จากประชาชาติธุรกิจ
หลังเป็นประเด็นดังในสหรัฐฯอยู่หลายเดือนนับตั้งแต่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพลับลิกันชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยหนึ่งในประเด็นที่ถูกมองว่ามีส่วนช่วยสนับสนุนทรัมป์ให้มีคะแนนแต้มต่อเหนือนางฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งคนสำคัญจากพรรคเดโมแครต คือ "ข่าวปลอม" ต่างๆที่มีการเขียนขึ้นมาและทำให้คนเข้าใจผิดแชร์กันในโลกออนไลน์ โดยเฟซบุ๊คตกเป็นจำเลยทันทีหลังผลการเลือกตั้งเสร็จสิ้น แม้จะมีปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่ส่งผลให้ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คเท่านั้น
แต่กรณีนี้ก็ส่งผลให้เฟซบุ๊คถูกโจมตีว่ามีส่วนในการช่วยเผยแพร่ข่าวผิดๆที่เป็นเรื่องแต่งขึ้นจากเว็บข่าวปลอมที่ระบาดกันมากในยุคนี้
(อ่านข่าว คุยกับคนทำเว็บ "ข่าวลวง-ข่าวปลอม" จากกรณีเฟซบุ๊คจะจัดการแบน)
กระนั้นการที่เฟซบุ๊คถูกวิจารณ์ว่าไม่คิดแก้ปัญหารับมือกับกลุ่มเว็บข่าวปลอมระบาดไม่ได้เกิดจากการวิจารณ์จากกลุ่มผู้สนับสนุนนางฮิลลารีเท่านั้น เพราะแม้กระทั่งกลุ่มสื่อหลักๆก็เคยออกมาวิจารณ์ รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการรายงานข่าวปลอมของบรรดาเว็บไซต์ข่าวปลอมที่สร้างมาเพื่อเรียกยอดคลิกหวังรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์จากกูเกิลหรือที่เรียกว่าAdsense โดยใช้ช่องทางเฟซบุ๊คเป็นตัวกระพือให้ข่าว-บทความได้ขจรขจายไป ซึ่งผู้คนก็เผลอกดเผลอแชร์เผลอเชื่อกันไปไม่น้อย
โดยก่อนนี้มีรายงานว่าเฟซบุ๊คก็ขยับที่จะรับมือกับกลุ่มเว็บไซต์ข่าวปลอมนี้เช่นกันโดยจะใช้กับบางประเทศก่อน เช่นในเยอรมนี ซึ่งจะมีการเลือกตั้งทั่วไป
(อ่านข่าว ไม่ได้นิ่งดูดาย! เฟซบุ๊คเตรียมทดสอบระบบ ติดป้าย-เครื่องหมายเตือน"ข่าวปลอม-ข่าวลวง"ในเยอรมัน)
ทั้งนี้ มีข่าวมาประปรายแล้วบ้างว่าเฟซบุ๊ค จะใช้วิธีเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ให้ผู้ใช้เเจ้งได้ว่าข่าวไหนเป็นข่าวปลอม นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนอัลกอริธึมหรือระบบการคำนวณที่จะมาสู้กับการเผยแพร่ข่าวปลอม
(อ่านข่าว "เฟซบุ๊ค" เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ให้ผู้ใช้ช่วยกันกดเเจ้งรีพอร์ทข่าวปลอมได้)
โดยวิธีการทำงานคือ ผู้ใช้สามารถแจ้งได้ว่าลิงค์ข่าวไหนมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกัน โดยจะมีการส่งเรื่องให้องค์กรอื่นนอกบริษัทมาตรวจข้อเท็จจริงอีกที ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทร่วมลงนามจะทำตามเกณฑ์ของเฟซบุ๊คหลายองค์กรทั่วโลก รวมถึงสำนักข่าวใหญ่ต่างๆด้วย
สำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊คสามารถกดรีพอร์ตเมื่อเจอข่าวปลอมได้ โดยใช้วิธีเดียวกันกับการเเจ้งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ด้วยการกดเลือก It′s a fake news story (ข่าวนี้เป็นข่าวปลอม) คลิกที่มุมขวาของโพสต์
ล่าสุดมีการปล่อยตัวอย่างจริงๆออกมาให้ดูกันแล้ว
ภาพจาก gizmodo.com
อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส