จาก เดลินิวส์ออนไลน์
28 ตุลาคม 2554 น้ำไหลบ่าเข้าท่วมสวนส้มโอที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอพันธุ์ดีที่สุดของประเทศ ทำรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 400-500 ล้านบาทเสียหายไปกว่าร้อยละ 60 จากพื้นที่เพาะปลูกกว่า 5,000 ไร่
พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเกาะ รูปร่างคล้ายกระเพาะหมู ครอบคลุมตำบลทรงคนอง ตำบลไร่ขิง ตำบลท่าตลาด และตำบลบางเตย เมื่อน้ำท่วมทำให้ระบายออกได้ช้าและท่วมขังเป็นเวลานาน ระดับน้ำสูง 1-1.3 เมตรตามระดับความสูงต่ำของพื้นที่ ต้นส้มโอที่อายุต่ำกว่า 5 ปีตายเกือบหมด
การต่อสู้อย่างหนักของชาวบ้านและแกนนำชุมชนที่รักหวงแหนและพยายามปกป้องสาย พันธุ์ที่หายากชุดสุดท้ายนี้เอาไว้คงอยู่ในรุ่นต่อไป ส่งผลให้เกิดกระบวนการในการพูดคุยสื่อสารสู่สาธารณะ กลุ่มงานภาคประชาสังคม และกลุ่มงานวิชาการให้ได้รับรู้ และเห็นถึงคุณค่าในความพยายามของทุกฝ่ายในการเร่งกู้พื้นที่เกาะทรงคนองให้ เร็วที่สุด จึงรวมพลังจัดทำโครงการ “แผนกู้สวนส้มโอสามพราน เกาะทรงคนอง” ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางหลักในการดำเนินการร่วมกันระหว่างชาวสวนส้มโอ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคราชการ
หลังจากนั้นหลายหน่วยงานก็เข้าไปช่วยเหลือทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ทหาร ตำรวจ วิศวกรรมสถาน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสภาวิจัยแห่งชาติ ทำให้ชาวสวนส้มโอมีกำลังใจที่จะปกป้องมากขึ้นร่วมกันสร้างแนวป้องกันโดยการ วางกระสอบทรายยักษ์หรือบิ๊กแบ็กเพื่อเร่งสูบน้ำกู้สวนกันอย่างเต็มที่ ชาวสวนบอกว่าต้นอายุ 10-20 ปีที่จะใช้เป็นต้นพันธุ์ต่อไปรอดสัก 20 เปอร์เซ็นต์ก็พอใจแล้ว
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมานายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นำคณะเข้าไปเยี่ยมชมโครงการกู้ชีวิตสวนส้มโอที่ประสบอุทกภัยที่อำเภอสามพราน ได้กล่าวว่า สาเหตุใหญ่ที่ส้มโอหรือพืชทั่วไปตายจากสภาวะน้ำท่วมขังเกิดจากรากขาด ออกซิเจน วิธีที่ใช้กู้ชีวิตสวนส้มโอ นักวิชาการและชาวสวนจึงเลือกใช้การให้อากาศแก่ราก และให้อาหารทางใบเพื่อให้ส้มโอมีชีวิตยืดออกไปจนกว่าน้ำจะลด หลังจากนี้คณะกรรมการสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาและนักวิจัยของสภาวิจัยแห่ง ชาติจะจัดทำยุทธศาสตร์วิจัยพืชเศรษฐกิจที่เกิดสภาวะน้ำท่วมขังนานอย่างครบ วงจร เพราะอนาคตโอกาสจะเกิดอุทกภัยเช่นนี้น่าจะมีอีกบ่อยครั้ง เพื่อเป็นองค์ความรู้แก่นักวิชาการได้ช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมของประเทศไม่ให้ เสียหายมากเช่นนี้ และจะเป็นประโยชน์กับพื้นที่ที่จะใช้เป็นแก้มลิงในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ เศรษฐกิจในอนาคตต่อไป
รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยนวัตกรรมการผลิตพืช 52 สัปดาห์สู้แล้วรวย ของสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านส้มโอ ซึ่งเป็นชาวสามพรานด้วย บอกว่า ช่วงนี้ผลผลิตส้มโอลดลงแน่นอน เนื่องจากแหล่งปลูกใหญ่ที่มีคุณภาพทั้งที่อำเภอสามพรานและในจังหวัดชัยนาท ต่างได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมก็เป็นโอกาสให้ส้มโอจากแหล่งผลิตอื่นทั้งที่ ชัยภูมิ เชียงราย ปราจีนบุรีและนครนายก เข้ามามีโอกาสในตลาดมากขึ้น
ชาวสวนส้มโอ บอกกับเราก่อนกลับว่า ปลูกส้มโอมาตั้งแต่รุ่นแม่เกือบ 30 ปีแล้ว ไม่เคยเจอน้ำท่วมเท่านี้ ปริมาณน้ำที่มามากขนาดนี้ ไม่ใช่น้ำที่มาตามธรรมชาติแต่ถูกบังคับให้มา กว่าที่เราจะกลับมายืนได้เหมือนเดิมอีกคงใช้เวลาอีกหลายปี อยากให้รัฐบาลหันมาสนใจภาคเกษตรกรรมให้มากกว่านี้
ไม่ใช่มุ่งช่วยแต่ภาคอุตสาหกรรม.
ชาย ปถะคามินทร์
การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก