สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดร.เสรี ห่วงจัดการน้ำไม่ดีจะเจอแล้ง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

 ดร.เสรีห่วงเจอภัยแล้งมากกว่าน้ำ ท่วม เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนจากลานิญญาเป็นเอลนิญโญ แต่เขื่อนต้องพร้อมยืดหยุ่นรับมือสถานการณ์หากเจอปริมาณน้ำเหมือนปีที่ผ่าน มา เพราะหลังลานิญญามักเกิดพายุมาก แต่ไม่ฟันธงว่าพายุจะเข้าไทยหรือไม่ เหตุเทคโนโลยีปัจจุบันคาดการณ์ได้เพียง 7-10 วัน
       
       รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยรังสิต เผยข้อมูลจากแบบจำลองว่าปรากฏการณ์ลานิญญาจะเปลี่ยนสู่ปรากฏการณ์เอลนิญโญใน ช่วงปลายปี 2554 ดังนั้น จึงไม่น่าห่วงเรื่องปัญหาน้ำท่วมนัก หากแต่ก็ไม่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนิ่งนอนใจ เพราะมีความเสี่ยงที่จะมีปริมาณน้ำมหาศาลเช่นเมื่อปีที่ผ่านมา จึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างพอดีๆ
       
       แนวทางการรับมืออย่างพอดีเพื่อไม่ให้เผชิญทั้งปัญหาภัยแล้งหรือน้ำ ท่วมนั้น รศ.ดร.เสรีแนะว่า ในช่วงแรกให้ปล่อยชาวนาทำนาปีเหมือนเดิม ไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะมามาก แล้วให้ทำนาปลังแค่ 1 ครั้ง และเขื่อนที่รับน้ำต้องมีความยืดหยุ่นในการรับมือสถานการณ์ทั้งในกรณีน้ำมาก และน้ำน้อย เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องพายุที่จะเกิดมากขึ้นในช่วงปลายปรากฏการณ์ลา นิญญา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพายุนั้นจะเข้าไทย อาจจะไปทางญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ซึ่งเราจะทราบล่วงหน้าแค่ 7-10 วัน
       
       ส่วนในเรื่องการบริหารจัดการน้ำเมื่อเกิดน้ำท่วมนั้น รศ.ดร.เสรีกล่าวว่า หากไม่มีเส้นทางระบายน้ำ (flood way) การมีแก้มลิง 2 ล้านไร่ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเราต้องบริหารจัดการน้ำ 10,000 ล้านลูกบาศม์เมตร โดยปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการน้ำคือผังเมืองและเส้นทางระบายน้ำ ซึ่งผังเมืองเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาก่อน แต่ปัจจุบันมีเพียง 4 จังหวัดที่มีประกาศผังเมือง พร้อมกล่าวว่าปีนี้ฝนมาเร็ว แต่ปริมาณจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ย
       
       ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยระหว่างการเสวนาวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ผลของน้ำท่วมต่อสุขภาพและงานวิจัยเพื่อรับมือ เมื่อวันที่ 13 ก.พ.55 ณ โรงแรมนารายณ์ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากน้ำท่วมต่อสุภาพ เช่น การศึกษาเรื่องฉี่หนู ซึ่งเป็นโรคที่มากับน้ำเนื่องจากการสัมผัสเชื้อทางอ้อมที่ปนเปื้อนในน้ำ แต่การศึกษาพบว่าน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาไม่พบการระบาดของการติดเชื้อโรคนี้ เป็นต้น


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags :

view