สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ย้อนรอย 45 ปี พ่อหลวง เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นโบราณวัตถุ ณ บ้านโพธิ์ศรีใน ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน อุดรธานี ด้วยความสนพระทัย เมื่อ 20 มีนาคม 2515
        เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 เวลาบ่าย 2 โมง ท่ามกลางเปลวแดดอันร้อนแรง เสียงเฮลิคอปเตอร์ดังอยู่เหนือหมู่บ้านบ้านเชียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์ โดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน เพื่อทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นโบราณวัตถุ ณ บ้านโพธิ์ศรีใน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน อุดรธานี หลังจากที่ทรงทราบข่าวว่ามีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่นี่เป็นจำนวนมาก
       
        ในครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำรัสถามเจ้าหน้าที่ ว่า “ที่ตั้งใจมาดูอยากจะเห็นสิ่งต่างๆ อยู่ในสภาพเดิมอย่างนี้ ทำไมถึงพบหลุมฝังศพและเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี มากที่นี่”
       
        นอกจากนี้ เมื่อทอดพระเนตรดูโครงกระดูกโบราณด้วยความสนพระทัย จึงมีพระราชดำรัส ต่อว่า “กระดูกนี้เคยใช้ในการพิสูจน์หาอายุได้หรือไม่” ซึ่ง ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ได้กราบบังคมทูล ว่า “การหาอายุกระดูกในต่างประเทศเคยกระทำกัน แต่ประเทศเรายังไม่เคยได้จัดส่งไป คิดว่าค่าส่งคงจะแพง”
       
        ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จึงทรงชี้แนะว่า “ก็ไม่น่าจะสิ้นเปลืองเงินทองมากนัก เพราะเรื่องพิพิธภัณฑ์เป็นแบบสากลระหว่างประเทศ อีกประการหนึ่ง ทั่วโลกคงจะสนใจเรื่องบ้านเชียงนี้มาก ใครๆ ก็อยากจะรู้และให้ความร่วมมือในการหาอายุ ถ้าหาอายุจากกระดูกได้ ก็จะเป็นการเชื่อถือมากขึ้นอีก”
       
        จากกระแสพระราชดำรัสในครั้งนั้น นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีประเภทต่างๆ อย่างละเอียด ระหว่างปี 2517 - 2518 และนำไปศึกษาวิจัยเพื่อตรวจหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ผลปรากฏว่า ใต้ผืนดินชุมชนบ้านเชียงเป็นแหล่งอารยธรรมเมื่อ 5 พันปีมาแล้ว ถือเป็นการค้นพบอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางโบราณคดีของไทยเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ลำดับที่ 359 ของโลก และลำดับที่ 4 ในเมืองไทยเมื่อปี 2535 

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง
        

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
        

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
        

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
บ้านประวัติศาสตร์ของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์
        ก่อเกิดพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
       
        ด้วยความสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ยังเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรหลุมขุดค้นบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯขึ้นบนบ้านของนายพจน์ และรับสั่งถามถึงความเป็นอยู่ของเจ้าของบ้านและประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ 

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
อังคณา บุญพงษ์
        ซึ่ง อังคณา บุญพงษ์ ลูกสาวของ นายพจน์ มนตรีพิทักษ์ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ว่า “ในหลวงตั้งใจมาดูวัตถุโบราณของบ้านเชียง และรับสั่งถามทุกข์สุขของพ่อกับแม่ และประชาชนที่มาเฝ้ากันเต็มใต้ถุนบ้านเลย แม่เล่าให้ฟังว่าดีใจที่สุดที่ได้เฝ้ารับเสด็จฯ”
       
        การเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในครั้งนั้น ทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกบ้านเชียงในฐานะแหล่งโบราณคดี จนกลายเป็นแรงผลักดันให้ประชาชนชาวบ้านเชียงที่เคยเก็บวัตถุโบราณเอาไว้ก็ทยอยนำมามอบให้แก่กรมศิลปากรเป็นจำนวนมาก จนปี 2518 จึงสามารถก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในฐานะพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งโบราณคดีแห่งแรกของประเทศไทย (เปิดทำการอังคาร - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00 - 16.00 น.)
       
       และกลายเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านเชียงที่ช่วยกันรักษาสภาพแหล่งขุดค้นพบโบราณคดีให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในปัจจุบัน
       
        นอกจากนี้ ครอบครัว นายพจน์ มนตรีพิทักษ์ ยังได้มอบบ้านหลังนั้นให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของบ้านเชียง ว่า ครั้งหนึ่ง ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เคยเสด็จฯมาที่แห่งนี้ และในฐานะบ้านเก่าโบราณแบบไทยพวนที่ยังสมบูรณ์อยู่และหาดูได้ยากในปัจจุบัน 

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
โครงกระดูก “คุณทองโบราณ” ที่พบในหลุมขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง
        “คุณทองโบราณ” ชื่อพระราชทานสุนัขบ้านเชียง
       
        ในปี 2547 แหล่งขุดค้นวัตถุโบราณบ้านโพธิ์ศรีใน ได้ขุดค้นพบโครงสุนัขในลักษณะเต็มโครงนอนขดตัวอยู่ในหลุม ดังนั้น พญ.คุณหญิง อัมพร สุคนธมาน พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ กฤษณ์ จันทิก ได้เดินทางมา ณ หลุมขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง และได้นำความไปกราบบังคมทูลเรื่องกระดูกสุนัข
       
       โดย พญ.คุณหญิง อัมพร ได้บันทึกไว้ว่า “พระองค์ท่านได้พระราชทานคำแนะนำให้ดูแลอย่างถูกต้อง ข้าพเจ้ากราบบังคมทูลอีกว่า จะทรงเรียกชื่อเขาว่าอย่างไร มีรับสั่งทันทีว่า “เรียกเขาว่าทองโบราณ” ข้าพเจ้าปลื้มปีติที่สุนัขของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ได้รับพระราชทานนาม “คุณทองโบราณ” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อันหาที่ใดเปรียบมิได้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และชาวบ้านเชียง รวมถึงชาวศิลปากรทั้งหลาย” 

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
ลวดลาย “โฮ่งมัดหมี่ลายคุณทองโบราณ”
        ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงมีให้แก่ชาวบ้านเชียง โดยพระราชทานแนวทางในการอนุรักษ์และดูแลรักษามรดกของชาติ ขณะนี้ทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง จึงได้จัดทำผ้าทอเพื่อจารึกประวัติศาสตร์แห่งความปลื้มปีตินี้ไว้บนผืนผ้าทอไทยพวนอันเป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านเชียงที่สืบทอดกันมานาน 

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
สมบัติ มัญญะหงส์
        โดยขณะนี้ สมบัติ มัญญะหงส์ ได้รับหน้าที่อันสำคัญเพื่อออกแบบลวดลาย “โฮ่งมัดหมี่ลายคุณทองโบราณ” เสร็จสิ้นแล้ว และจะทำการทอขึ้นโดยกลุ่มอาชีพทอผ้าตำบลบ้านเชียงต่อไป เพื่อเป็นที่ระลึกในงานสัปดาห์เฉลิมฉลองงานมรดกโลกบ้านเชียงปีที่ 25 ด้วย 

ย้อนรอย 45 ปี “พ่อหลวง” เสด็จฯบ้านเชียง ที่มาของแหล่งมรดกโลก
นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เปิดงานมหกรรมเปิดโลกอารยธรรมบ้านเชียง
        45 ปี วันอนุรักษ์ฯ
       
        เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีต่อชุมชนบ้านเชียงนั้น ดังนั้น ในวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี ทางจังหวัดจึงจัดให้เป็น “วันมรดกโลกบ้านเชียง” ถึงปีนี้นับเป็นปีที่ 45 แล้ว โดยในวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ชยาวุธ จันทร พ่อเมืองอุดรธานีคนปัจจุบัน พร้อมด้วย สุรพล เศวตเศรณี ที่ปรึกษากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดงาน “มหกรรมเปิดโลกอารยธรรมบ้านเชียง” ณ ลานวัฒนธรรมมรดกโลกบ้านเชียง ต.บ้านเชียง
       
        และภายในงานท่านผู้ว่าฯ ชยาวุธ ได้ประกาศให้เป็น “วันอนุรักษ์มรดกโลกบ้านเชียง” อีกด้วย
       
        “การเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรหลุมขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังความปลาบปลื้มในพระพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่สุดแก่ชาวบ้านเชียงและชาวอุดรธานี ทางจังหวัดจึงพิจารณาเห็นสมควรที่จะประกาศให้วันที่ 20 มีนาคม เป็นวันอนุรักษ์มรดกโลกบ้านเชียง เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาะคุณของทั้งสองพระองค์ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวอุดรธานี”
       
        ซึ่งตลอดทั้งปี ทางอุดรจะจัดกิจกรรมต่อยอดด้านศิลปวัฒนธรรมมากมาย อาทิ การจัดสัมมนาเชิงวิชาการ workshop ต่อยอดพัฒนาเรื่องเล่าบ้านเชียงจากปราชญ์หลายแขนง, กิจกรรมประกวดออกแบบศิลปหัตถกรรมบ้านเชียง ฯลฯ รวมถึงยังร่วมพัฒนาให้บ้านเชียงกลายเป็แหล่งท่องเที่ยวอันมีเอกลักษณ์
       
        เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของคุณค่ามรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การบอกต่อ และอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบต่อไป 

eosgear,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ย้อนรอย 45 ปี พ่อหลวง เสด็จฯบ้านเชียง ที่มา แหล่งมรดกโลก

view