียวกันกับรอยเลื่อนสะแกง เมื่อเกิดการขยับแบบระนาบเหลื่อมขวา ชั้นหินที่ด้านใต้จะถูกบีบอัด และทำให้เกิดการโก่งได้ง่าย จึงอาจส่งผลกระทบในทิศทางที่มีแนวรอยเลื่อนพาดผ่าน เพราะถ้ารอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนมีการขยับเมื่อไหร่ก็จะกระทบมาถึงรอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่ทา อีกด้วย”
นายเลิศสิน ยอมรับว่ากรมทรัพยากรธรณี ยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดเฝ้าติดตามพฤติกรรมของรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน เพราะอยู่ในขั้นเตรียมจะดำเนินการติดตั้งในช่วงปลายปีนี้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลจากเครื่องวัดจากรอยเลื่อนแม่เมย ที่พาดผ่านในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้จากสถิติในอดีตรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน เกิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 3 ริกเตอร์ ยกเว้นบริเวณเคยเชื่อมต่อในพม่า เคยเกิด 4 ริกเตอร์กว่าๆมาแล้ว ขณะที่รอยเลื่อนเมย เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ในช่วงปี 2518 และทำให้คนที่อยู่ในตึกชั้น 3 ก็สามารรับรู้ถึงแรงส่ันสะเทือนได้
สำหรับรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนนั้น มีความยาวของแนวรอยเลื่อน 200 กม.พาดผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก ส่วนรอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตังต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่าต่อจากห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาจากผ่านจ.กำแพงเพชร นครสวรรค์ จนถึงอุทัยธานี รวมความยาว 250 กม. และเคยมีรายงานแผ่นดิน 2 ครั้งคือวันที่ 23 ก.ย.2476 ที่อ.แม่สอด จ.ตาก และ 23 ก.พ.2518 ที่อ.ท่าสองตาก จ.จตาก ขนาด 5.6 ริกเตอร์
รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ