จาก เดลินิวส์ออนไลน์
กองทุนฟื้นฟูฯ เร่งแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรด้วยชำระหนี้แทนตามโครงการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเเบ่งจ่ายอย่างละครึ่งทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยควบคู่กับการฟื้นฟูอาชีพตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 16,702 ราย คิดเป็นเงิน 120,395,600 บาท
นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยความคืบหน้าการส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพของเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงผ่านมาตรการต่าง ๆ ว่าปัจจุบันการพิจารณาแผนหรือโครงการที่เกษตรกรสมาชิกยื่นขออนุมัติโครงการ ในประเภทต่าง ๆ นั้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรโดยการชำระหนี้แทนเกษตรกร ขณะนี้มีจำนวนกว่า 2 หมื่นราย เป็นเงินจำนวนเกือบ 4,000 ล้านบาท และสามารถรักษาที่ดินทำกินได้เกือบแสนไร่
“จากข้อมูลล่าสุด (ณ วันที่ 30 เมษายน 2555) มีการอนุมัติและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรไปแล้วจำนวน 356 โครงการ จากที่เสนอมาทั้งหมด 846 โครงการ คงเหลือ 490 โครงการมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 16,702 ราย เป็นเงิน 120,395,600 บาท โดยที่เหลือจะเร่งอนุมัติให้เร็วที่สุดเพื่อพี่น้องเกษตรกรจะได้พัฒนาอาชีพ ของตนในอนาคต” นายสมยศกล่าวด้านนายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวเสริมว่าสำหรับการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตาม พ.ร.บ. 7 เมษายน 2553 ที่กฟก. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการภายใต้นโยบายของรัฐ โดยมีเป้าหมายปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรประมาณ 510,000 รายนั้นได้แบ่งเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ กฟก. ที่ขึ้นทะเบียนเเล้ว ประมาณ 8 หมื่นราย กลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของ กฟก. ประมาณ 3.5 แสนรายและกลุ่มที่เป็นหนี้นายทุนเเละสถาบันการเงินอื่น ๆ ประมาณ 8 หมื่นราย
นอกจากนี้ กฟก.ยังได้การวางเเผนการ ดำเนินงานช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเบื้องต้น ซึ่งกฟก.เป็นผู้ประสานงานปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีการเเบ่งภาระหนี้เป็น 2 ส่วน คือ เงินต้น 50 เปอร์เซ็นต์ ดอกเบี้ย 50 เปอร์เซ็นต์ และจะแบ่งชำระเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินต้นให้หมดภายในระยะเวลา 15 ปี หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพ เพื่อพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นายประยงค์กล่าวอีกว่าในส่วนการเบิกจ่ายเงินให้แก่องค์กรเกษตรกรทั่ว ประเทศนั้น ที่ผ่านมาการอนุมัติจาก กฟก. ในงบฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และเข้าศูนย์ฝึก อบรมแล้ว รายละ 7,000 บาท ประมาณ 2 พันกว่าราย รวมงบประมาณไม่น้อยกว่า 14 ล้านบาท และ กฟก. ได้สั่งการให้หัวหน้าสาขา กฟก. ทั่วประเทศลงพื้นที่เพื่อชี้แจงรายละเอียดให้สมาชิกและผู้นำองค์กรเกษตรกร ทราบ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดทำเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินให้มีความ ถูกต้องและเข้าใจถึงหลักเกณฑ์การใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบ หลังจากนั้น กฟก. ได้มีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานทั่วประเทศ
ล่าสุดสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดจันทบุรีได้ จ่ายเงินงบอุดหนุนให้กับองค์กรเกษตรกรต่าง ๆ เช่น กลุ่มสัจจะพัฒนาการเกษตรบ้านสามหนาด ศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จ.ระยอง สหกรณ์การเกษตรแหลมสิงห์ จำกัด ศึกษาดูงานการปลูกผักปลอดสารพิษและการรวบรวมผลผลิต ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้านโครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครราชสีมา ถือเป็นการจุดประกายความคิดในการนำมาปรับใช้กับการประกอบอาชีพของเกษตรกรต่อ ไปในทุกกิจกรรม โดยมีหัวหน้าสำนักงาน กฟก. และพนักงานที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม และติดตามอย่างใกล้ชิด.
รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ