สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์ธรรมชาติเพื่อการเกษตร

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

 

ที่ มาของงานวิจัยรองศาสตราจารย์ ดร.ชัชรี นฤทุม ผู้ประสานงาน  สกว.  จังหวัดนครปฐมและชัยนาท กล่าวว่า ที่มาของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร ซึ่งได้รับทุนการสนับสนุนจากฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นี้  มาจากการที่ได้ทราบปัญหาจากเกษตรกรเกี่ยวกับประสิทธิภาพ  ที่แท้จริงและความเชื่อถือได้ของน้ำสกัดชีวภาพสูตรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย  เพราะบางครั้งเมื่อเกษตรกรนำสูตรนั้นมาทำเอง กลับไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของน้ำหมัก ชีวภาพเพื่อการเกษตรสูตรต่าง ๆ  เพื่อเป็นเกษตรทางเลือกอีกทางหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งฝ่ายเกษตร  สกว. เห็นว่าเป็นงานวิจัยที่มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ จึงได้ร่วมมือกับคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ทำวิจัย
   
ผู้อำนวยการวิจัยของโครงการวิจัยนี้ คือ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.ชานันก์ สุดสุข เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายการทำวิจัยของคณะฯ โดยให้เน้นการทำวิจัยที่มีการใช้ประโยชน์ได้จริง  มีประโยชน์ต่อประเทศ และยึดตามพระราชดำริในหลักเศรษฐกิจพอเพียง โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตรสูตร ต่าง ๆ นี้ ได้มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร.จุรีย์รัตน์  ลี สมิทธิ์  เป็นหัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ จิตราภรณ์ ธวัชพันธุ์ เป็นอาจารย์ผู้ร่วมโครงการ และ นายขวัญชัย นิ่มอนันต์ เป็นนิสิตผู้ร่วมโครงการงานวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์ ของนายขวัญชัย นิ่มอนันต์  ผลของงานวิจัยครั้งนี้ทำให้เกษตรกรมีแนวทางในการเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพ 
   
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีแนวโน้มทำการเกษตรผสมผสานและปลอดสารเคมี ดังนั้นน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนของการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว ยัง นำไปสู่การเกษตรที่ไร้สาร ที่ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค แม้ว่ามีการตรวจสอบคุณภาพในด้านต่าง ๆ ของน้ำหมักชีวภาพ  จากหน่วยงานราชการและเอกชนหลายแห่ง แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบน้ำหมักชีวภาพจากต่างสูตรอย่างเป็นระบบ งานวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาเปรียบเทียบน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ  ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครปฐม ในด้านต่าง ๆ คือ คุณสมบัติ ทางกายภาพ  ได้แก่  ความเป็นกรดเป็นด่าง ค่า การนำไฟฟ้าเปอร์เซ็นต์ธาตุหลัก เปอร์เซ็นต์ อินทรีย์คาร์บอน  อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตร เจน   คุณสมบัติทางชีวภาพ  ได้แก่  จำนวนจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ  ทดสอบผลต่อการงอกของเมล็ดพืช  ทดสอบผลต่อการเจริญเติบโตของพืช  ทดสอบความสามารถในการเพิ่มการต่อต้านโรคพืชในแปลงปลูกเลียนแบบเกษตรกร และศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อจุลินทรีย์มีประโยชน์ซึ่งเกษตรกรมักเลือกใช้ ในแปลงปลูก 
   
โดยพืชที่เลือกใช้เป็นพืชทดสอบนั้น    เน้นศึกษาพืชสำคัญของจังหวัดและผักกินสด  ได้แก่  ข้าว  ผักสลัด  ต้นหอม  ผักชีและพริก  ผลจากงานวิจัยนี้จะทำให้เกษตรกรมีข้อมูลเบื้องต้น และใช้เป็นแนวทางในการเลือก ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ  ให้เหมาะกับ  การเพาะปลูกของตนเอง  ต่อไป
      
จากการทดสอบน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ จำนวน 13 สูตร  ซึ่งทดสอบเปรียบเทียบผลต่อการงอกของเมล็ดพืช  ผลต่อการเจริญเติบโตของพืช  และความสามารถในการเพิ่มการต่อต้าน โรคพืช  สรุปได้ 3 ข้อหลัก คือ  ข้อสรุปที่ 1.  การเปรียบเทียบผลผลิตของพืชชนิดต่าง ๆ
   
ข้อสรุปที่ 2. การต่อต้านโรคกุ้งแห้ง  (โรคแอนแทรกโนส) ในพริก (ตามรูป)
   
ข้อสรุปที่  3.  นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้นำจุลินทรีย์จากธรรมชาติ จำนวน  2  สายพันธุ์  ซึ่งผ่านการทดสอบมาแล้วว่า จุลินทรีย์จากธรรมชาติ จำนวน 2 สายพันธุ์นี้  มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญของพืชและต่อต้านโรคพืชได้หลายชนิด ผลการวิจัยพบว่า จุลินทรีย์จากธรรมชาติ จำนวน 2 สายพันธุ์  นี้สามารถใช้งานร่วมกับน้ำหมักชีวภาพได้   ในการส่งเสริมการเจริญของพืชและต่อต้านโรคพืช
   
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานันก์ สรุปว่า คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเรา ยังมีโครงการวิจัยที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอีกมากมาย  ซึ่งพร้อมให้ข้อมูลแก่ ผู้สนใจทุกท่าน  ท่านผู้สนใจสอบถามได้ที่  ดร.อนามัย  ดำเนตร รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ โทร. 0-3428-1105-6 ทุกวันในเวลาราชการ  หรือเยี่ยมชมข้อมูล  ที่  http://www.flas.ku.ac.th
   
กิตติกรรมประกาศ  ขอบพระคุณที่ปรึกษาโครงการวิจัย ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร  (อดีต รมว.เกษตรฯ)  ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  สถาบันวิจัยและพัฒนา  แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    มูลนิธิโทเร  เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
   
ติดต่อสอบถามขอข้อมูล  หัวหน้า โครงการวิจัย รองศาสตราจารย์  ดร.จุรีย์รัตน์   ลีสมิทธิ์  คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กำแพงแสน นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0-3428-1105-6 ต่อ 7654 โทรสาร  0-3435-5453 อีเมล jureerat.c@ku.ac.th.

Tags : ประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์ธรรมชาติ เพื่อการเกษตร

view