DSIพบพิรุธระบายสต็อกข้าวรัฐบาลมาร์ค
จาก โพสต์ทูเดย์
"ธาริต"แถลงพบพิรุธระบายสต็อกข้าวช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ชี้ส่งออกนอกไม่เป็นไปตามสัญญา พร้อมส่งเรื่องให้ป.ป.ช.สอบต่อ
เมื่อวันที่ 25 ก.ค. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมาสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบ กรณีการระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล ในช่วงปี 2553 ว่า หลังมอบหมายให้สำนักคดีความมั่นคง ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงการระบายข้าวสาร ในสต็อกของรัฐบาลช่วงเดือนก.ค.-ธ.ค. 2553 (สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) พบว่ามีปริมาณการระบายข้าวสารเฉพาะรายที่ทำสัญญา กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และองค์การคลังสินค้า (อ.ค.ส.) ออกจากสต็อกประมาณ 3.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 44,268 ล้านบาท
จากการตรวจสอบของดีเอสไอพบว่า โครงการดังกล่าวไม่มีการออกประกาศกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการ รวมทั้งไม่มีการออกประกาศ กำหนดชนิดข้าวสาร ปริมาณ ตลอดจนสถานที่เก็บรักษาข้าวสาร ให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่ได้เข้าร่วมโครงการระบายข้าวสาร
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเจรจาต่อรอง ซื้อ-ขายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลกับผู้ประกอบการเอกชนจำนวน 11 ครั้ง ซึ่งมีปริมาณการซื้อขาย ในแต่ละครั้งสูงเกินกว่า 100,000 ตัน จึงไม่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ ที่กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ไว้ให้จำหน่ายให้แก่เอกชนเพื่อการส่งออกครั้งหนึ่ง จำนวนไม่เกิน 100,000 ตัน แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังคงพิจารณาอนุมัติให้ทำการจำหน่ายได้
นายธาริต กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลการส่งออกข้าว จนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 2554 พบว่าผู้ประกอบการที่ได้เข้าทำสัญญา และรับมอบข้าวสารตามสัญญาแล้ว ไม่ได้ส่งข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศตามสัญญา มีปริมาณถึง 922,195 ตัน หรือคิดเป็น 26.66% ของปริมาณข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลที่มีการระบายไปในช่วงเวลาดังกล่าว โดยพบว่ามีผู้ประกอบการ 4 ราย ไม่ได้ส่งข้าวสารตามสัญญาไปจำหน่ายต่างประเทศ และอีก 4 รายมีการส่งออกข้าวสารไปน้อยกว่าปริมาณตามสัญญา
ดีเอสไอยังพบข้อเท็จจริงว่าในช่วงเวลาเดียวกัน มีการอนุมัติให้ทำการจำหน่ายข้าวสารเก่า ค้างสต็อกของรัฐบาลเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ จำนวนประมาณ 8,882 ตัน มูลค่า 47 ล้านบาทให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน 1 ราย โดยคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ไม่มีการออกประกาศเชิญชวน ให้ผู้สนใจเข้าร่วมยื่นซองเสนอราคา ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก กลายเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับนักการเมือง จากข้อเท็จจริงทั้งหมด ดีเอสไอได้ส่งข้อมูลให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการ ไต่สวนในส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดีเอสไอพบพิรุธขั้นตอนการระบายสต๊อกข้าว ช่วงปี2553 ส่งต่อ ป.ป.ช.ไต่สวน
เมื่อวันที่่ 25 กรกฎาคม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลในช่วงปี 2553 หลังมอบหมายให้สำนักคดีความมั่นคง ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลช่วงเดือน ก.ค.-ธ.ค.2553 พบมีปริมาณการระบายข้าวสารเฉพาะรายที่ทำสัญญากับองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ออกจากสต๊อกประมาณ 3.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 44,268 ล้านบาท
นายธาริตกล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวต้องมีการทำงานตามกรอบยุทธศาสตร์ และเจรจาต่อรองกับผู้เสนอราคา แต่การตรวจสอบของดีเอสไอพบในโครงการดังกล่าวปรากฏว่า ไม่มีการออกประกาศกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการ ทั้งไม่มีการออกประกาศกำหนดชนิดข้าวสาร ปริมาณ ตลอดจนสถานที่เก็บรักษาข้าวสารให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าว ส่งผลต่อผู้ประกอบการหลายรายที่ไม่ได้เข้าร่วม
นายธาริตยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการเจรจาต่อรองซื้อขายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลกับผู้ประกอบการ เอกชนจำนวน 11 ครั้ง ที่มีปริมาณการซื้อขายในแต่ละครั้งสูงเกินกว่า 100,000 ตัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ ที่กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ไว้ให้จำหน่ายให้แก่เอกชน เพื่อการส่งออกครั้งหนึ่ง จำนวนไม่เกิน 100,000 ตัน แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังคงพิจารณาอนุมัติให้ทำการจำหน่ายได้
นายธาริตกล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบข้อมูลการส่งออกข้าวจนถึงสิ้นเดือน ธ.ค.2554 พบว่า ผู้ประกอบการที่ได้เข้าทำสัญญา และรับมอบข้าวสารตามสัญญาแล้ว ไม่ได้ส่งข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศตามสัญญามีปริมาณถึง 922,195 ตัน หรือคิดเป็นจำนวนร้อยละ 26.66 ของปริมาณข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล ที่มีการระบายไปในช่วงเวลาดังกล่าว โดยพบว่ามีผู้ประกอบการ 4 ราย ไม่ได้ส่งข้าวสารตามสัญญาไปจำหน่ายต่างประเทศ และอีก 4 ราย มีการส่งออกข้าวสารไปน้อยกว่าปริมาณตามสัญญา
รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ