สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ข้าวและเกษตรกรไทย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการ ปรับปรุงพันธุ์และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว โดยมีเป้าหมายให้คนไทยทุกภาคส่วนมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค  รวมทั้งเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันที่นำไปสู่ความยั่งยืนของข้าวไทยทั้งระบบ
   
ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช. เล่าว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ทุนทางธรรมชาติและทุนทางสังคมในการผลิตข้าว ในอนาคตเราต้องปฏิรูปการผลิตข้าวไทยไปใช้ทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้งและอุทกภัย นอกจากนี้ คู่แข่งและคู่ค้าข้าวของประเทศไทยต่างเพิ่มการลงทุนการวิจัยและพัฒนา
   
จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอ สวทช. ได้ใช้ความรู้ดังกล่าวในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวตั้งแต่ปี 2532 ภายใต้โครงการความร่วมมือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และในปี 2542 ได้เข้าร่วม      “โครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ” ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านข้าวเชิงลึกของประเทศไทย มีบทบาทสำคัญส่งผลให้การพัฒนาข้าวไทยเป็นไปอย่างก้าวกระโดด มีองค์ความรู้สะสมมากพอที่จะพัฒนา  ผลิตภัณฑ์/บริการได้ทันสถานการณ์ ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีของการพัฒนาข้าวหอมดอกมะลิให้ทนน้ำท่วม ที่ผ่านการทดสอบ การยอมรับของเกษตรกรในหลายจังหวัดมาเป็นระยะเวลา กว่า 3 ปี ข้าวหอมดอกมะลิทนน้ำท่วมดังกล่าวได้ใช้ชื่อว่า “ข้าวหอมชลสิทธิ์” ซึ่งนอกจากทนน้ำท่วมฉับพลันแล้วยังไม่ไวแสง ปลูกได้ในพื้นที่ภาคกลางที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ในปี 2553 มีการปลูกพันธุ์หอมชลสิทธิ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในพื้นที่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และได้เกิดภาวะน้ำท่วมทำให้แปลงข้าวพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จมอยู่ใต้น้ำเป็น เวลา 12 วัน ถึงแม้ว่าข้าวหอมชลสิทธิ์ที่จมอยู่ใต้น้ำไม่ตาย แต่เนื่องจากข้าวอยู่ในระยะตั้งท้องและเริ่มออกดอกพอดี ไม่สามารถผสมเกสรใต้น้ำ จึงทำ ให้เกิดการสูญเสียผลผลิตเมล็ดบางส่วน ในขณะที่พันธุ์หอมปทุมตายทั้งหมด เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้  นอกจากที่ อ.ผักไห่แล้ว มีเกษตรกรที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์เช่นกัน แปลงดังกล่าวได้รับผลกระทบจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลา 7 วัน ภายหลังน้ำลดข้าวหอมชลสิทธิ์ฟื้นตัวได้ดีภายใน 3 วัน ขณะที่พันธุ์ กข 31 ที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ฟื้นตัว นอกจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สวทช. ยังได้ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเศรษฐกิจให้ทนต่อศัตรูพืช เช่น ข้าว กข 6 ต้านทานโรคไหม้ ที่ได้เผยแพร่ให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน เชียงราย และลำปาง และได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553
   
นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ความรู้ด้านดีเอ็นเอถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการค้าการปลอมปนของข้าวหอมดอก มะลิ นำไปสู่วิธีมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ยอมรับ ทำให้ประเทศไทยแก้ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิ รวมถึงการสร้างมาตรฐานคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยทำให้ประเทศไทยส่งออกข้าวหอม มะลิได้เพิ่มขึ้น
   
สวทช. ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือนด้วยการให้ความรู้ผ่าน การฝึกอบรมให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีไว้ใช้ เองในชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมในหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาข้าว ไม่พอกินตลอดทั้งปี เช่น ในพื้นที่ของจังหวัดน่าน สกลนคร และเชียงราย เป็นต้น ผลของการดำเนินงานนำไปสู่การ “มีข้าวพอกิน” และ เกิดอาชีพ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว” จำหน่ายในชุมชน เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
   
...ที่กล่าวมา เป็นเพียงตัวอย่างที่เป็นผลของความพยายามในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อความยั่งยืนของข้าวไทย อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องสร้างมวลวิกฤติทั้งด้านผลงานวิจัยและนักวิจัย เพื่อให้มีองค์ความรู้ด้านข้าวที่ครบวงจรเพียงพอที่จะรองรับต่อการเปลี่ยน แปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กองทุนวิจัยข้าวไทยจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับข้าว ไทย.

Tags : ข้าว เกษตรกรไทย ก้าวไกล เทคโนโลยี

view