จาก เดลินิวส์ออนไลน์
รัฐ ธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการที่พวกเขาจะต้องมี ส่วนรับผิดชอบจากสิทธิอันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น โครงการใหญ่ ๆ ที่ภาครัฐจะดำเนินการและต้องเกี่ยวพันกับคนหมู่มากจึงมีสิทธิพับฐานได้หากคน ในชุมชนไม่เห็นด้วย เพราะต้องอาศัยเสียงส่วนมากและประการสำคัญ คือ ต้องมีเหตุผลเพียงพอที่จะโต้แย้งกันเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งหลายท่านคงรู้แล้วว่าไม่ง่ายและต้องใช้เวลาในการพูดคุยเพื่อให้เกิดความ ชัดเจนสู่ ผลสรุปก่อนดำเนินการ
จากความสำคัญดังกล่าวที่ผ่านมา กรมทรัพยากรน้ำจึงได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งแนวคิดในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากภาครัฐจะลดความขัดแย้งหรือการต่อต้านลงจนได้รับความร่วมมือและความไว้ วางใจจากประชาชนในชุมชนแล้ว ผู้บริหารยังมีโอกาสได้รับข้อมูลที่หลากหลายจากชุมชน ทำให้สามารถตัดสินใจได้รอบด้านมากขึ้นและนโยบายที่กำหนดขึ้นนั้นย่อมได้รับ การยอมรับ
ขณะเดียวกันยังส่งผลดีในเรื่องที่ประชาชนจะมีความรู้สึกว่ามีส่วนเป็นเจ้า ของ สามารถเข้าใจกระบวนการทำงานของภาครัฐมากขึ้น และเป็นช่องทางในการตรวจสอบ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่อีกด้วย ทำให้ การดำเนินนโยบายมีความโปร่งใส ก่อให้ เกิดความมั่นใจในการตัดสินใจของภาครัฐ ด้วย เมื่อชุมชนสามารถเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้มแข็งและมีการพัฒนาสู่การ จัดตั้งองค์กรชุมชนหรือสถาบันชุมชน จึง สามารถจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเอง อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
สำหรับเงื่อนไขที่สำคัญของการมี ส่วนร่วม อย่างน้อยต้องมี 3 ประการ คือ 1.ประชาชนต้องมีอิสรภาพที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หมายถึงทุกคนมีอิสระในการตัดสินใจ ที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมก็ได้ คือต้องเป็นด้วยความสมัครใจ การถูกบังคับให้เข้าร่วมไม่ว่าจะรูปแบบใด ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วม 2.ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าร่วม หมายถึงบุคคลที่เข้าร่วมในกิจกรรมใด จะ ต้องมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ 3.ประชาชนมีความสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรม หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมาย จะต้องมีความสามารถพอที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ในบางกิจกรรม แม้จะกำหนดว่าผู้เข้าร่วมมีอิสรภาพและเสมอภาค แต่หากกิจกรรมที่กำหนดมีความซับซ้อนเกินความสามารถของกลุ่มเป้าหมาย การมีส่วนร่วมย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามมิติต่าง ๆ ย่อมมีความทับซ้อนกันบ้างและ เมื่อมองในภาพรวมต่างก็มีประโยชน์ คือ ช่วยให้ชุมชนมีการยอมรับในโครงการมากขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการที่ตรงกับปัญหาและความต้องการของประชาชน ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการมากขึ้น การดำเนินโครงการเกิดความราบรื่น ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนนั้น ๆ โครงการจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนมากขึ้น มีการระดมทรัพยากรมากขึ้น ที่สำคัญคือ ความรู้หรือภูมิปัญหาท้องถิ่นของชุมชนและช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประชาชน มากขึ้น
ทั้งนี้ จากประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ คง ทำให้ทุกภาคส่วนมีความสบายใจในผลการดำเนินงานที่จะมีขึ้น เพราะถือได้ว่าเป็นการตัดสินใจร่วมกัน ของชุมชนจากผลของการมีส่วนร่วม ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำได้นำเอาแนวคิดในลักษณะนี้ มาใช้ในการไปร่วมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาและ ค่าใช้จ่ายบ้าง แต่ก็ถือได้ว่าคุ้มค่ากับผลที่เกิดขึ้น
…เพราะนั่นคือ ผลประโยชน์ที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ได้รับและเป็นความต้องการที่แท้จริงของพวกเขานั่นเอง.