จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เพจ WOW Thailand ของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”(ททท.) โพสต์ข้อมูล และภาพอินโฟกราฟฟิค รายงานสถานการณ์ป่าไม้ในเมืองไทย ระบุ ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยเหลืออยู่เพียงราว ๆ 32% ลดลงไปเกือบครั้ง หากเทียบกับเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา สำหรับสาเหตุหลักของป่าไม้ที่หายไป มาจากการตัดไม้ทำลายป่า จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การทำลายป่าเพื่อการเกษตรเชิงเดี่ยวตามกระแสทุนนิยม การเติบโตของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อการตัดไม้ทำลายป่า |
||||
ป่าไม้ไทย เหลือแค่ไหน? เปรียบเทียบ % ป่าไม้ที่เหลืออยู่'ประมาณการ'ในปี 2016 กับปี 1946 แบ่งตามรายจังหวัด ราว ๆ 70 กว่าปีก่อน พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 54% ของพื้นที่รวมทั้งประเทศหรือราว ๆ 171 ล้านไร่ แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยเหลืออยู่เพียงราว ๆ 32% เท่านั้น หรือเท่ากับว่าพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยลดลงไปเกือบครึ่งใน 60 ปีที่ผ่านมา หลาย ๆ จังหวัดที่เคยมีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ก็มีพื้นที่ป่าลดลงไปมากจากการตัดไม้ทำลายป่า จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการทำการเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชเชิงเดี่ยว ป่าส่วนมากถูกทำลายไปด้วยกระแสทุนนิยม เช่น การส่งเสริมการปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่าน การเติบโตของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตแต่ก็สร้างมลพิษ และป่ายังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ถึงจะมีการฟื้นฟูป่าแต่คงไล่ตามไม่ทัน แม้ว่าพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะเริ่มกลับคืนฟื้นสภาพในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จากการรณรงค์ของภาครัฐ กฎหมายที่เข้มงวดในการเอาผิดผู้กระทำผิดกฎหมายการทำลายพื้นที่ป่า รวมถึงกลยุทธ์ที่เปลี่ยนไปในการเอาใจใส่สังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชน แต่นั่นก็ได้เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มากเท่ากับที่เคยสูญเสียไป 10 จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตก ประกอบไปด้วย 1.แม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ป่ามากที่สุด 87% 2.ตาก 72% 3.ลำปาง 71% 4.เชียงใหม่ 70% 5.แพร่ 64% 6.กาญจนบุรี 62% 7.น่าน 61% 8.เพชรบุรี 57% 8.ลำพูน 57% 10.อุตรดิตถ์ 56% ทั้งนี้บอกเลยว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาผืนป่าและธรรมชาติอย่างมาก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้สร้างผลกระทบทางตรง รวมถึงเป็นผู้ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือเมื่อมีนักท่องเที่ยวแห่ขึ้นไปดื่มด่ำบรรยากาศบนยอดดอยยอดเขา ความต้องการที่พักที่สะดวกสบายจึงเพิ่มตามไปด้วย ทำให้เกิดการสร้างห้องพักเพื่อสนองความต้องการนักท่องเที่ยว จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้หน้าตาของผืนป่าในวันนี้ เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดในพื้นที่เต็มไปด้วยการก่อสร้างห้องพักแน่นขนัด และนับวันจะขยับขยายกินเนื้อที่ตั้งแต่ยอดไล่ระดับลงมาจนถึงไหล่เขา ปัญหาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อป่าไม้และธรรมชาตินั้น ไม่ใช่แค่ทัศนียภาพที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังกระทบไปถึงสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ดังนั้นการแก้ปัญหาและการ “จัดระเบียบ” จึงต้องทำให้ทันการณ์ ในส่วนของรัฐฯที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ขณะเดียวกันจังหวัดและหน่วยงานต่างๆ จำเป็นต้องปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนที่เสน่ห์ขุนเขา ป่าไม้จะเลือนหายไป หรือก่อนที่จะมีอันตรายเกิดขึ้นจากอาคารที่พักที่ก่อสร้างโดยไม่ได้มาตรฐาน และผลักดันเข้าสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ โดยอาจนำหลักการของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมาใช้ในการดูแลและอนุรักษ์ ซึ่งก็คือสร้างระเบียบการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และหาทางทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนท้องถิ่นดีขึ้นให้ได้ในที่สุด ที่มา : - รายงานสถานการณ์ป่าไม้ พ.ศ. 2558 -2559 จากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร - ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้, Thailand Sustainable Development 2016 หมายเหตุ: รายงานสถานการณ์ป่าไม้ พ.ศ. 2558 -2559 จากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2543 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการแปลพื้นที่ป่า จากเมื่อก่อนใช้แผนที่ในอัตรา 1:250,000 มาเป็น 1:50,000 ทำให้เห็นพื้นที่ป่าได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตัวเลขพื้นที่ป่าไม้ของไทยที่สามารถเปรียบเทียบกันได้จริงจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1. 2516-2541 พื้นที่ป่าลดลงจาก 138,566,875 ไร่ เหลือ 81,076,250.00 ไร่ อัตราลดลงเท่ากับ 2,053,236.61 ไร่ ต่อปี ช่วงที่ 2. 2543-2557 พื้นที่ป่าลดลงจาก 106,319,237.50 ไร่ เหลือ 102,120,417.98 ไร่ อัตราลดลงเท่ากับ 299,915.68 ไร่ ต่อปี |
||||
|
#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox,#victorinox มือสอง,#cutting resistance glove,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต